กรุงเทพฯ 27 ก.พ.-บนสังคมออนไลน์แชร์คลิปเตือนให้ระวังสาหร่ายแห้งยี่ห้อหนึ่ง ซึ่งทำจากถุงพลาสติก เรื่องนี้จริงหรือไม่ ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์.-สำนักข่าวไทย
บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์
ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย ตรวจสอบกับ นพ.สขุม กาญจนพิมาย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า สาหร่ายที่ปรากฎในภาพที่แชร์หักและฉีกขาดง่าย ไม่น่าจะเป็นของปลอม นอกจากนี้เมื่อแช่น้ำแล้วสาหร่ายจะนิ่มต่างจากพลาสติกที่ยังแข็ง สาหร่ายยังมีกลิ่นคาวเฉพาะตัว ผิดกับถุงดำที่แช่น้ำแล้วไม่เปลี่ยนสภาพ
คุณจารุวรรณ ลิ้มสัจจะสกุล ผอ.สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า จากการทดลองสาหร่ายที่คนไทยนิยมรับประทาน 3 แบบในห้องปฏิบัติการ ได้แก่สาหร่ายแห้ง (จีฉ่าย) สาหร่ายญี่ปุ่น (วากาเมะ) และสาหร่ายแผ่น (โนริ) พบว่าเมื่อสาหร่ายวากาเมะแช่น้ำแล้วจะกลายเป็นแผ่นใหญ่ สาหร่ายโนริจะยุ่ยเป็นเศษเล็กๆ ส่วนสาหร่ายจีฉ่ายจะกลายเป็นแผ่นเหนียว แผ่เป็นแผ่นบางๆ ซึ่งทั้งสามชนิดเมื่อทำให้แห้งแล้วเวลาดูดน้ำจะพอง ต่างกับพลาสติกที่ไม่พอง
ผู้เชี่ยวชาญยังแนะนำวิธีพิสูจน์สาหร่ายว่าจริงหรือไม่คือ นำไปแช่น้ำ ถ้าพองตัวและดูดน้ำเข้าไปในตัวได้คือสาหร่ายของจริง หากไม่แน่ใจส่งไปตรวจที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้
ทั้งนี้ เรื่องสาหร่ายปลอมเคยแชร์ตั้งแต่ปี 2552 แต่ตรวจแล้วไม่พบความผิดปกติ
วิธีการ • Add LINE ของสำนักข่าวไทย เข้าไปที่เพิ่มเพื่อน แล้วพิมพ์ @TNAMCOT ถ้าได้รับแชร์อะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาให้เราตรวจใน “ชัวร์ก่อนแชร์” พบกับสกู๊ปข่าวนี้ได้ในข่าวค่ำสำนักข่าวไทยทุกวัน
หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter