ขานรับผลักดันไทยสู่ “เมืองท่องเที่ยวเชิงสุขภาพโลก”

กรุงเทพฯ 25 ก.ค.-คณะกรรมาธิการการท่องเที่ยววุฒิสภา ระดมสมองผ่าทางตันหลังวิกฤติโควิด-19 ขานรับผลักดันประเทศไทยสู่ “เมืองท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของโลก” เชื่อมีศักยภาพพอ



ในการสัมมนา “การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพหลังวิกฤติโควิด-19” ของคณะกรรมาธิการการท่องเที่ยววุฒิสภา ซึ่งมีหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมสัมมนากว่า 100 คน เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร ประธานกรรมาธิการท่องเที่ยววุฒิสภา กล่าวว่า การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เป็นอุตสาหกรรมที่มีอนาคต การพัฒนาด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจึงควรมองในภาพรวมของผลิตภัณฑ์และการบริการด้านการท่องเที่ยวอย่างครบวงจร และนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เข้ามา สนับสนุนการดำเนินงาน เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกได้ง่ายขึ้น อาทิ การสร้างแพลตฟอร์มเชิงสุขภาพที่มิได้มุ่งเน้นเพียงด้านบริการทางการแพทย์ แต่อาจเพิ่มแอปพลิเคชันแนะนำการท่องเที่ยวในประเทศไทย การวางแผนค่าใช้จ่ายสำหรับการท่องเที่ยว ตลอดจนถึงแผนการท่องเที่ยวที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นเป็นที่นิยมและเป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทย นอกจากนี้ยังสามารถรองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามารับบริการด้านสุขภาพในรูปแบบของครอบครัวได้อีกด้วย


นางศรีสุดา วนภิญโญศักดิ์ รองผู้ว่าการด้านตลาดยุโรป แอฟริกาตะวันออก และอเมริกา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กล่าวถึงตัวเลขการท่องเที่ยวปี 2562 ว่ามีนักท่องเที่ยวถึง 40 ล้านคน สร้างรายได้เข้าประเทศถึง 1.9 ล้านล้านบาท ในส่วนการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพมีการสำรวจเมื่อปี 2561 พบว่า มีรายได้ประเทศถึง 45,000 ล้านบาท ก่อนเกิดวิกฤติโควิด นักท่องเที่ยวเข้ามาใช้บริการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตลอด 10 ปีที่ผ่านมา 

พญ.วรรณา หาญเชาว์วรกุล นายแพทย์ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19แล้วกว่า 14 ล้านคน เสียชีวิตกว่า 6 แสนคน และยังคงมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งในทวีปอเมริกา ยุโรป เอเชีย ส่วนประเทศไทยนั้นได้ทำแผนความร่วมมือพหุภาคี โดยมีเป้าหมายเพื่อลดโอกาสการแพร่เชื้อเข้าสู่ประเทศ ทุกคนในประเทศต้องปลอดภัยจากโควิดและลดผลกระทบทางสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม เพิ่มความมั่นคงของประเทศ โดยปัจจุบันเข้าสู่ในระยะผ่อนปรนระยะที่ 5 


นพ.สุรพงศ์ อำพันวงษ์ ที่ปรึกษาสมาคมโรงพยาบาลเอกชน แสดงความกังวลต่อสถานการณ์โควิด-19 ที่อยู่ในสถานการณ์ยังไม่ปลอดภัย เนื่องจากยังไม่มีวัคซีนในการป้องกันและรักษา โดยระบุว่าตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบันเชื้อไวรัสได้กลายพันธุ์มาแล้วถึง 5 รอบ นอกจากนี้ยังทำลายภูมิคุ้มกันมนุษย์และขณะนี้ก็ไม่พบภูมิคุ้มกันระยะยาวในผู้ติดเชื้อแล้วด้วย จึงทำให้มีคำถามว่าวัคซีนที่กำลังวิจัยกันอยู่นั้นจะทันต่อการกลายพันธุ์ของไวรัสหรือไม่และโควิด-19 จะเป็นอมตะทำลายชีวิตผู้คนบนโลกนี้ไปอย่างไม่มีทางรักษาใช่หรือไม่ อย่างไรก็ตาม มาตรการที่ไทยดำเนินการอยู่ขณะนี้ส่งผลให้ได้รับคำยกย่องจากทั่วโลก ล่าสุดสำนักข่าว CNN ยกย่องว่าไทย คือ1 ใน 4 ประเทศร่วมกับ ฟินแลนด์ กรีซ นิวซีแลนด์ ที่ผู้นำประเทศและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ดูแล เอาใจใส่ และบริหารจัดการ ป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้มีประสิทธิภาพสูงสุด 

พญ.ประภา วงศ์แพทย์ นายกสมาคมการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์และสุขภาพไทย (TMTA) กล่าวถึงอุปสรรคและปัญหาในการดำเนินงานในช่วงวิกฤติโควิด- 19 ว่า สมาชิกของสมาคมฯยกเว้นโรงพยาบาลเอกชนจะเป็นผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเกือบทั้งหมด อาทิ คลินิคเฉพาะทาง ต่างๆ บริษัทธุรกิจท่องเที่ยว สปา แพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกฯลฯ มีปัญหาคือเงินทุนหมุนเวียนที่ค่อนข้างจำกัด ทำให้ขาดความมั่นคงในการดำเนินธุรกิจระยะยาวได้ยั่งยืน อีกทั้งมีสินทรัพย์ค้ำประกันไม่เพียงพอสำหรับการค้ำประกันสินเชื่อทำให้ไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อได้ จึงมีความอ่อนไหวต่อความเสี่ยงเรื่องรายได้มาก รวมทั้งขาดความสามารถในการแข่งขันกับกลุ่มทุนที่ใหญ่กว่าและไม่มีภูมิคุ้มกันต่อปัจจัยเสี่ยงอื่น เช่น สถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 และการประกาศภาวะฉุกเฉินที่ทำให้การท่องเที่ยวและการบริการสุขภาพ หลายสาขาต้องปิดกิจการลงอย่างกะทันหัน และมีความจำเป็นต้องเลิกจ้างพนักงานลูกจ้าง ทำให้ลูกจ้างจำนวนมากได้รับผลกระทบไปด้วย  

อย่างไรก็ตามแม้ว่ารัฐบาลจะมีมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการในสาขาการท่องเที่ยวบ้างแล้วเช่นโครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน”ที่ให้คูปองส่วนลดโรงแรม 40% คูปองอาหาร 600บาท/วัน และคืนเงินค่าตั๋วเครื่องบิน 40% ซึ่งคาดว่าจะสามารถกระตุ้นการใช้จ่ายให้กับธุรกิจโรงแรม รีสอร์ตร้านอาหารและสายการบินได้ ทางสมาคมฯ จึงขอเสนอให้รัฐบาลเพิ่มการสนับสนุนการท่องเที่ยวรูปแบบโปรแกรมทัวร์สุขภาพ จะทำให้เกิด การจับคู่ธุรกิจต่างๆ โดยมีโรงแรม/รีสอร์ตจับคู่กับโรงพยาบาล/คลินิก สปา แพทย์แผนไทย/แพทย์ทางเลือก และ ผู้ให้บริการอื่น ฯลฯ ทั้งนี้จะเป็นอีกช่องทางที่จะสามารถช่วยกระตุ้นรายได้ในช่วงที่ยังไม่สามารถเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติได้ตามปกติและยังมีประโยชน์ต่อประชาชนในการดูแลสุขภาพและสอดคล้อง กับสังคมผู้สูงอายุในปัจจุบันด้วย 

นายกรด โรจนเสถียร คณะกรรมาธิการท่องเที่ยว วุฒิสภา ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ธุรกิจบริการเพื่อสุขภาพ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทยและนายกสมาคมสปาไทย กล่าวถึงเป้าหมายและกลไกลขับเคลื่อนการท่องเที่ยวโดยใช้ บีซีจีโมเดลของรัฐบาล  ซึ่งเป็นโมเดลการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ที่สามารถกระจายรายได้สู่เมืองรอง ลดการเหลื่อมล้ำมุ่งสู่ความยั่งยืน สร้างความมั่นใจให้นักท่องเที่ยว สามารถเที่ยวได้สนุกปลอดภัยและจะกลายเป็นตลาดที่สำคัญของโลก เมื่อท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเติบโต ก็จะสามารถเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวอื่นได้.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง นายก อบจ.อุบลฯ เดือด ส่งท้ายปี

ใกล้เข้ามาทุกขณะสำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคมนี้ ซึ่งถือเป็นสนามเลือกตั้งท้องถิ่นขนาดใหญ่ส่งท้ายปีนี้ การแข่งขันดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครต่างเร่งหาเสียงกันอย่างเต็มที่ โดยมีผู้สมัคร 4 คน ลงชิงชัย ไปติดตามบรรยากาศโค้งสุดท้ายว่าใครจะเป็นผู้คว้าชัย

ทอ.ส่ง F-16 ขึ้นบินป้องน่านฟ้า หลังมีอากาศยานไม่ทราบฝ่าย เหนือชายแดนไทย-เมียนมา

กองทัพอากาศส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบิน เพื่อพิสูจน์ฝ่ายและสกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก

อุตุฯ เผยอีสาน-เหนือ อากาศหนาว กทม.อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย

กรมอุตุฯ เผยภาคอีสาน ภาคเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนกรุงเทพฯ-ปริมณฑล อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็น

lightened Christmas tree in front of U.S. Capitol

รู้จัก “ชัตดาวน์” ของสหรัฐและผลกระทบ

วอชิงตัน 20 ธ.ค.- หน่วยงานจำนวนมากของรัฐบาลสหรัฐเสี่ยงต้องปิดทำการชั่วคราว หรือที่เรียกว่า กัฟเวิร์นเมนต์ ชัตดาวน์ (government shutdown) หลังผ่านพ้นเที่ยงคืนวันนี้ (20 ธันวาคม) ตามเวลาสหรัฐ หากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ทันเวลา หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณฉบับใหม่เมื่อวานนี้ สาเหตุที่เสี่ยงชัตดาวน์ ปกติแล้วรัฐสภาสหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานรัฐบาลกลางทั้งหมด 438 แห่งก่อนวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี แต่ที่ผ่านมาสมาชิกรัฐสภามักทำไม่ได้ตามกำหนดเวลา และมักผ่านร่างงบประมาณชั่วคราวเพื่อให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถดำเนินการได้ต่อไปในระหว่างที่สมาชิกรัฐสภาหารือกันเพื่อผ่านร่างงบประมาณจริง ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุเมื่อเข้าสู่เช้าวันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตเตรียมร่างกฎหมายที่จะขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2568 แต่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันลงมติไม่เห็นด้วย และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณที่เสนอใหม่ ดังนั้นหากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ก่อนที่ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุ ก็จะเกิดการชัตดาวน์ เพดานหนี้ที่ทรัมป์ต้องการให้แก้ นายทรัมป์ยังต้องการให้สมาชิกรัฐสภาแก้ปัญหาเรื่องการกำหนดเพดานหนี้ประเทศให้รัฐบาลสามารถกู้ยืมได้มากขึ้น ก่อนที่เขาจะสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 มกราคม 2568 รัฐสภาสหรัฐเป็นผู้กำหนดเพดานหนี้สาธารณะที่อนุญาตให้รัฐบาลก่อหนี้ แต่เนื่องจากรัฐบาลมักใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่ได้จากการจัดเก็บภาษี สมาชิกรัฐสภาจึงต้องคอยแก้ปัญหานี้เป็นครั้งคราว รัฐสภาสหรัฐกำหนดเพดานหนี้สาธารณะครั้งแรกในปี 2482 โดยกำหนดไว้ที่ 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.55 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน) และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้ขยายเพดานหนี้แล้วทั้งหมด 103 […]

ข่าวแนะนำ

ฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ส่งสุขรับปีใหม่

ส่งความสุขรับปีใหม่ กับฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ศิลปินลูกทุ่งเกือบ 100 ชีวิต ร่วมโชว์จัดเต็ม

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน

เด้ง ตร.จราจร ปมคลิปรับเงินแลกไม่เขียนใบสั่ง

ผบก.ภ.จว.นนทบุรี สั่งย้าย “รอง สว.จร.สภ.รัตนาธิเบศร์” เซ่นคลิปรับเงินแลกไม่ออกใบสั่ง พร้อมตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงภายใน 3 วัน ด้านเจ้าตัวอ้างไม่เห็นเงินที่วางบนโต๊ะในตู้ควบคุมสัญญาณไฟจราจร