ตั้งคณะทำงานฯ สางสัญญาเช่าที่ดินรถไฟรายได้น้อยนิด!!

กรุงเทพฯ 14 มิ.ย. – กระทรวงคมนาคมสั่งตั้งคณะทำงานกำหนดยุทธศาสตร์รื้อแก้ไขสัญญา-เช่าที่ดินรถไฟทั่วประเทศ หวังปั้นรายได้เพิ่มขึ้นจากที่มีอยู่ 6,042 สัญญา รายได้แค่ 2,858 ล้านบาท/ปี เพิ่มขึ้นเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละ 10% ช่วยรถไฟหนีพ้นปัญหาขาดทุน


นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์  อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) ในฐานะประธานคณะทำงานศึกษากำหนดยุทธศาสตร์การบริหารพื้นที่และติดตามกำกับนโยบายการจัดการรายได้จากทรัพย์สินประเภทสังหาริมทรัพย์-อสังหาริมทรัพย์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กล่าวว่า ภายหลังได้มีการประชุมหารือเพื่อกำหนดกรอบการจัดการทรัพย์สินเพื่อสร้างมูลค่าให้เพิ่มขึ้นนั้น พบว่าปัจจุบัน รฟท.มีสัญญาที่เอกชนเข้ามาเช่าพื้นที่ สังหาริมทรัพย์ และอสังหาริมทรัพย์ทั่วประเทศ ณ  วันที่ 30 เมษายน 2563 ในพื้นที่ กว่า 32,000 ไร่ กับสำนักบริหารทรัพย์สิน รฟท. กว่า 6,042 สัญญา แบ่งเป็นสัญญาเช่าอาคาร 3,106 สัญญา สัญญาเช่าที่ดิน 2,936 สัญญา ซึ่งจากสัญญาทั้งหมดที่มีทำให้ รฟท.มีรายได้เฉลี่ยต่อปีที่ 2,858 ล้านบาท/ปี 

ดังนั้น เพื่อให้การบริหารทรัพย์สินของ รฟท.เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น ทางคณะทำงานฯ จะเข้ามาจัดระเบียบและกำหนดกรอบการพัฒนาให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยมั่นใจว่าหากดำเนินการสำเร็จจะสามารถสร้างรายได้ในส่วนนี้ให้กับ รฟท.เพิ่มขึ้นอีกไม่ต่ำกว่าปีละ 10%


นอกจากนี้ ได้ให้ รฟท.ไปรวบรวมสัญญาของพื้นที่บริเวณอาร์ซีเอ โดยพื้นที่ดังกล่าวให้ทำแผนปฎิบัติการใช้พื้นที่  ตลาดนัดจตุจักร 3 แปลง ตลาดขายปลา 5 ไร่ ตลาดศรีสมรักษ์ จำกัด  5 ไร่ รวมถึงพื้นที่ตรงหัวมุม ตลาดองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อตก.)  3 ไร่ พื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา 277 ไร่ ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวจะต้องเร่งดำเนินการเพื่อสร้างรายได้ และพื้นที่บริเวณรัชดา 124 แปลง  

ส่วนการประชุมวันที่ 15 มิถุนายนนี้ นอกจากให้ รฟท.ไปรวบรวมข้อมูลพื้นที่ในเขต กทม.ดังกล่าวแล้วยังให้ ไปดูรวบรวมพื้นที่และสัญญาที่เกี่ยวข้องกับแปลงอสังหาริมทรัพย์ทั่วประเทศทั้งหมดด้วยว่ามีจำนวนแปลงที่ใช้ประโยชน์ สถานะของสัญญา สถานะเวลาของการให้เช่า การบุกรุกพื้นที่มีที่ไหนบ้าง รวมถึงสถานะที่มีการใช้ประโยชน์โดยไม่มีการจ่ายค่าเช่า รฟท.อย่างไรบ้าง เพื่อประกอบการประชุมครั้งต่อไป เพื่อให้คณะทำงานฯ ชุดนี้สามารถกำหนดกรอบการดำเนินการให้เกิดความชัดเจนในการสร้างมูลค่าที่มีการทำสัญญาที่มีอยู่ให้กับ รฟท.เพิ่มขึ้น เพื่อให้สามารถนำรายได้จากพื้นที่ที่สร้างรายได้มาบริหารจัดการ รฟท.ให้อยู่ได้แบบยั่งยืนต่อไปในอนาคตและไม่เป็นภาระกับรัฐบาล

นายสรพงศ์ กล่าวว่า จากการประชุมเบื้องต้นพบว่า  มีข้อจำกัดของระเบียบ ข้อกฎหมาย ในวิธีการเช่าที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ของกฎหมายของ รฟท. โดยเฉพาะฉบับ พ.ศ.2484 และฉบับ พ.ศ.2544 ที่ปฎิบัติมาไม่สอดคล้องกับกฎหมายปัจจุบัน ซึ่งข้อจำกัดที่เห็นชัดคือจะใช้ระยะเวลาในการดำเนินการยาวนาน เช่น การเช่าที่ดินแบบไม่ต้องประมูลจะต้องใช้เวลาในการอนุมัติกว่า 101 วัน  


ส่วนประเภทการเช่าแบบประมูล จะมีขั้นตอนระเบียบปฎิบัติการ 12 ขั้นตอน ใช้เวลาการอนุมัติกว่า 146 วัน ส่วนประเภทโครงการพัฒนา เชิญชวนประมูลโครงการมีขั้นตอนกว่า 15 ขั้นตอน ใช้เวลาอนุมัติไม่น้อยกว่า 212 วัน ซึ่งจากข้อจำกัดต่าง ๆ ทำให้เห็นว่ากว่าจะอนุมัติและมีรายได้กลับมาที่ รฟท.ต้องใช้ระยะเวลานาน

ขณะเดียวกันยังพบปัญหาอีกว่าหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการบริหารทรัพย์สินทั้งที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ของ รฟท.มีถึง 3 หน่วยงาน ประกอบด้วย สำนักบริหารทรัพย์สิน ฝ่ายการเดินรถ ซึ่งจะเป็นคนดูแลทรัพย์สินตามเขตทางรถไฟทั่วประเทศ และฝ่ายการช่างโยธา ดังนั้น ทางคณะทำงานฯ จึงเห็นว่าควรที่จะมีการจัดระเบียบหน่วยงานที่จะทำหน้าที่บริหารทรัพย์สินให้ศูนย์เดียว เพื่อให้รวบรวมสัญญาที่เอกชนทั้งรายย่อย และรายใหญ่ทำสัญญากับ รฟท.อยู่ในที่เดียวกัน เพื่อให้มีการตรวจสอบสัญญาและรายได้ที่เข้ามาเกิดความชัดเจนมากขึ้น

นอกจากนี้ ในส่วนของการประเมินราคาที่ดิน อสังหาริมทรัพย์ของ รฟท.นั้น เห็นควรที่จะให้ รฟท.หาวิธีประเมินราคาที่ดิน แม้ว่าแปลงอสังหาฯ ของ รฟท.จะไม่มีโฉนดที่ดิน แต่สามารถนำราคาประเมินที่ดินจากกรมธนารักษ์มาเทียบได้หรืออสังหาฯ ข้างเคียงของเอกชน ทำให้ รฟท.มีความคล่องตัวในการปฎิบัติมากขึ้น ขณะเดียวกันให้ รฟท.ไปจัดทำแผนปฎิบัติการ โดยให้กำหนดระยะเวลาที่ชัดเจน ขณะเดียวกันหากแปลงอสังหาฯ มีสิ่งปลูกสร้างควรจ้างบริษัทหรือ ธนาคารที่มีความเชี่ยวชาญเป็นผู้ประเมินราคาทรัพย์สิน เพื่อให้มีความถูกต้องแม่นยำ.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ผ่าไชน่า เรลเวย์ คว้า 3 โครงการรัฐในภูเก็ต

เหตุการณ์ตึก สตง.ถล่ม กลายเป็นปฐมบทในการปูพรมตรวจสอบบริษัท ไชน่า เรลเวย์ หลังพบเป็นผู้ชนะการประมูลโครงการก่อสร้างตึก สตง. และโครงการรัฐหลายแห่งทั่วประเทศ ล่าสุดที่ จ.ภูเก็ต ตรวจพบ 3 โครงการ และหนึ่งในนั้นกำลังมีปัญหาก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน

มหาสงครามโลก

นักวิชาการชี้ “มหาสงครามโลกครั้งที่ 3” เกิดแน่ถ้าโลกยังตึงเครียด

นักวิชาการด้านความมั่นคงและการต่างประเทศระดับแนวหน้าของไทย มีความเห็นตรงกันว่า หากผู้นำชาติมหาอำนาจไม่เร่งลดระดับความตึงเครียดสถานการณ์โลก

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว หลังอยู่ปฏิบัติภารกิจค้นหา-กู้ชีพ สนับสนุนกู้ภัยไทย เหตุตึก สตง.ถล่ม กว่า 1 สัปดาห์

ธรรมชาติใต้ดินเปลี่ยนไป หลังแผ่นดินไหว 1 สัปดาห์

แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ส่งแรงสั่นสะเทือนในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ แม้บนพื้นผิวดินจะไม่ได้สร้างความเสียหายมากนัก แต่พบความเปลี่ยนแปลงสภาพใต้ดินจนเกิดปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทั้งหลุมยุบขนาดใหญ่ น้ำพุร้อนที่เคยพุ่งจากใต้ดินหายไป แต่น้ำตกที่แห้งในหน้าแล้งกลับมีน้ำไหลออกมา ซึ่งนักธรณีวิทยายืนยันเป็นผลพวงจากแผ่นดินไหวครั้งนี้

ข่าวแนะนำ

นายกฯ เยี่ยมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่กู้ภัยตึก สตง.ถล่ม

นายกรัฐมนตรี เยี่ยมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่กู้ภัย ค้นหาผู้สูญหายเหตุตึก สตง.ถล่ม พร้อมสอบถามถึงอุปสรรคในการทำงานและความต้องการเพิ่มเติม

ปรับวิธีรายงานยอดผู้เสียชีวิต ให้นิติเวชยืนยันก่อน

รองผู้ว่าฯ กทม. เผยยอดผู้เสียชีวิตเหตุตึกถล่ม ที่ผ่านการพิสูจน์อัตลักษณ์แล้ว อยู่ที่ 16 ราย และอยู่ระหว่างการค้นหาอีก 78 ราย พร้อมแจงปรับวิธีรายงานยอดผู้เสียชีวิต ให้นิติเวชยืนยันก่อน

นายกฯ วางพานพุ่มดอกไม้ถวายราชสักการะ เนื่องในวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์

นายกรัฐมนตรี วางพานพุ่มดอกไม้ถวายราชสักการะพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เนื่องในวันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์ พุทธศักราช 2568 ณ ปฐมบรมราชานุสรณ์ สะพานพระพุทธยอดฟ้า