เครือข่ายสังคมรวมพลัง “ดูแลผู้ป่วย-ผู้ได้รับผลกระทบ” โควิด-19

มธ.2 มิ.ย.-สสส.ร่วมกับ มธ.และ17 ภาคีเครือข่าย ร่วมขับเคลื่อน โครงการพัฒนาสมรรถนะและรูปแบบการดูแลทางสังคม เสริมพลังชุมชน เฝ้าระวังดูแล จัดการทางสังคม ผู้ป่วยและผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19



มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)  และภาคีเครือช่าย 17 องค์กร ร่วมแถลงข่าว เปิดตัวโครงการพัฒนาสมรรถนะและรูปแบบการดูแลทางสังคมและเสริมพลังชุมชนในการเฝ้าระวัง ดูแล และจัดการทางสังคม สำหรับผู้ป่วยและผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดโรคโควิด-19  พร้อมทดสอบการใช้แอปพลิเคชันระบบการทำงานในการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 รายหนึ่งจาก 1,600ราย ซึ่งออกจากโรงพยาบาลกลับบ้านได้แล้ว ซึ่งผู้ป่วยรายนี้แสดงความพอใจและรู้สึกอุ่นใจที่มีผู้ดูแลให้ความมั่นใจในการกลับสู่สังคมอีกครั้ง


นายสุปรีดา อดุลยานนท์  ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ในช่วงการระบาดโควิด-19 สสส.ร่วมกับภาคีเครือข่าย มุ่งให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ประชาชน เพราะมักจะพบว่าผู้ที่ติดเชื้อหรือผู้ที่อาจติดเชื้อโควิด-19 ต้องเผชิญกับปัญหาทัศนคติของคนรอบข้าง การไม่ถูกยอมรับ การถูกเลือกปฏิบัติจากคนในชุมชน ซึ่งเป็นปัญหาที่พบมากที่สุด อีกทั้งยังมีปัญหาด้านศรษฐกิจในกรณีต้องหยุดงานพื่อรักษาตัว ผู้สูงอายุหรือเด็กเล็กในครอบครัวไม่มีคนดูแล สสส.จึงร่วมกับคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มธ.สภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง(สปคม.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) และคลินิก เทเลเมดิซีน พัฒนาระบบออนไลน์ให้คำปรึกษาทางสังคมแก่ผู้ป่วยติดเชื้อและผู้ที่เคยติดเชื้อ โดยนักสังคมสงเคราะห์จิตอาสา ซึ่งผลตอบรับค่อนข้างดี ผู้ที่เคยติดเชื้อมีความรู้ในการดูแลตัวเอง เกิดความมั่นใจมากขึ้นเมื่อกลับเข้าสู่สังคม ขณะที่คนในคอบครัวได้รับ การช่วยเหลืออย่างเหมาะสม 


รศ.เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า โครงการฯ ดังกล่าวเป็นการทำงานต่อเนื่องจากระยะแรก ในพื้นที่ กทม. ปทุมธานี นนทบุรี และสมุทรปราการ โดยมีเป้าหมายพัฒนาสมรรถนะนักสังคมสงเคราะห์และบุคลากรผู้ชวยหลือทางสังคม จำนวน 200 คน เพื่อติดตามผู้ป่วยกลับบ้านจำนวน 1,600 คน โดยเจ้าหน้าที่จะต้องผ่านการอบรม 4 หลักสูตรให้คำปรึกษา เสริมพลังทุกภาคส่วนในการฟื้นฟูดูแลทางสังคมกับผู้ปวยโควิด-19 ให้สามารถปรับตัวเข้าสู่การใช้ชีวิตปกติ โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน 

ทั้งนี้ มธ.ถือเป็นมหาวิทยาลัยแรก ที่ประกาศตัวมีส่วนร่วมต่อสู้กับโควิด-19 ด้วยการผันรูปแบบมาเป็นโรงพยาบาลสนาม และปิดตัวลงหลังจากส่งตัวผู้ป่วยที่รักษาหายแล้วรายสุดท้าย เมื่อวันที่ 19 พ.ค.63 สรุปจำนวนผู้ป่วย 60 ราย แต่ก่อนการจำหน่ายผู้ปวย ทาง รพ.จะเตรียมความพร้อม โดยทีมงานสังคมสงเคราะห์ที่ได้รับแจ้งจากผู้ป่วยไม่สามารกลับเข้าสู่ครอบครัวหรือชุมชนได้จะนำผู้ปวยเข้าสู่ระบบการติตตามดูแลผลกระทบทั้งด้านสุขภาพและสังคม หรือประมินส่งตัวต่อให้กับหน่วยงานภาคีที่มีหน้าที่รับผิดชอบต่อไป โดยมีระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ปี

น.ส.สราญภัทร อนุมัติราชกิจ รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กล่าวว่า ล่าสุด พม. ได้มีนโยบายให้จังหวัดปทุมธานี เป็นพื้นที่ทดลองพัฒนาระบบการติดตามผู้ปวยโควิด-19 เริ่มที่สถาบันพระประชาบดี โดยเชิญนักสังคมสงเคราะห์ 31 คน จาก13 องค์กรมาร่วมโครงการระบบติดตามผู้วยโควิด-19 และส่งเสริมให้มีการพัฒนาทักษะนักสังคมสงเคราะห์ในการติดตามเคสผ่านระบบออนไลน์ หรือการเชื่อมโยงระบบการดูแลทางสังคมกับผู้ที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ หรือศูนย์ต่างๆ โดยพบว่าที่ผ่านมาแอปพลิเคชัน CLICKNIC ช่วยให้ระบบการดูแลผู้ประสบปัญหาทางสังคมมีประสิทธิภาพ สามารถแก้ปัญหาเคสล้น ทำงานไม่ทันของนักสังคมสงเคราะห์ และช่วยพัฒนาการทำงานแบบ New Normal ของบุคลากรของกระทรวง พม. ได้อีกด้วย

นพ.อัษฎางค์ รวยอาจิณ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า  ระบบการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 นั้น  มีความสัมพันธ์กับมิติทางสังคมอย่างยิ่ง แม้ว่าวันนี้สถานการณ์การแพร่ระบาดจะเริ่มดีขึ้น ตัวเลขผู้ติดเชื้อเริ่มลดลง แต่ยังมีความจำเป็นต้องควบคุมการแพร่ระบาดของโรคอยู่ เนื่องจากหลายประเทศ  พบการกลับมาระบาดรอบใหม่ ดังนั้น การเสริมย้ำความรู้ในเรื่องการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ยังคงต้องย้ำกันอย่างต่อนื่อง ทุกคนควรตระหนักว่าตนเองต่างมีโอกาส   ติดเชื้อได้เหมือนกัน และต้องไม่ลืมป้องกันตัวเองเมื่อออกไปใช้ชีวิตในสังคม  ซึ่งการที่นักสังคมสงเคราะห์และนักจิตวิทยาจากทุกสถาบัน รวมทั้งภาคีเครือข่ายยุทธศาสตร์ให้ความสำคัญกับผู้ที่หายติดเชื้อ ผู้ที่ได้รับผลกระทบ รวมทั้งชุมชน ให้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคนี้  จะเป็นพลังสำคัญในการช่วยเหลือบุคลากรสาธารณสุขได้อย่างมาก.-สำนักข่าวไทย 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ไม่เอาไว้! ต่างด้าวสร้างปัญหาให้บุคลากรการแพทย์เมืองปาย

ผบช.สตม. ลั่น ไม่เอาไว้! ต่างด้าวสร้างปัญหาให้บุคลากรการแพทย์เมืองปาย เพิกถอนใบอนุญาต ผลักดันออกนอกประเทศทันที

ตรวจสอบ The Park เขาหลัก งบก่อสร้าง 140 ล้าน คุ้มค่าหรือไม่?

สำนักข่าวไทย ได้รับเรื่องร้องเรียนจากชาวบ้านให้ช่วยเข้าไปตรวจสอบการก่อสร้างโครงการศูนย์กลางการท่องเที่ยวและนันทนาการชายฝั่งแห่งเมืองพังงา หรือ The Park เขาหลัก ริมหาดบางเนียง หลังมีข้อมูลว่าเป็นโครงการที่ก่อสร้างด้วยงบกว่าร้อยล้านบาท แต่ปัจจุบันกลับไม่ได้ใช้ประโยชน์ และถูกปล่อยให้อยู่ในสภาพรกร้าง

ลูกสาวสารภาพจุดไฟเผาพ่อวัย 73 ดับคากระท่อม

ลูกสาวเปิดปากสารภาพจุดไฟเผาพ่อวัย 73 ปี เสียชีวิตในกระท่อม ข้างลานรับซื้อข้าวเปลือก ต.โนนศิลาเลิง อ.ฆ้องชัย จ.กาฬสินธุ์

พิรงรองคุก2ปี

คุก 2 ปี “พิรงรอง” กสทช. คดี “ทรู” ฟ้องกลั่นแกล้ง

ศาลสั่งจำคุก 2 ปี “พิรงรอง” กรรมการ กสทช. ไม่รอลงอาญา ผิดมาตรา 157 ชี้มีเจตนากลั่นแกล้ง “ทรูไอดี” ให้ได้รับความเสียหาย กรณีออกหนังสือเตือนโฆษณาแทรกในทีวีดิจิทัล

ข่าวแนะนำ

เมียวดีระส่ำ! ปั๊มเหลือน้ำมันสำรองได้อีก 3-4 วัน

เมียวดีระส่ำหนัก หลังไทยตัดกระแสไฟฟ้า-อินเทอร์เน็ต-น้ำมันข้ามชายแดน โดยเฉพาะน้ำมันขาดแคลนหนัก ปั๊มน้ำมันกว่า 20 แห่ง เหลือน้ำมันสำรองได้อีก 3-4 วัน ประธานหอการค้าเมียวดี เรียกร้องรัฐบาลไทยทบทวน อยากให้ 2 ประเทศ ร่วมกันปราบปรามแก๊งคอลเซ็นเตอร์ให้ถูกจุด