fbpx

ครม. อนุมัติ สินเชื่อเสริมสภาพคล่องชาวประมง 10,300 ล้านบาท

ทำเนียบรัฐบาล 26 พ.ค. – ครม.อนุมัติโครงการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องผู้ประกอบการประมง วงเงิน 10,300 ล้านบาท ช่วยประมงพาณิชย์-พื้นบ้านทั่วประเทศ กว่า 2,800 ราย


นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2563 ว่า ครม.อนุมัติโครงการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องผู้ประกอบการประมง วงเงินสินเชื่อรวม 10,300 ล้านบาท ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ เพื่อเสริมสภาพคล่องในภาคกิจการประมง และเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประกอบการประมง จะได้มีเงินทุนในการปรับปรุงเรือ ติดตั้งอุปกรณ์ และจ้างแรงงานให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด

โดยใช้วงเงินสินเชื่อจากธนาคารออมสิน จำนวน 5,000 ล้านบาท และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จำนวน 5,300 ล้านบาท ให้กู้ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7 ต่อปี ผู้กู้จ่ายดอกเบี้ยร้อยละ 4 ต่อปี ส่วนที่เหลือรัฐบาลเป็นผู้ชดเชยดอกเบี้ยให้ร้อยละ 3 ต่อปี เป็นระยะเวลา 7 ปี นับแต่วันที่กู้ 


ในส่วนของการชดเชยดอกเบี้ย ครม.ได้อนุมัติกรอบวงเงินรวม 2,164.1 ล้านบาท เป็น 1)ค่าชดเชยดอกเบี้ยธนาคารออมสิน ปีละ 150 ล้านบาท รวม 1,050 ล้านบาท  และค่าชดเชยดอกเบี้ย ธ.ก.ส.ปีละ 159 ล้านบาท รวม 1,113 ล้านบาท โดยให้ธนาคารขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีจากสำนักงบประมาณตามที่เกิดขึ้นจริง  2)ค่าใช้จ่ายดำเนินโครงการของกรมประมงและติดตามประเมินผล รวม 1.1 ล้านบาท โดยให้เบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีของกรมประมงคล่องในการประกอบอาชีพประมง

โครงการนี้เป็นการสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้แก่ผู้ประกอบการประมงพาณิชย์และประมงพื้นบ้านที่ประสบปัญหาขาดสภาพคล่องในการประกอบอาชีพ โดยยื่นขอสินเชื่อกับธนาคารออมสิน และ ธ.ก.ส แยกตามขนาดเรือประมง กรณีผู้ประกอบการมีเรือทั้ง 2 ขนาด ให้ผู้ประกอบการยื่นขอสินเชื่อได้เพียงแห่งเดียว ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข คือ

1)ธนาคารออมสิน วงสินเชื่อรวม 5,000 ล้านบาท ปล่อยกู้ให้ผู้ประกอบการที่มีเรือประมงขนาดตั้งแต่ 60 ตันกรอสขึ้นไป สูงสุดไม่เกินรายละ 10 ล้านบาท


2)ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร วงสินเชื่อรวม 5,300 ล้านบาท ปล่อยกู้ให้ผู้ประกอบการที่มีเรือประมงขนาดต่ำกว่า 60 ตันกรอส สูงสุดไม่เกินรายละ 5 ล้านบาท

โดยปล่อยกู้ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7 ต่อปี ผู้กู้จ่ายดอกเบี้ยร้อยละ 4 ต่อปี ส่วนที่เหลือรัฐบาลเป็นผู้ชดเชยดอกเบี้ยให้ร้อยละ 3 ต่อปี เป็นระยะเวลา 7 ปี นับแต่วันที่กู้ 

ทั้งนี้ สินเชื่อมี 2 ประเภท คือ 1)เงินกู้ระยะสั้น เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนในการประกอบอาชีพ 2)เงินกู้ระยะยาว เป็นเงินทุนในการปรับปรุงเรือ ปรับเปลี่ยนเครื่องมือและอุปกรณ์ทำประมง

ด้านคุณสมบัติของผู้กู้

1)เป็นบุคคลธรรมดาอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ สัญชาติไทย หรือเป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนตามกฎหมายไทย

2)เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองในเรือประมงที่มีทะเบียนเรือไทย

3)เป็นผู้มีประสบการณ์ทำอาชีพประมงมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี

ส่วนหลักประกันการกู้สินเชื่อ ใช้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือใช้หลายอย่างรวมกัน ตามเงื่อนไขของธนาคาร 

1)ที่ดิน ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง หรืออาคารชุด ที่มีเอกสารสิทธิสามารถจดทะเบียนจำนองได้ 

2)เรือประมง

3)บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)ค้ำประกัน

4)บุคคลค้ำประกัน

5)หลักประกันอื่นๆ ตามที่ธนาคารกำหนด

นางสาวรัชดา กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการนี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการเสริมสภาพคล่องทั้งระยะสั้นและระยะยาวแก่ผู้ประกอบการประมงทั่วประเทศ 2,820 ราย รวมเรือประมง 4,822 ลำ แบ่งเป็นเรือประมงพาณิชย์ 4,384 ลำ และเรือประมงพื้นบ้าน 438 ลำ ให้สามารถกลับมาประกอบอาชีพประมงได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนต่อไป . – สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

พบศพโบลท์หญิงวัย 47 ในป่าหญ้าริมทาง คาดถูกฆ่าชิงรถ

โบลท์หญิงวัย 47 ปี หายตัวจากบ้านพักย่านดินแดง 9 วัน ล่าสุดพบเป็นศพในป่าหญ้าริมถนนสายนครชัยศรี-ห้วยพลู อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ส่วนรถยนต์โผล่ที่ จ.ภูเก็ต คาดถูกคนร้ายฆ่าชิงรถ

pagers on display

ทำไมยังมีการใช้ “เพจเจอร์” ในยุคสมาร์ทโฟน

ลอนดอน 19 ก.ย.- เพจเจอร์ หรือวิทยุติดตามตัวเป็นอุปกรณ์การสื่อสารยอดนิยมในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ที่ต้องหลีกทางให้แก่โทรศัพท์เคลื่อนที่ เนื่องจากเป็นการสื่อสารทางเดียว แต่ยังคงมีการใช้งานในบางกลุ่ม รวมถึงกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ที่เพจเจอร์ระเบิดพร้อมกันหลายพันเครื่องทั่วเลบานอนเมื่อวันที่ 17 กันยายน แหล่งข่าวเผยว่า ฮิซบอลเลาะห์ใช้เพจเจอร์ เนื่องจากเป็นช่องทางสื่อสารเทคโนโลยีต่ำ ส่งข้อความผ่านสัญญาณวิทยุ จึงตรวจจับสัญญาณและตำแหน่งได้ยากกว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ส่งสัญญาณไปยังเสาส่งที่อยู่ใกล้ที่สุด อีกทั้งไม่มีเทคโนโลยีระบุพิกัดบนพื้นโลกอย่างจีพีเอสด้วย อดีตเจ้าหน้าที่สำนักงานสอบสวนกลางหรือเอฟบีไอ (FBI) ของสหรัฐเผยว่า ในอดีตแก๊งอาชญากรรมโดยเฉพาะแก๊งค้ายาเสพติดในสหรัฐเคยนิยมใช้เพจเจอร์ แต่ขณะนี้หันมาใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงินราคาถูกที่สามารถเปลี่ยนเครื่องและหมายเลขได้อย่างง่ายดาย ทำให้เจ้าหน้าที่ติดตามแกะรอยได้ยาก อย่างไรก็ดี  ศัลยแพทย์โรงพยาบาลใหญ่แห่งหนึ่งในสหราชอาณาจักรเผยว่า เพจเจอร์เป็นอุปกรณ์ที่แพทย์และพยาบาลสังกัดสำนักงานบริการสุขภาพแห่งชาติหรือเอ็นเอชเอส (NHS) ต้องพกติดตัวอยู่เสมอ เพื่อรับแจ้งข่าวในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นช่องทางที่ถูกที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการแจ้งข่าวทางเดียวกับคนจำนวนมาก เพจเจอร์หลายรุ่นสามารถส่งเสียงไซเรนและมีข้อความเสียงแจ้งให้ทีมแพทย์ไปรวมตัวที่ห้องฉุกเฉินได้ทันที ข้อมูลล่าสุดในปี 2562 ระบุว่า เอ็นเอชเอสใช้เพจเจอร์ประมาณ 130,000 เครื่อง คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 10 ของที่ใช้ทั่วโลก คอกนิทีฟมาร์เก็ตรีเสิร์ช  (Cognitive Market Research) ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยคาดการณ์ว่า ตลาดเพจเจอร์จะเติบโตร้อยละ 5.9 ต่อปี จากปี 2566 ถึงปี 2573 […]

ข่าวแนะนำ

“อนุทิน” ลุยเชียงใหม่ร่วมบิ๊กคลีนนิ่ง ฟื้นฟูหลังน้ำลด

“อนุทิน” ลงพื้นที่เชียงใหม่ ร่วมทีม จนท.-กู้ภัย-อาสาสมัคร “บิ๊กคลีนนิ่ง” ฟื้นฟูเมืองหลังน้ำลด เร่งจ่ายเยียวยาผู้ประสบภัย