จ. นครราชสีมา
23 พ.ค.-รัฐบาลเดินหน้าประกันรายได้เกษตรกร
พร้อมให้ผู้ว่าฯทุกจังหวัด ตั้ง ศูนย์ One Stop Service รับเรื่องร้องทุกข์เกษตรกร
แก้ปัญหาครบวงจรในจุดเดียว
นายจุรินทร์
ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายวีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ประชาสัมพันธ์และติดตามการดำเนินโครงการประกันรายได้มันสำปะหลัง
ที่หอประชุมเปรมติณสูลานนท์ ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา
โดยติดตามความคืบหน้าของโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวไร่มันสำปะหลังเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังทั้งประเทศมีด้วยกันประมาณ
5.2-5.7
แสนครอบครัวเรือนและรัฐบาลได้จัดงบประมาณเพื่อจ่ายเงินส่วนต่างในกรณีที่ราคามันสำปะหลังในตลาดต่ำกว่ากิโลกรัมละ
2.50 บาทเป็นเงิน 9,400 ล้านบาท การประกันรายได้เกษตรกรนั้น ประกันที่กิโลกรัมละ
2.50 บาท ที่เชื้อแป้ง 25% ได้มีการจ่ายเงินส่วนต่างไปแล้ว 6 งวด
โดยงวดล่าสุดคืองวดที่ 6 นั้นจ่ายไปเมื่อวันที่ 30 เมษายนที่ผ่านมา
และงวดต่อไปเป็นงวดที่ 7 จะจ่ายในวันที่ 1 มิถุนายน 2563
โดยเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังจะได้รับการประกันรายได้ครอบครัวละไม่เกิน 100
ตันของหัวมันสด
ทั้งนี้
การนำคณะมาพบเกษตรกรในพื้นที่วันนี้เพื่อรับทราบปัญหาบางประการจากเกษตรกรตัวจริงที่ปลูกมันสำปะหลังอยู่ก็พบว่ายังมีประเด็นในเรื่องของการรับเงินส่วนต่างหรือการโอนเงินส่วนต่างอยู่บ้างเช่น
เกษตรกรได้รับการโอนเงินส่วนต่างล่าช้าไปประมาณหนึ่งเดือน
เป็นกรณีที่กรมส่งเสริมการเกษตร
ที่เป็นผู้รับขึ้นทะเบียนเกษตรกรและเป็นผู้ให้ความเห็นชอบจำนวนเกษตรกรในแต่ละงวดที่จะได้รับเงินส่วนต่าง
ไปตัดยอดเกษตรกรก่อนถึงวันสิ้นเดือนทำให้เกษตรกรจำนวนหนึ่งหลงเหลืออยู่ ณ
วันตัดยอดไปจนถึงวันสิ้นเดือนทำให้ไม่สามารถได้รับเงินส่วนต่างในเดือนถัดไปได้จึงต้องรอไปอีกหนึ่งเดือนนั้น
อย่างไรก็ตาม
ยังได้ประสานกับอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรว่าจากนี้ไปจะต้องตัดยอด ณ
วันสิ้นเดือนทุกครั้ง
เพื่อเกษตรกรจะได้รับการโอนเงินส่วนต่างทันทีในเดือนถัดไปซึ่งท่านอธิบดีรับแล้วคิดว่าการโอนเงินส่วนต่างล่าช้าจะหมดไป
ส่วนกรณีของโรคใบด่าง
ซึ่งหลายจังหวัดยังได้รับเงินงบประมาณค่อนข้างช้าในการได้รับเงินชดเชยกรณีของการทำลายต้นมันสำปะหลังที่ติดโรคทำให้เกษตรกรจำนวนหนึ่งไม่ยอมโค่นต้นมันเพราะไม่ได้รับเงินชดเชยหรือเกรงว่าจะไม่ได้รับเงินชดเชยช่วยเหลือ
จะทำหนังสือถึงที่ประชุมคณะรัฐมนตรี
เพื่อขอให้สำนักงบประมาณเร่งรัดในเรื่องของการโอนเงินชดเชยการโค่นต้นพันธุ์ที่ติดโรคใบด่างมายังแต่ละจังหวัดให้เร็วขึ้นหรือโดยเร็วที่สุดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด
นอกจากนี้
เท่าที่รับฟังความเห็นของผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดทั้งในส่วนของเกษตรกร
ในส่วนของผู้ดำเนินการธุรกิจการรับซื้อหัวมันสด
และลานมันรวมทั้งผู้ประกอบธุรกิจแปรรูปมันสำปะหลัง
ต่างเห็นตรงกันว่านโยบายประกันรายได้เกษตรกรชาวไร่มันสำปะหลังนั้นเป็นนโยบายที่ดีและอยากให้ดำเนินการต่อไปเช่นเดียวกับการประกันพืชผลเกษตรตัวอื่น
ทั้งข้าว ข้าวโพด ยางพาราและปาล์มน้ำมัน
สำหรับเกษตรกรที่ยังติดขัดปัญหาการขึ้นทะเบียน
เพื่อเข้าสู่โครงการประกันรายได้หรือติดขัดด้วยประเด็นปัญหาใดก็ตาม
ตนได้มอบเป็นนโยบายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดที่มีพืชเกษตรตามโครงการประกันรายได้ทั้งห้าตัวนี้ได้จัดตั้งศูนย์
One Stop Service ขึ้นมาเพื่อรับเรื่องร้องทุกข์จากเกษตรกรจะได้ช่วยแก้ปัญหาแบบครบวงจรในจุดเดียว
เช่น ตั้งที่ศาลากลางจังหวัดและที่ว่าการอำเภอทุกอำเภอ เป็นต้น
ซึ่งวันนี้ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาก็รับไปปฏิบัติแล้ว เช่นกัน
สำหรับการดําเนินโครงการประกันรายได้สินค้าเกษตร5ชนิด
ได้แก่ ข้าว มันสําปะหลัง ข้าวโพด ปาล์มน้ํามัน ยางพารา่ซึ่งรัฐบาลได้จัดสรรวงเงิน
67,754
ล้านบาทดูแลและมีเกษตรกรที่มีสิทธิ์เข้าร่วมโครงการกว่า 7.3 ล้านครัวเรือน
โดยปัจจุบันจ่ายเงินชดเชยพืชทั้ง 5 ชนิดไปแล้ว 51,687 ล้านบาทต่อจำนวนเกษตรกร 3.1 ล้านครัวเรือน
ซึ่ง ตัวแทนเกษตรกรมีความพึ่งพอใจและเรียกร้องให้รัฐบาลประกันรายได้ให้แก่เกษตรกรทั้ง
5 ชนิดต่อไป .-สำนักข่าวไทย