“ประมนต์” เสนอตั้งกรรมการอิสระตรวจสอบใช้เงินกู้ 1 ล้านล้าน

กรุงเทพฯ 18 พ.ค.-“ประมนต์” เสนอตั้งกรรมการอิสระ ดึงภาคประชาชน – นักวิชาการ ตรวจสอบใช้เงินกู้ 1 ล้านล้าน แนะรัฐจัดทำเว็บไซต์เฉพาะกิจ เปิดข้อมูลให้สังคมตรวจสอบได้  ร่วมสกัดโกงทุกโครงการ 


นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานมูลนิธิองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) แสดงความเห็นด้วยกับการ พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019  พ.ศ. 2563   อย้างไรก็ตาม การใช้เงินตาม พ.ร.ก.นี้ จำเป็นต้องรวดเร็ว – ทันการณ์ จึงจะเกิดประโยชน์คุ้มค่า อาจต้องยกเว้นกฎระเบียบสำคัญบางประการ แต่หากทำโดยไม่รัดกุม ไม่เปิดเผยอย่างโปร่งใส จนตรวจสอบไม่ได้ทั่วถึง ก็อาจเป็นช่องว่างที่ทำให้การทุจริตเกิดขึ้นง่ายและรุนแรง  

นายประมนต์  เสนอให้มีคณะกรรมการตรวจสอบอิสระ ที่ชำนาญและน่าเชื่อถือตรวจสอบการดำเนินงาน ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)  หากผู้ใดทุจริต จะต้องถูกลงโทษอย่างรุนแรง และรวดเร็วทุกกรณี โดยให้นำมติครม. เมื่อ 27 มีนาคม 2561 เรื่อง มาตรการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในระบบราชการ มาบังคับใช้อย่างเข้มงวด และให้มีการรายงานข้อมูลโครงการ แผนการดำเนินงาน งบประมาณการจัดซื้อจัดจ้าง  หน่วยงานรับเรื่องร้องเรียน ให้ปรับปรุงข้อมูลให้ทันการณ์ โดยเปิดเผยบนเว็บไซต์เฉพาะกิจ 


“ขอให้รัฐบาลดำเนินการอย่างเปิดเผย โปร่งใส ให้ประชาชนมีส่วนร่วมและตรวจสอบได้  มีมาตรการถ่วงดุลและระบบตรวจสอบที่น่าเชื่อถือ และเป็นอิสระ  ลงโทษการคอร์รัปชันอย่างรวดเร็ว ไม่เลือกปฏิบัติ นอกจากจะได้รับความเชื่อถือจากประชาชนแล้ว ยังเป็นโอกาสที่ประเทศไทยจะถูกยกระดับการประเมิน CPI เพราะเป็นเรื่องใหญ่ที่ถูกทุกฝ่ายและนานาชาติเฝ้าจับตามอง” นายประมนต์ ระบุ

นายประมนต์ ระบุด้วยว่า  การใช้เงิน 4 แสนล้านบาท จากเงินกู้ 1 ล้านล้านบาท เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม เป็นส่วนที่น่ากังวลที่สุด  เพราะอาจมีการนำไปใช้ทำโครงการที่ไม่เกิดประโยชน์คุ้มค่า หรือเกิดการคอร์รัปชันเชิงนโยบาย หรือคอร์รัปชันในการจัดซื้อจัดจ้างได้  จึงต้องการให้ยึดโมเดลโครงการเงินกู้ยืมจากรัฐบาลญี่ปุ่น มิยาซาวา แพลน ปี 2542 หรือ พ.ร.ก.กู้เงิน  โครงการไทยเข้มแข็ง ปี 2552  ที่มีหลักเกณฑ์การใช้เงินชัดเจน และยังสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน

นายประมนต์ เสนอให้จัดทำเว็บไซต์เฉพาะกิจให้สาธารณชนสามารถเข้าไปศึกษาติดตามได้อย่างอิสระ และให้มีคณะกรรมการกลั่นกรองโครงการ  คณะกรรมกำกับดูแลการจัดการและเบิกจ่ายเงิน ที่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย รวมทั้ง แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน เป็นคณะกรรมการกลั่นกรอง และอนุมัติการใช้จ่ายเงินกู้ มีผู้แทนจากภาคประชาชนและนักวิชาการที่สังคมยอมรับ โดยกำหนดให้ทุกพื้นที่ ทุกโครงการ ดำเนินการภายใต้กติกาเดียวกันอย่างเคร่งครัด 


“ต้องมีระบบตรวจสอบและถ่วงดุลที่แข็งแกร่ง ด้วยการดำเนินงานอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน เว็บไซต์เฉพาะกิจต้องรวบรวมข้อมูลทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการตาม พ.ร.ก.กู้เงิน นี้  เปิดให้ประชาชนและสื่อมวลชนที่สนใจสามารถศึกษาข้อมูลได้อย่างอิสระ สามารถใช้งานเพื่อการสืบค้นข้อมูลได้ง่าย” นายประมนต์ ระบุ .- สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ผ่าไชน่า เรลเวย์ คว้า 3 โครงการรัฐในภูเก็ต

เหตุการณ์ตึก สตง.ถล่ม กลายเป็นปฐมบทในการปูพรมตรวจสอบบริษัท ไชน่า เรลเวย์ หลังพบเป็นผู้ชนะการประมูลโครงการก่อสร้างตึก สตง. และโครงการรัฐหลายแห่งทั่วประเทศ ล่าสุดที่ จ.ภูเก็ต ตรวจพบ 3 โครงการ และหนึ่งในนั้นกำลังมีปัญหาก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน

มหาสงครามโลก

นักวิชาการชี้ “มหาสงครามโลกครั้งที่ 3” เกิดแน่ถ้าโลกยังตึงเครียด

นักวิชาการด้านความมั่นคงและการต่างประเทศระดับแนวหน้าของไทย มีความเห็นตรงกันว่า หากผู้นำชาติมหาอำนาจไม่เร่งลดระดับความตึงเครียดสถานการณ์โลก

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว หลังอยู่ปฏิบัติภารกิจค้นหา-กู้ชีพ สนับสนุนกู้ภัยไทย เหตุตึก สตง.ถล่ม กว่า 1 สัปดาห์

ธรรมชาติใต้ดินเปลี่ยนไป หลังแผ่นดินไหว 1 สัปดาห์

แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ส่งแรงสั่นสะเทือนในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ แม้บนพื้นผิวดินจะไม่ได้สร้างความเสียหายมากนัก แต่พบความเปลี่ยนแปลงสภาพใต้ดินจนเกิดปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทั้งหลุมยุบขนาดใหญ่ น้ำพุร้อนที่เคยพุ่งจากใต้ดินหายไป แต่น้ำตกที่แห้งในหน้าแล้งกลับมีน้ำไหลออกมา ซึ่งนักธรณีวิทยายืนยันเป็นผลพวงจากแผ่นดินไหวครั้งนี้

ข่าวแนะนำ

K9 หยุดปฏิบัติภารกิจค้นหาผู้สูญหาย ตึกสตง. ถล่ม

K9 หยุดปฏิบัติภารกิจค้นหาผู้สูญหาย ตึกสตง. ถล่ม เพราะปฏิบัติหน้าที่ครบ 10 วันแล้ว เป็นปกติของการทำงาน หากปฏิบัติภารกิจต่ออาจจะทำให้บาดเจ็บได้ และการกู้ภัยที่เหลือตอนนี้จำเป็นต้องต้องใช้เครื่องจักรใหญ่เท่านั้น