ชี้มาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบโควิด ทั้งระบบล่าช้า

กรุงเทพฯ 5 พ.ค.-“จาตุรนต์” ชี้มาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ทั้งระบบล่าช้า เสนอให้รัฐบาลเชิญคนหาเช้ากินค่ำหรือตัวแทนองค์กรที่ทำงานกับคนยากจนมาให้คำปรึกษา เผยทุกธุรกิจอยากเปิดแต่เปิดไม่ได้ เพราะประสบปัญหาไม่มีผู้ซื้อหรือไม่มีวัตถุดิบมาส่ง ส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจมากขึ้น


นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ขณะนี้น่าเป็นห่วงคนหลายสิบล้านกำลังเดือดร้อนสาหัสและยังจะเดือดร้อนมากขึ้น มาตรการเยียวยาช้ามากทั้งระบบ การคลายล็อกขาดการเตรียมการล่วงหน้า ทำให้ธุรกิจและคนทำมาค้าขายจำนวนมากไม่พร้อม รัฐทำราวกับว่าเห็นการเปิดกิจการและการทำมาค้าขายเป็นพิษเป็นภัยมากกว่าจะเห็นว่าเป็นความจำเป็นและเป็นประโยชน์ แทนที่จะหาทางช่วยเหลือ สำรวจว่ามีปัญหาอะไร ต้องการให้ช่วยเหลืออย่างไร กลับเน้นแต่การขู่คาดโทษ ทำให้จังหวัดต่าง ๆ แข่งกันใช้มาตรการเข้มเกินจำเป็น ภาคเอกชน คนทำมาค้าขายอยู่ไม่ได้ คนยังกลับมาทำงานไม่ได้ และคนตกงาน หยุดงานยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง หากยังเดินกันไปเช่นนี้อีก 4-5 เดือนรัฐบาลก็จะไม่มีงบประมาณพอที่จะเยียวยา

นายจาตุรนต์ กล่าวอีกว่า ขณะนี้มาตรการเยียวยาทั้งระบบล่าช้ามาก ในสัปดาห์นี้จะมีการจ่ายเงินเพิ่มอีกประมาณ 3 ล้านคน รวมแล้วประมาณ 11 ล้านคน หมายความว่า ผู้ที่เข้าข่ายได้รับการเยียวยาอีกประมาณ 5 ล้านคนต้องอยู่กันโดยไม่มีรายได้อะไรเลย รวมทั้งสิ้นจะนานถึง 2 เดือน ส่วนอีกประมาณ 5-6 ล้านที่ไม่เดือดร้อนแต่ไม่เข้าข่าย ก็ไม่รู้ว่ารัฐบาลจะดูแลอย่างไรและเมื่อใด ผู้ประกันตนกว่าครึ่งยังไม่ได้รับเงิน และเกษตรกร 10 ล้านคนก็ยังไม่ได้รับเงิน


“ที่ล่าช้าทั้งหมดนี้ไม่ใช่เพราะรัฐบาลไม่มีเงิน หรือหาเงินไม่ได้แล้ว แต่เป็นเพราะการบริหารจัดการที่ล้มเหลว ไม่มีการวางแผนล่วงหน้า ขณะที่มีการวางระบบที่ผิด ทำให้มีปัญหาทางธุรการมากไปโดยไม่จำเป็น ผู้ที่รับผิดชอบตั้งแต่หัวหน้ารัฐบาลลงมา ไม่เข้าใจว่านี่เป็นการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติเหมือนไฟไหม้หรือน้ำท่วมที่ต้องการให้ความช่วยเหลือทันที ทางออกในเรื่องนี้มีอยู่ทางเดียว คือ อะไรที่จ่ายได้ ให้จ่ายไปก่อน รัฐบาลน่าจะนึกย้อนหลังไปถึงช่วงที่ทั้งแจกทั้งแถมให้คนมีเงินอยู่แล้วไปเที่ยวเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจยังทำได้ เวลานี้คนเดือดร้อนกัน ทำไมจึงจ่ายยากจ่ายเย็น ผมอยากเสนอให้รัฐบาลเชิญคนหาเช้ากินค่ำหรือตัวแทนองค์กรที่ทำงานกับคนยากจนมาให้คำปรึกษาจะได้ช่วยให้ผู้รับผิดชอบที่มีรายได้ประจำเข้าใจความรู้สึกของคนที่ไม่มีจะกินว่าเป็นอย่างไร” ” นายจาตุรนต์ กล่าว

นายจาตุรนต์ กล่าวด้วยว่า ในส่วนของการคลายล็อกให้เปิดกิจการทำกิจกรรมได้มากขึ้นนั้น เนื่องจากขาดการวางแผนล่วงหน้า ผู้ประกอบการและคนทำมาค้าขายจำนวนมากไม่กล้าเตรียมการล่วงหน้า ทำให้ไม่มีความพร้อมเปิดกิจการ สั่งคลายล็อคแล้ว แต่เพิ่งมีคู่มือปฏิบัติการต่าง ๆ ออกมา การปิดหรือเปิดก็ลักลั่น กิจการหลายอย่างยังถูกห้ามอยู่ ทั้ง ๆ ที่สามารถเปิดได้โดยมีมาตรการทางสาธารณสุขที่เหมาะสม รัฐทำราวกับว่าเห็นการเปิดกิจการและการทำมาค้าขายเป็นพิษเป็นภัยมากกว่าจะเห็นว่าเป็นความจำเป็นและเป็นประโยชน์  แทนที่จะหาทางช่วยเหลือ สำรวจว่าเขามีปัญหาอะไร ต้องการให้ช่วยเหลืออย่างไร กลับเน้นแต่การขู่คาดโทษ ทำให้จังหวัดต่าง ๆ แข่งกันใช้มาตรการเข้มเกินจำเป็น ภาคเอกชนและคนทำมาค้าขายไม่กล้าวางแผนลงทุน กิจการที่เปิดจำนวนมากก็กำลังประสบปัญหาไม่มีผู้ซื้อหรือไม่มีวัตถุดิบมาส่ง เพราะกิจการหลายประเภทถูกปิดหรืออยู่ไม่ได้มานาน รัฐบาลและกลไกราชการทั้งหลายไม่มีการถามว่าภาคเอกชนต้องการให้ช่วยเหลืออะไรอย่างไร มีแต่ขู่ตลอดว่าถ้าอย่างนั้นจะสั่งปิดอย่างนี้ จะให้หยุด หารู้ไม่ว่าต่อไปจะพบว่าธุรกิจจำนวนมากนั้น ถึงเวลาอยากให้เขาเปิด เขาก็เปิดกันไม่ได้

“ขณะนี้คนจำนวนมากยังกลับมาทำงานไม่ได้ และคนตกงานหยุดงานยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องถึงสิ้นเดือนมิถุนายน รัฐบาลจะต้องจ่ายเงินเยียวยาทั้งหมดประมาณ 4 แสนล้าน ซึ่งพอบรรเทาความเดือดร้อนของคนหลายสิบล้านคนได้บ้างเท่านั้น เพราะเงิน 5,000 บาทต่อเดือนนั้นมากว่าค่าแรงขั้นต่ำเพียงเล็กน้อยเท่านั้น อย่าลืมว่าวงเงินที่ใช้สำหรับการเยียวยาตาม พ.ร.ก.มีไม่ถึง 6 แสนล้าน หากยังเดินกันไปอย่างนี้ กิจการต่าง ๆ จะล้มอีกมาก และคนจะตกงานเดือดร้อนมากขึ้น ไม่ถึงเดือนกันยายน รัฐบาลก็จะไม่มีงบประมาณที่จะใช้สำหรับการเยียวยา จะกลายเป็นวิกฤติทางเศรษฐกิจ สังคมที่ใหญ่มาก การเน้นแต่ตัวเลขผู้ติดเชื้อเพียงอย่างเดียว ไม่ให้ความสนใจกับประชาชนที่กำลังไม่มีจะกิน ทำให้รัฐบาลให้ความสำคัญกับแก้ปัญหาเศรษฐกิจน้อยเกินไป รัฐบาลจึงควรหาความสมดุลที่เหมาะสมระหว่างการรับมือการแพร่ระบาดกับการดูแลเศรษฐกิจและคนส่วนใหญ่ที่เดือดร้อนให้ได้” นายจาตุรนต์ กล่าว.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง นายก อบจ.อุบลฯ เดือด ส่งท้ายปี

ใกล้เข้ามาทุกขณะสำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคมนี้ ซึ่งถือเป็นสนามเลือกตั้งท้องถิ่นขนาดใหญ่ส่งท้ายปีนี้ การแข่งขันดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครต่างเร่งหาเสียงกันอย่างเต็มที่ โดยมีผู้สมัคร 4 คน ลงชิงชัย ไปติดตามบรรยากาศโค้งสุดท้ายว่าใครจะเป็นผู้คว้าชัย

ทอ.ส่ง F-16 ขึ้นบินป้องน่านฟ้า หลังมีอากาศยานไม่ทราบฝ่าย เหนือชายแดนไทย-เมียนมา

กองทัพอากาศส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบิน เพื่อพิสูจน์ฝ่ายและสกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก

อุตุฯ เผยอีสาน-เหนือ อากาศหนาว กทม.อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย

กรมอุตุฯ เผยภาคอีสาน ภาคเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนกรุงเทพฯ-ปริมณฑล อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็น

lightened Christmas tree in front of U.S. Capitol

รู้จัก “ชัตดาวน์” ของสหรัฐและผลกระทบ

วอชิงตัน 20 ธ.ค.- หน่วยงานจำนวนมากของรัฐบาลสหรัฐเสี่ยงต้องปิดทำการชั่วคราว หรือที่เรียกว่า กัฟเวิร์นเมนต์ ชัตดาวน์ (government shutdown) หลังผ่านพ้นเที่ยงคืนวันนี้ (20 ธันวาคม) ตามเวลาสหรัฐ หากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ทันเวลา หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณฉบับใหม่เมื่อวานนี้ สาเหตุที่เสี่ยงชัตดาวน์ ปกติแล้วรัฐสภาสหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานรัฐบาลกลางทั้งหมด 438 แห่งก่อนวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี แต่ที่ผ่านมาสมาชิกรัฐสภามักทำไม่ได้ตามกำหนดเวลา และมักผ่านร่างงบประมาณชั่วคราวเพื่อให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถดำเนินการได้ต่อไปในระหว่างที่สมาชิกรัฐสภาหารือกันเพื่อผ่านร่างงบประมาณจริง ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุเมื่อเข้าสู่เช้าวันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตเตรียมร่างกฎหมายที่จะขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2568 แต่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันลงมติไม่เห็นด้วย และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณที่เสนอใหม่ ดังนั้นหากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ก่อนที่ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุ ก็จะเกิดการชัตดาวน์ เพดานหนี้ที่ทรัมป์ต้องการให้แก้ นายทรัมป์ยังต้องการให้สมาชิกรัฐสภาแก้ปัญหาเรื่องการกำหนดเพดานหนี้ประเทศให้รัฐบาลสามารถกู้ยืมได้มากขึ้น ก่อนที่เขาจะสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 มกราคม 2568 รัฐสภาสหรัฐเป็นผู้กำหนดเพดานหนี้สาธารณะที่อนุญาตให้รัฐบาลก่อหนี้ แต่เนื่องจากรัฐบาลมักใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่ได้จากการจัดเก็บภาษี สมาชิกรัฐสภาจึงต้องคอยแก้ปัญหานี้เป็นครั้งคราว รัฐสภาสหรัฐกำหนดเพดานหนี้สาธารณะครั้งแรกในปี 2482 โดยกำหนดไว้ที่ 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.55 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน) และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้ขยายเพดานหนี้แล้วทั้งหมด 103 […]

ข่าวแนะนำ

ฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ส่งสุขรับปีใหม่

ส่งความสุขรับปีใหม่ กับฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ศิลปินลูกทุ่งเกือบ 100 ชีวิต ร่วมโชว์จัดเต็ม

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน

เด้ง ตร.จราจร ปมคลิปรับเงินแลกไม่เขียนใบสั่ง

ผบก.ภ.จว.นนทบุรี สั่งย้าย “รอง สว.จร.สภ.รัตนาธิเบศร์” เซ่นคลิปรับเงินแลกไม่ออกใบสั่ง พร้อมตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงภายใน 3 วัน ด้านเจ้าตัวอ้างไม่เห็นเงินที่วางบนโต๊ะในตู้ควบคุมสัญญาณไฟจราจร