บัญชีทะเบียนเกษตรกรลอตแรกกว่า 8 ล้านรายถึงคลังแล้ว

กรุงเทพฯ  5 พ.ค. – กระทรวงเกษตรฯ ส่งข้อมูลทะเบียนเกษตรกรชุดแรกถึงกระทรวงการคลังแล้ว 8.33 ล้านราย เร่งตรวจสอบไม่ให้ซ้ำซ้อน คาดจ่ายเงิน 5,000 บาทงวดแรกกลางเดือนนี้ พร้อมแจงหลักเกณฑ์การประกอบการเกษตรอย่างชัดเจน เพื่อให้เกษตรกรที่ไม่เคยขึ้นทะเบียนเร่งดำเนินการภายในวันที่ 15 พ.ค.นี้ 


นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า มอบหมายให้เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรส่งข้อมูลทะเบียนเกษตรกรถึงผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลังแล้ว โดยกลุ่มแรกเป็นเกษตรกรที่ขึ้นและปรับปรุงทะเบียนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งมีบัญชีธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ประมาณ 8.33 ล้านราย โดยตรวจสอบอย่างละเอียดไม่ให้ซ้ำซ้อน เพื่อให้ได้รับความช่วยเหลืออย่างทั่วถึง เมื่อกระทรวงการคลังได้รับทะเบียนเกษตรกรชุดแรกแล้วจะตรวจสอบไม่ให้ซ้ำซ้อนกับผู้ที่ได้รับความช่วยเหลือผ่านโครงการเราไม่ทิ้งกัน ผู้มีสิทธิ์สวัสดิการผ่านระบบข้าราชการของกรมบัญชีกลาง ผู้มีสิทธิ์ระบบประกันสังคมของสำนักงานประกันสังคม และเกณฑ์อื่น ๆ ที่กระทรวงการคลังกำหนด คาดว่าเกษตรกรกลุ่มแรกจะได้รับเงินช่วยเหลืองวดแรกผ่านบัญชีของ ธ.ก.ส.กลางเดือนพฤษภาคมนี้ โดยจ่ายเข้าบัญชี ธ.ก.ส.รายละ 5,000 บาท เป็นระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม – กรกฎาคม รวมได้รับ 15,000 บาทต่อราย

สำหรับเกษตรกรกลุ่ม 2 ได้แก่ เกษตรกรที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อมูลการขึ้นทะเบียน ซึ่งสามารถมาขึ้นทะเบียนได้ถึงวันที่ 15 พฤษภาคม ประมาณ 1.67 ล้านราย โดยกระทรวงการคลังแจ้งว่าสามารถจ่ายเงินช่วยเหลือเกษตรกรงวดแรกกลุ่ม 2 ภายในเดือนพฤษภาคมเช่นกัน ดังนั้น เกษตรกรเป้าหมายทั้ง 2 กลุ่มรวม 10 ล้านราย 


ทั้งนี้ ผู้ที่ยังไม่ได้ขึ้นหรือปรับปรุงทะเบียนให้เร่งติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมส่งเสริมการเกษตร ซึ่งรับขึ้นทะเบียนเกษตรกรประกอบการเกษตร ดังนี้ 1. การทำนา/ทำไร่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกัน 1 ไร่ขึ้นไป 2. การปลูกผัก/การปลูกไม้ดอกไม้ประดับ/ การเพาะเห็ด/การปลูกพืชอาหารสัตว์อย่างใดอย่างหรือรวมกัน 1 งานขึ้นไป 3. การปลูกไม้ผลไม้ยืนต้น/การปลูกสวนป่า/ปลูกป่า เศรษฐกิจแบบสวนเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกัน  1 ไร่ขึ้นไปและมี 50 ต้นขึ้นไป 4. การปลูกไม้ผล/ไม้ยืนต้นแบบสวนผสมอย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกันอย่างน้อย 1 ไร่และมี 50 ต้นขึ้นไป 5. การเลี้ยงแม่โคนม 1 ตัวขึ้นไป 6. การเลี้ยงโค / กระบือ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกัน 2 ตัวขึ้นไป 7. การเลี้ยงสุกร แพะ หรือแกะอย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกัน 5 ตัวขึ้นไป 8. การเลี้ยงสัตว์ปีก 50 ตัวขึ้นไป 9. การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 10. การทำนาเกลือสมุทร 1 ไร่ขึ้นไป 11. การปลูกหม่อน การเลี้ยงไหมอย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกัน 12. การเพาะเลี้ยงแมลงเศรษฐกิจและเกษตรอื่นๆ 13. ประกอบการเกษตรอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน 

นอกจากนี้ กรมส่งเสริมการเกษตรยังรวบรวมทะเบียนเกษตรกรที่ขึ้นไว้กับกรมหม่อนไหม ซึ่งประกอบการเกษตรดังนี้ 1. เกษตรกรผู้ปลูกหม่อน จะต้องมีพื้นที่ปลูกหม่อนหรือมีจำนวนต้นดังนี้ 1. ใบหม่อนสดเพื่อจำหน่ายต้องมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า 1 งานหรือมี 250 ต้นขึ้นไป 2.ใบชาหม่อนต้องมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า 1 งานหรือมี 250 ต้นขึ้นไป 3. หม่อนผลสดต้องมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า 1 งานหรือมี 250 ต้นขึ้นไป 4. ใบหม่อนสดเพื่อเลี้ยงไหมหัตถกรรมต้องมีพื้นที่ไม่น้อย 1งานหรือมี 250 ต้นขึ้นไป 5. ใบหม่อนสดเพื่อเลี้ยงไหมอุตสาหกรรมต้องมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า 1 ไร่หรือมี 375 ต้นขึ้นไป 2. เกษตรกรผู้เลี้ยงไหมจะต้องมีห้องเลี้ยงไหม/โรงเลี้ยงไหม พร้อมอุปกรณ์เลี้ยงไหมครบอย่างน้อย 1 ห้อง/โรง 3. เกษตรกรผู้ทอผ้าไหมต้องมีกี่ทอผ้าไหมอย่างน้อย 1 ตัว พร้อมอุปกรณ์การทอผ้าไหมครบ โดยเป็นกี่ทอผ้าไหมของตนเองและ/หรือเป็นของกลุ่มเกษตรกร 


ส่วนกรมปศุสัตว์รับขึ้นทะเบียนเกษตรกร ซึ่งประกอบการเกษตรดังนี้ 1. กรณีเลี้ยงโคเนื้อ โคนม กระบือ สุกร แพะ แกะ และสัตว์ปีก ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์คือ 1.1 การเลี้ยงแม่โคนม 1 ตัวขึ้นไป 1.2 การเลี้ยงโค หรือกระบืออย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกัน  2 ตัวขึ้นไป 1.3 การเลี้ยงสุกร แพะ หรือแกะอย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกัน 5 ตัวขึ้นไป 1.4 การเลี้ยงสัตว์ปีก 50 ตัวขึ้นไป 2. กรณีจำนวนสัตว์ที่เลี้ยงไม่เป็นไปตามข้อ 1. ต้องมีการเลี้ยงสัตว์ชนิดอื่นร่วมด้วยไม่น้อยกว่า 1 ชนิด

สำหรับกรมประมงรับขึ้นทะเบียนเกษตรกร ซึ่งประกอบการเกษตรดังนี้ 1. เกษตรกรขึ้นทะเบียนเกษตรกร ผู้เพาะลี้ยงสัตว์น้ำ (ทบ.1) ที่ทะเบียนเกษตรกรยังมีอายุอยู่ 2. เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนผู้ทำการประมง (ทบ.3) ที่ทะเบียนเกษตรกรยังมีอายุอยู่ 3. เกษตรกรที่ได้รับอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน 4. เกษตรกรได้จดแจ้งการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำในที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน 5. เกษตรกรที่ได้จดแจ้งการประกอบกิจการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล (เกษตรกร ในที่นี้หมายถึง บุคคลธรรมดา)

นอกจากนี้ ยังมีหน่วยงานรับขึ้นทะเบียนเกษตรกรอื่น ๆ ที่มีหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนเกษตรกรของหน่วยงานเอง โดยไม่อยู่ภายใต้ระเบียบคณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ ว่าด้วยการขึ้นทะเบียนเกษตรกร พ.ศ. 2560 ดังนี้ 1. เกษตรกรชาวสวนยางที่ขึ้นทะเบียนไว้กับการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) 2. เกษตรกรชาวไร่อ้อยที่ขึ้นทะเบียนไว้กับสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย และ 3. เกษตรกรผู้ปลูกยาสูบที่ขึ้นทะเบียนไว้กับการยาสูบแห่งประเทศไทย หากเกษตรกรมีข้อสงสัยและต้องการตรวจสอบสิทธิ์สามารถติดต่อหน่วยงานในพื้นที่ที่ขึ้นทะเบียนไว้ได้ทุกวันในเวลาราชการ โดยไม่เว้นวันหยุด.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน

วัยรุ่นซิ่งเบนซ์เสียหลักพุ่งเหินฟ้าคารถ 6 ล้อ

รอดตายปาฏิหาริย์! วัยรุ่นซิ่งเบนซ์เสียหลัก ก่อนพุ่งเหินฟ้าติดคาบนรถ 6 ล้อ พลเมืองดีเข้าช่วยเหลือออกมาจากรถ ปลอดภัย

กกต.สั่งเอาผิดอาญา “ชวาล” สส.ปชน. ยื่นบัญชีใช้จ่ายเท็จ

กกต.สั่งดำเนินคดีอาญา “ชวาล” สส.ปชน. ยื่นบัญชีค่าใช้จ่ายเลือกตั้งไม่ตรงความเป็นจริง โทษหนักทั้งจำคุก-ตัดสิทธิ 5 ปี

ข่าวแนะนำ

“ภูมิธรรม” สั่งปิดชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก 1 เดือน สกัดอหิวาตกโรค

“ภูมิธรรม” สั่งปิดชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก 1 เดือน สกัดอหิวาตกโรค ไม่ให้ระบาดในไทย พร้อมยกมาตรรักษาสุขภาวะในพื้นที่อย่างเข้มข้น

ฉายารัฐบาลปี67

สื่อทำเนียบฯ ตั้งฉายา ปี 67 “รัฐบาล(พ่อ)เลี้ยง”

สื่อทำเนียบฯ ตั้งฉายา ปี67 “รัฐบาล(พ่อ)เลี้ยง” ฉายานายกฯ “แพทองโพย” ด้าน 7 รัฐมนตรีติดโผ “บิ๊กอ้วน-อนุทิน-ทวี” พ่วง 3 รัฐมนตรีโลกลืม ส่วนวาทะแห่งปี “สามีเป็นคนใต้”

เลือกตั้ง อบจ.อุบลฯ

“กานต์ กัลป์ตินันท์” ชนะเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ

“กานต์ กัลป์ตินันท์” ชนะเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี พร้อมขอบคุณคนเสื้อแดง และนายทักษิณ ชินวัตร ที่ช่วยผลักดัน