แพทย์ชี้อาการ “โรคหืด” คล้ายโควิด-19 แต่ไม่ใช่กลุ่มเสี่ยง

กรุงเทพฯ 4 พ.ค..-แพทย์ชี้อาการ “โรคหืด” คล้ายโควิด-19 แต่ไม่ใช่กลุ่มเสี่ยง แนะวิธีสังเกตความต่าง พร้อมผุดแคมเปญ ให้กำลังใจคนไข้เลี่ยงมา รพ.ในภาวะโควิด-19 เผยสถิติโรคหืดคร่าชีวิตคนไทยยังพุ่งปีละเกือบ 7 พันคน 


 

วันโรคหืดโลก หรือ world asthma day  ปีนี้ตรงกับ 5 พ.ค. 2563 ภายใต้แนวคิดว่า enough asthma death เพื่อลดการเสียชีวิตจากโรคหืด เพื่อกระตุ้นให้บุคคลากรทางการแพทย์ ผู้ป่วยและครอบครัว ได้ตระหนักถึงความสำคัญ สร้างความตื่นตัว ทราบอาการของโรค การรักษา ป้องกัน เพื่อลดการผลกระทบและการเสียชีวิตจากโรคหืด ซึ่งจากข้อมูลองค์การอนามัยโลกล่าสุด พบคนไทยเสียชีวิตจากโรคหืดถึง 6,808 ราย โดยคิดเป็น 7.76 รายต่อประชากร 1 แสนคน หรือ 1.3% ของคนที่เสียชีวิตทั้งหมด จัดเป็นอันดับที่ 76 ของโลก และอันดับที่ 5 ในอาเซียน และพบว่าโรคหืดเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตในคนไทยเป็นอันดับที่ 19


ด้าน ศ.พญ.อรพรรณ โพชนุกูลนายกสมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย กล่าวว่า อัตราการเสียชีวิตในไทยปีละ 7,000คน ถือว่าเป็นตัวเลขที่สูงมาก เพราะโรคนี้สามารถรักษาหายได้ ถ้ารักษาเร็วมีโอกาสหายได้สูง โดยอัตราการเสียชีวิตในผู้ใหญ่จะมากกว่าเด็กประมาณ 5 เท่า และกลุ่มเสี่ยงที่สำคัญคือคนไข้ที่อายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป เพราะการพ่นยาทำได้ยากกว่า อาการรุนแรงกว่า และหลายคนชินกับอาการหอบโดยที่ไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคหืด  ซึ่งอาการหอบ มักจะเริ่มต้นด้วย “การไอช่วงเวลากลางคืน” จึงได้จัดทำ แอพพลิเคชั่น “Asthma Care” เพื่อให้คนไข้สามารถสังเกตุอาการและดูแลตัวเองได้แม้ในยามฉุกเฉิน โดยมีแผนปฏิบัติการ “Asthma Action Plan” ซึ่งอยู่ในแอพพลิเคชั่นให้คำแนะนำวิธีการปฏิบัติตัวและสังเกตอาการ

ทั้งนี้ ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ด้วยอาการของคนไข้โรคหืดจะคล้ายกับโควิด-19 แต่ไม่ใช่กลุ่มเสี่ยง ในกรณีคนไข้โรคหืดมักมีอาการไออย่างเดียว มีน้ำมูกบ้างแต่ไม่มีไข้ ขณะที่โรคโควิด-19 มีไข้ถึง 60% เจ็บคอ ปวดเมื่อยตามตัว และอาการบ่งชี้ที่สำคัญ คือไม่ได้กลิ่นและไม่สัมผัสรส  ตรวจสอบได้โดยให้คนไข้พ่นยาฉุกเฉิน ซึ่งจะต้องหายจากอาการที่เกิดจากโรคหืด หากไม่หายและมีอาการข้างต้น มีข้อแนะนำให้ตรวจหาเชื้อโควิด-19


ปัจจุบันทางสมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย ได้ออกข้อแนะนำ 5 ประการในสถานการณ์ระบาดของโควิด-19 อ้างอิงตามองค์การหืดโลก ดังนี้

1.ห้ามหยุดยา-ลดยา และต้องพ่นยาอย่างสม่ำเสมอ เพราะเสียงหอบกำเริบ (ลดการมาโรงพยาบาลให้น้อยที่สุด)

2.หลีกเลี่ยงยาพ่นประเภทฝอยละออง หรือ Nebulization เนื่องจากมีโอกาสที่ผู้ป่วยโรคหืดที่ติดเชื้อโควิด-19 จะแพร่กระจายเชื้อได้  และแนะนำให้ใช้ยาพ่น MDI with spacers (อุปกรณ์พ่น) ทำให้ได้ริเริ่มโครงการ “หยุดหอบ ป้องกัน Covid-19 ด้วย Thai Kit Spacer” โดยแจกจ่ายให้กับโรงพยาบาล 500 ถึง 600 แห่งทั่วประเทศ

3.คนไข้ต้องเข้าใจและมีแผนปฎิบัติการดูแลในยามฉุกเฉิน (Asthma Action Plan) โดยปกติสูตรการพ่นยาฉุกเฉิน ทุก 15 นาที x 3 ครั้ง ถ้าดีขึ้นพ่นห่าง 6 – 8 ชั่วโมงจนดีขึ้นไป 2-3 วัน ซึ่งคนไข้หลายคนจำผิด หรือจำไม่ได้ว่าจะต้องดูแลตัวเองอย่างไร ต้องใช้ Asthma Action Plan  ดูแลและสังเกตอาการที่บ้านด้วยตนเอง

4.หลีกเลี่ยงการทำหัตถการเป่าปอด ลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อ ถึงแม้ว่าจะพบคนไข้โรคเกิดที่ติดเชื้อโควิด-19 ไม่ได้มีจำนวนมากก็ตาม

5.การดูแลคนไข้ผ่าน Telemedicine โรคหืดสามารถที่จะตรวจดูอาการและรักษาผ่านทางไกลได้ โดยส่งยาไปที่บ้านหรือรับยาที่ร้านขายยาใกล้บ้าน 

รศ.นพ.ธีระศักดิ์ แก้วอมตวงศ์ เลขาธิการสมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย ย้ำว่า การที่มีผู้ป่วยเสียชีวิตจากโรคหืด เป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ ไม่ควรเกิดขึ้น ไม่ใช่เพียง Enough Asthma Death แต่ต้องเป็น Zero Asthma Death เพราะโรคหืดสามารถรักษาได้ ถึงแม้ปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคจะมาจากพันธุกรรมหรือสิ่งแวดล้อม ถ้าผู้ป่วยดูแลตัวเองอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ  อีกทั้งคนไทยสามารถเข้าถึงยารักษาโรคหืดอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ มีสิทธิ์การเข้าถึงยาตามระบบการรักษาโรค เช่น หลักประกันสุขภาพ ฯลฯ ความสำคัญจึงอยู่ที่การบริหารการใช้ยา และความรู้ความเข้าใจโรคหืดของคนไข้เอง

ทางสมาคมฯ จึงเตรียมการสื่อสารกับประชาชนทั่วไปผ่าน Digital Platform เร็วๆนี้ โดยเฉพาะในปัจจุบันที่มีความกังวลสถานการณ์การระบาดโควิด-19  ขณะที่ข้อมูลผู้ป่วยโรคหืดที่ติดโควิด-19 ยังมีออกมาไม่มาก จากข้อมูลทางระบาดวิทยาพบว่า โรคหืดและภูมิแพ้ไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงการติดเชื้อโควิด 19 แต่ลักษณะอาการของหืดกำเริบและปอดติดเชื้อจากโควิด 19 อาจคล้ายกัน ซึ่งการจำแนกกลุ่มอาการของโรคอาศัยการตรวจคัดกรองที่มีประสิทธิภาพในอนาคต ทางสมาคมสภาองค์กรโรคหืดฯ ได้เตรียมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างแพทย์ผู้เชียวชาญในสาขาต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการดูแลโรคหืดด้วย

ขณะเดียวกันทางสมาคมฯได้เผยแพร่วีดีทัศน์รณรงค์ “Enough Asthma Death”  คุณศรีสกุล ฤทธิอินทร์ ตัวแทนผู้ป่วยโรคหืด เล่าประสบการณ์ว่าเกือบตายมาหลายครั้ง ถึงขั้นหายใจไม่ออกจนต้องเข้า ICU แต่ปัจจุบันสามารถอยู่ร่วมกับมันได้ จากที่ไม่เคยใช้บันไดขึ้นชั้น 2 ของบ้านมาร่วม 5-6 ปี ปัจจุบันสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ ต้องค่อยๆเริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง เช่น การจุดธูปโดยไร้ควัน หรือการดูแลตัวเอง เช่น ออกกำลังกาย ตีปิงปอง จากน้ำหนัก 60 เหลือ 48 ก.ก. ทำจิตใจให้แจ่มใสอยู่เสมอ ไม่เครียด ที่สำคัญอย่าท้อ เพราะเราเอาชนะโรค และอยู่ร่วมกับโรคนี้ได้ .-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน

วัยรุ่นซิ่งเบนซ์เสียหลักพุ่งเหินฟ้าคารถ 6 ล้อ

รอดตายปาฏิหาริย์! วัยรุ่นซิ่งเบนซ์เสียหลัก ก่อนพุ่งเหินฟ้าติดคาบนรถ 6 ล้อ พลเมืองดีเข้าช่วยเหลือออกมาจากรถ ปลอดภัย

กกต.สั่งเอาผิดอาญา “ชวาล” สส.ปชน. ยื่นบัญชีใช้จ่ายเท็จ

กกต.สั่งดำเนินคดีอาญา “ชวาล” สส.ปชน. ยื่นบัญชีค่าใช้จ่ายเลือกตั้งไม่ตรงความเป็นจริง โทษหนักทั้งจำคุก-ตัดสิทธิ 5 ปี

ข่าวแนะนำ

ฉายารัฐบาลปี67

สื่อทำเนียบฯ ตั้งฉายา ปี 67 “รัฐบาล(พ่อ)เลี้ยง”

สื่อทำเนียบฯ ตั้งฉายา ปี67 “รัฐบาล(พ่อ)เลี้ยง” ฉายานายกฯ “แพทองโพย” ด้าน 7 รัฐมนตรีติดโผ “บิ๊กอ้วน-อนุทิน-ทวี” พ่วง 3 รัฐมนตรีโลกลืม ส่วนวาทะแห่งปี “สามีเป็นคนใต้”

เลือกตั้ง อบจ.อุบลฯ

“กานต์ กัลป์ตินันท์” ชนะเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ

“กานต์ กัลป์ตินันท์” ชนะเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี พร้อมขอบคุณคนเสื้อแดง และนายทักษิณ ชินวัตร ที่ช่วยผลักดัน

ฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ส่งสุขรับปีใหม่

ส่งความสุขรับปีใหม่ กับฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ศิลปินลูกทุ่งเกือบ 100 ชีวิต ร่วมโชว์จัดเต็ม

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน