สำนักข่าวไทย 2 พ.ค. – รองอธิบดีกรมควบคุมโรค ย้ำ ตัวเลขผู้ป่วยที่ลดลงต่อเนื่อง ไม่ใช่เครื่องการันตีขจัดโควิด-19หมดไป และยังไม่ใฝช่นาทีฉลองชัย ห่วงการเดินทางข้ามจังหวัดทำให้คนเสี่ยงติดโรค เพราะโควิด-19ไม่แสดงอาการรุนแรง บางคนคล้ายไข้หวัด แนะเป็นอำนาจผู้ว่าราชการจังหวัดออกประกาศควบคุมผู้เดินทางมาจากจังหวัดเสี่ยงสูง เช้น ภูเก็ต-กทม ต้องกักตัว แยกตนเองไม่คลุกคลีคนอื่นเพื่อความปลอดภัย
นายแพทย์ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า วันนี้ตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่ของไทย พบแค่ 6 คน ลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่วนใหญ่เป็นการป่วยและติดเชื้อจากกลุ่มคนป่วยเดิม และ สามารถตรวจค้นหาผู้ป่วยรายได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งปัจจัยที่ทำให้ไทย มีอัตราการป่วยโควิด-19 ลดลง ต่อเนื่อง มาจากความร่วมมือของประชาชนในการชะลอโรค ประกอบกับการพบผู้ป่วยแต่ต้นจากมาตรการ ที่นำผู้ป่วยมาเฝ้าระวังในสถานพยาบาล และสถานที่รัฐจัดหาให้ทำให้ผู้ป่วยที่มีอาการน้อยอยู่ในความดูแลอย่างรวดเร็ว และเมื่อมีอาการรุนแรงก็ได้รับการรักษาอย่างทันถ่วงที ประกอบมการมีใช้ยาต้านไวรัส ทำให้ สถานการณ์ในวันนี้ดีขึ้น แต่ไม่การันตีว่า จะไม่มีโอกาสพบจำนวนผู้ป่วยจำนวนมากขึ้นอีกครั้ง เพราะไม่สามารถขจัดโรคนี้ให้หมดไปได้ มาตรการที่ต้องไม่ตกเลยจากนี้ หลังมีการเปิดเมือง คือ 1. การตรวจค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ ในชุมชน ที่มีอาการน้อยให้ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว เพราะคนกลุ่มนี้อาจคิดว่า ตนเองป่วยเป็นแค่ไข้หวัดธรรมดา จึงไม่มาหาแพทย์ เหมือนที่กรณี ภูเก็ต และกระบี่ ที่ มีผู้ป่วย ที่มีอาการน้อย หลงเหลืออยู่ในชุมชน เพราะมิเช่นนั้นจะซ้ำรอย ต่างประเทศ และต้องกลับมาปิดเมืองซ้ำอีก รอบ 2 และ 2 มาตรการระยะห่างทางสังคม ยังต้องเข้มข้น ประชาชนทั่วไปต้องสวมหน้ากากอนามัย ก่อนออกจากบ้าน หมในล้างมือ มีระยะห่างทางสังคม 1-2 เมตร งดการทำกิจกรรมเป็นกลุ่มก้อน เช่นการ สังสรรค์ ดื่มกินเป็นกลุ่ม ยังต้องงดอยู่ กลุ่มเสี่ยง คนสูงอายุ คนอ้วน ที่มีค่าดัชนีมวลกายมากถึง 35 คนป่วยเบาหวาน ปอด ไต ไม่ควรออกจากบ้าน เพราะเสี่ยงได้รับเชื้อได้ง่าย ส่วนสมาชิกในบ้านออกไปในบ้านกลับมาต้องระวังตนเองไม่ใกล้ชิดคนกลุ่มนี้ เพื่อไม่แพร่โรค เพราะกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้มักมีอาการรุนแรง
นายแพทย์ธนรักษ์ กล่าวว่า สำหรับจังหวัดที่มีความเสี่ยงสูง และพบว่า มีการเดินทางข้ามจังหวัด อย่างกรณีจังหวัดภูเก็ต เชื่อว่า ยังมีผู้ป่วยหลงเหลือ อยู่บ้าง ดังนั้น คนในจังหวัดภูเก็ตที่ต้องการเดินทางไปในพื้นที่อื่น ต้อง มีการแยกตัวออกจากผู้อื่น อย่างน้อย 14 วัน สวมหน้ากากอนามัย ป้องกันตนเอง สังเกตอาการ เพื่อป้องกันตนเองและบุคคลอื่น ทั้งนี้ การป้องกันการเดินทางข้ามจังหวัดในรูปแบบนี้ เป็นอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัดแต่ละจังหวัด สามารถออกประกาศ ห้ามหรือ ป้องกันโดยให้ผู้ที่เดินทางมาจากจังหวัดเสี่ยงสูง ได้แก่ ภูเก็ต หรือ กทม.ให้แยกตัวเอง งดการสังสรรค์กับผู้อื่น เพราะต้องเข้าใจโรคโควิด-19 แสดงอาการน้อย บางครั้งไม่แสดงอาการแต่สามารถแพร่โรคได้ คนที่เราเป็นทำกิจกรรมด้วย จะได้รับความเสี่ยงนั้นแทน ดังนั้นต้องป้องกันผู้อื่น และตนเอง ไม่ควรประมาท ต้องสวมหน้ากากอนามัย โดยการประเมินจังหวัดหรือพื้นที่เสี่ยงสูงดูได้จากการไม่พบผู้ป่วยเป็นเวลา 14 วัน
นายแพทย์ธนรักษ์ กล่าวย้ำกว่า นาทีนี้ยังไม่ใช่นาทีฉลองชัย ยังต้องเฝ้าระวังตนเองต่อไปก่อน ความเสี่ยงของการเกิดโรคโควิดได้ แปรผันตามระยะห่างระหว่างบุคคล หากรู้ตัวเองไปในสถานที่เสี่ยงต้องแยกตัว ออกจากกลุ่มเสี่ยง เพราะคนในบ้านมีโอกาสติดเชื้อ .-สำนักข่าวไทย