ศาลเผยสถิติคดีผู้กระทำผิดฝ่าฝืน พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ในสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19

กรุงเทพฯ 10 เม.ย.- เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม เผยสถิติคดีผู้กระทำผิดฝ่าฝืน พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ในสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 พร้อมบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด แต่ไม่ละเลยสิทธิและเสรีภาพของจำเลย 


นายสราวุธ เบญจกุล เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม เปิดเผยข้อมูลสถิติคดีความผิดตามพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 และพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 ที่เข้าสู่การพิจารณาของศาลชั้นต้นทั่วประเทศ ซึ่งศูนย์ข้อมูลคดี สำนักแผนงานและงบประมาณ สำนักงานศาลยุติธรรม ได้รวบรวมสถิติคดีดังกล่าวภายหลังรัฐบาลประกาศเคอร์ฟิว ห้ามบุคคลใดออกนอกเคหสถานระหว่างเวลา 22.00 น. ถึงเวลา 04.00 น. โดยไม่มีความจำเป็น ตั้งแต่เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2563 ที่ผ่านมา เพื่อลดการสัญจรของพี่น้องประชาชนและเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมการระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่หรือโควิด-19  โดยพบว่าในวันที่ ๙ เมษายน ๒๕๖๓ มีสถิติคดีผู้กระทำความผิด ดังนี้

กลุ่มศาลอาญา ศาลจังหวัด และศาลแขวง  จำนวนคดีที่ขึ้นสู่การพิจารณา ทั้งหมด 1,213 คดี จำนวนคดีที่พิพากษาแล้วเสร็จ ทั้งหมด 1,113 คดี (คิดเป็นร้อยละ 91.76) ข้อหาที่มีการกระทำความผิด 3.1) พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 จำนวน 1,312 คน  (สัญชาติไทย 1,245 คน / สัญชาติอื่น 67 คน) 3.2) พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 จำนวน 27 คน  (สัญชาติไทย 22 คน / สัญชาติอื่น 5 คน) 


จังหวัดที่มีผู้กระทำความผิด สูงสุด 3 อันดับ ในแต่ละข้อหา

 4.1) พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 อันดับ 1 จังหวัด กรุงเทพมหานคร จำนวน 111 คน อันดับ 2 จังหวัดนนทบุรี จำนวน   87 คน อันดับ 3 จังหวัด นครราชสีมา  จำนวน   65 คน

4.2) พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 อันดับ 1 จังหวัด ชลบุรี จำนวน  16 คน อันดับ 2 จังหวัด สมุทรสาคร จำนวน  5 คน อันดับ 3 จังหวัด สระแก้ว  จำนวน    2 คน


กลุ่มศาลเยาวชนและครอบครัว    1. จำนวนคำร้องที่ขอตรวจสอบการจับ รวมทั้งสิ้น 76 คำร้อง   2. ข้อหาที่เข้าสู่การตรวจสอบจับกุม ได้แก่ พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 จำนวน 80 คน (สัญชาติไทย 75 คน / สัญชาติอื่น 5 คน) 3. ผลการตรวจสอบการจับ ชอบด้วยกฎหมาย จำนวน 80 คน

ในส่วนของภาพรวมสถิติคดีสะสมภายหลังประกาศเคอร์ฟิว 7 วัน (3 – 9 เมษายน 2563) มีดังนี้

กลุ่มศาลอาญา ศาลจังหวัด และศาลแขวง  

1.  จำนวนคดีที่ขึ้นสู่การพิจารณา ทั้งหมด 5,071 คดี

2.  จำนวนคดีที่พิพากษาแล้วเสร็จ ทั้งหมด 4,830 คดี (คิดเป็นร้อยละ 95.19)

3.  ข้อหาที่มีการกระทำความผิด

3.1) พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 จำนวน 5,504 คน  (สัญชาติไทย 5,197 คน / สัญชาติอื่น 307 คน)

3.2) พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558  จำนวน 40 คน  (สัญชาติไทย 35 คน / สัญชาติอื่น 5 คน)

3.3) พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 จำนวน 1 คน  (สัญชาติไทย 1 คน / สัญชาติอื่น  –  คน)

4.  จังหวัดที่มีผู้กระทำความผิด สูงสุด 3 อันดับ ในแต่ละข้อหา

4.1) พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548  อันดับ 1 จังหวัด กรุงเทพมหานคร จำนวน  334 คน อันดับ 2 จังหวัด ปทุมธานี จำนวน  303 คน อันดับ 3 จังหวัด ภูเก็ต จำนวน  255 คน

4.2) พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 อันดับ 1 จังหวัด ชลบุรี จำนวน    19 คน อันดับ 2 จังหวัด สมุทรสาคร จำนวน    11 คน อันดับ 3 จังหวัด บุรีรัมย์ จำนวน      3 คน

4.3) พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 ได้แก่ จังหวัด นราธิวาส จำนวน 1  คน

กลุ่มศาลเยาวชนและครอบครัว

1. จำนวนคำร้องที่ขอตรวจสอบการจับ รวมทั้งสิ้น 322 คำร้อง

2. ข้อหาที่เข้าสู่การตรวจสอบจับกุม

2.1) พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548  จำนวน 326 คน (สัญชาติไทย 315 คน / สัญชาติอื่น 11 คน)

2.2) พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 จำนวน 3 คน (สัญชาติไทย 3 คน / สัญชาติอื่น  –  คน)

3. ผลการตรวจสอบการจับ จำนวน 331 คน

3.1) ชอบด้วยกฎหมาย จำนวน 329 คน

3.2) ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำนวน 2 คน

เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม กล่าวเพิ่มเติมว่า ในการใช้ดุลพินิจลงโทษจำเลยผู้ฝ่าฝืน พรก. ฉุกเฉิน นั้น แม้ว่าศาลจะคำนึงถึงสถานการณ์ความปลอดภัยสาธารณะในช่วงนี้ แต่ก็ไม่ละเลยสิทธิและเสรีภาพของจำเลย ศาลจะบังคับใช้กฎหมายอย่างถึงที่สุดหรืออาจจะกักขังในเคหะสถานโดยติดกำไลข้อเท้าอิเล็กทรอนิกส์ (EM) เพื่อกำกับและติดตามความประพฤติตามคำสั่งศาล ซึ่งที่ผ่านมา ส่วนควบคุมการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับตรวจสอบหรือจำกัดการเดินทางของบุคคลผู้ได้รับการปล่อยชั่วคราวโดยศาล หรือ “ศูนย์ EM” ได้มีการจัดเวรผู้ปฏิบัติงานในศูนย์ช่วงเวลากลางคืนทำการตรวจสอบผู้สวมใส่กำไลข้อเท้าอิเล็กทรอนิกส์ (EM) และได้ตรวจสอบพบว่า ในช่วงระหว่างวันที่ 5 – 9 เมษายน 2563 เวลา 22.00 – 4.00 น. มีผู้สวมใส่กำไลข้อเท้าอิเล็กทรอนิกส์ (EM) ใช้ความเร็วในการเคลื่อนไหวเกิน 40 กิโลเมตร/ชั่วโมง จำนวนทั้งสิ้น 143 คน ซึ่งถือเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของศาล ซึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จึงอยากย้ำเตือนให้พี่น้องประชาชนเคารพกฎหมายอย่างเข้มงวด โดยเฉพาะช่วงที่มีการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และในสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งทุกคนต้องร่วมมือกันในการช่วยลดเชื้อเพื่อหยุดโรค.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เครื่องบินภูเก็ตมุ่งหน้ามอสโก ขอลงจอดฉุกเฉินที่สุวรรณภูมิ

เที่ยวบิน 777-300ER สายการบิน Aeroflot ขึ้นจากภูเก็ตไปมอสโก เตรียมลงสุวรรณภูมิ หลังบินวนกลางทะเลอันดามันหลายชั่วโมง จากปัญหาระบบลงจอดขัดข้อง

ไข้หวัดใหญ่ระบาด

ไข้หวัดใหญ่ระบาดในสหรัฐ-เสียชีวิตแล้ว 13,000 ราย

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐ หรือซีดีซี รายงานว่า พบผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ในฤดูกาลนี้อย่างน้อย 24 ล้านคนแล้วทั่วสหรัฐ

ตัดไฟเมียนมา

มาตรการตัดไฟเมียนมาได้ผล กลุ่มเว็บพนันปลดพนักงานแล้วกว่าร้อยคน

มาตรการตัดไฟเมียนมาได้ผล กลุ่มเว็บพนันออนไลน์และกลุ่มสแกมเมอร์ที่จังหวัดท่าขี้เหล็ก ประเทศเมียนมา ปลดพนักงานแล้วกว่า 100 คน เนื่องจากขาดแคลนกระแสไฟฟ้า ทำให้พนักงานทยอยเดินทางออกจากท่าขี้เหล็ก กลับมาทางด่าน อ.แม่สาย จ.เชียงราย อย่างต่อเนื่อง

ข่าวแนะนำ

เข้มทางบก แก๊งลักลอบเข้าเมือง หนีไปทางน้ำ

หลังมาตรการ Seal Stop Safe ชายแดนของรัฐบาล ซึ่งเริ่มตั้งแต่ 30 มกราคม เพื่อเข้มงวด ตั้งจุดตรวจ จุดสกัดตามเส้นทางต่างๆ พบขบวนการลักลอบเข้าเมืองด้านชายแดนกาญจนบุรี ซึ่งฝั่งตรงข้ามคือ เมืองพญาตองซู ของเมียนมา เลี่ยงไปใช้เส้นทางน้ำแทน

ทองไทยใกล้เป้าหมายบาทละ 5 หมื่น

ทองไทยเข้าภาวะกระทิง เปลี่ยนแปลงคึกคักวันนี้ (11 ก.พ.) ปรับเปลี่ยน 27 รอบ เข้าใกล้ 48,000 บาทต่อบาททองคำ มองเป้าหมายถัดไปที่ 50,000 บาทต่อบาททองคำ ด้านสภาทองคำโลก ชี้การซื้อทองเป็นการลงทุนมากกว่าการใช้เป็นเครื่องประดับ ประเทศไทยก้าวขึ้นเป็นตลาดทองคำที่แข็งแกร่งในปี 67 สูงเป็นอันดับ 7 ของโลก