ปฏิบัติการรวมพลังพลเมืองตื่นรู้ ช่วยชาติสู้ภัยโควิด-19

สช.3 เม.ย..-สช.จัดเสวนา”ปฏิบัติการรวมพลังพลเมืองตื่นรู้ ช่วยชาติสู้ภัยโควิด19” เป้าหมายลดการระบาดของโควิด-19 ด้วยการขับเคลื่อนของพลังประชาชน ให้มีข้อตกลงของชุมชน หรือมีธรรมนูญตำบลเกิดขึ้น  ให้ทั่วถึงทุกพื้นที่ทั่วประเทศ


สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.)จัดเสวนา”ปฏิบัติการรวมพลังพลเมืองตื่นรู้ ช่วยชาติสู้ภัยโควิด19” เป้าหมายลดการระบาดของโควิด-19 ด้วยการขับเคลื่อนของพลังประชาชน ให้ทั่วถึงทุกพื้นที่ทั่วประเทศแนวคิด  รวมพลังแล้วเราจะผ่านวิกฤตไปด้วยกัน เป้าหมายลดการระบาด


นพ. สำเริง แหยงกระโทก ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข    กล่าวว่า การต่อสู้ โควิด-19ในแนวราบ   คือการขับเคลื่อนประชาชนให้ ตื่นรู้ในระดับตำบล โดยการมีข้อตกลงของชุมชนเกิดขึ้น หรือมีธรรมนูญตำบล ที่อยากให้เกิดขึ้นทุกตำบล ”เช่นมีการเคาะประตูให้ความรู้ หรือตรวจจับผู้ฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน อย่างเข้มงวด เป็นต้น”

นพ. ประทีป ธนกิจเจริญ  เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า ขณะนี้ไวรัสกำลังเดินทางเข้าสู่ชุมชน หมู่บ้าน ซึ่งมีกลุ่มเปราะบางอยู่คือผู้สูงอายุและเด็กเล็ก ที่หากติดเชื้อจะเป็นภาร การรักษา  และมีโอกาสเสียชีวิตสูง ดังนั้นในพื้นที่ต้องมีมาตรการรองรับเร่งด่วน ที่ต้องการการรวมตัวกันอย่างเป็นระบบ   อย่างน้อยต้องมีการจัดระบบข้อมูลการรับรู้ของประชาชนให้ถูกต้อง/ระบบดูแลกลุ่มผู้แพร่เชื้อ ทั้งกักกันและช่วยเหลือ   /มาตรการดูแลผู้สูงอายุและเด็ก/การรักษาอนามัยส่วนบุคคลและครอบครัว/การช่วยเหลือผลกระทบทางเศรษฐกิจ     โดยระบบต้องแบ่งหน้าที่ชัดเจน ทั้งครอบครัว กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน  ซึ่งเชื่อมั่นว่าระบบเหล่านี้จะสามารถ นำพาไทยพ้นไวรัสได้  


นายทวี  เสริมภักดีกุล รองอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น   กล่าวว่า พร้อมสนับสนุนส่งเสริมการป้องกันการแพร่ระบาดของ โควิด- 19  ที่เห็นชัดคือการจัดทำหน้ากากผ้าทางเลือก ที่ภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน   ร่วมกันขับเคลื่อนขณะนี้ทำได้ไปถึง 47,000,000ชิ้นแล้ว  ขณะที่ เจ้าหน้าที่องค์กรท้องถิ่น ทั้งนายก อปท. ปลัด อปท. ก็ได้รับงบประมาณสนับสนุนในการเข้าไปดูแล ชุมชนนั้นๆ เช่นอุปกรณ์ทางการแพทย์ ค่าอาหารสำหรับบุคคลที่ถูกกักตัว    และยังมีหน้าที่สนับสนุนหาโรงพยาบาลสนาม กรณีโรงพยาบาลรับผู้ป่วยได้จำกัด

นพ.จักรกฤช โง้วศิริ รองเลขาธิการ  สปสช.ชี้ ได้ออกหนังสือแจ้งให้กรรมการกองทุนสุขภาพตำบล เพื่อให้ท้องถิ่นสามารถกันเงินไว้ใช้ ในกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรคได้เช่น การจัดทำหน้ากากผ้า เจลแอลกอฮอล์   หรือ เครื่องเทอร์โมสแกน รวมทั้งการติดตามเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง ที่อาจมีผู้ติดเชื้อที่เดินทางมาจากกรุงเทพมหานคร  ล่าสุดมี องค์กรท้องถิ่น 2000 กว่าแห่ง  นำงบประมาณไปใช้ในกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรคแล้วกว่า 200ล้านบาท 

สภาองค์กรชุมชนโดย  นายปฏิภาณ ชุมผา รองผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน   เปิดเผยว่างบประมาณ 1,121ล้านบาท ที่กระจายอยู่ในกองทุนต่างๆเช่นบ้านมั่นคง  จะสามารถนำมาช่วยแก้ปัญหาโควิด-19 ได้ด้วยการ ปรับแผนเดิม ให้ สอดคล้องกับบริบทควบคุมป้องกันโรค ให้แต่ละพื้นที่ออกแบบการทำงาน    โดยรายงานความคืบหน้าทุกสัปดาห์ 

นพ. นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ คณบดีวิทยาลัยแพทยศาสตร์ และการสาธารณสุขมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี   ย้ำเป้าหมาย ของการต่อสู้โควิด-19   คือต้องลดจำนวนผู้ติดเชื้อลง ให้ได้อย่างรวดเร็ว  ขณะนี้มี8-9อำเภอในอีสานใต้ที่มีผู้ติดเชื้อ การป้องกันไม่ให้ระบาด  ต้องให้ตำบลนั้นๆตระหนักถึงการที่ผู้ติดเชื้อต้อง Home quarantineอย่างไรในพื้นที่ได้ โดยไม่ต้องปิดบังซ่อนเร้นและต้องทำ   social distancing อย่างเข้มงวด เพื่อไม่ให้ภายในเดือนเมษายนนี้ กราฟผู้ติดเชื้อของไทยไม่พุ่งชัน กระบวนการทำในระดับ จังหวัดต้องประสานกับ สปสช. เขต   เพื่อกระตุ้นให้กองทุนสุขภาพตำบล ที่มีเงินค้างท่อ คิดกิจกรรม ควบคุมการระบาด ทั้งงานบุญงานบวชมีวิธีปฏิบัติตัวอย่างไร ตลาดร้านค้าการพบปะกันทำอย่างไร

 “ คนที่เดินทางมาจากกรุงเทพกลับบ้านที่ต่างจังหวัดตกงานมา ลำพังเงิน 5000บาท 3 เดือนไม่พอกินพอใช้ ต้องมีการฝึกอาชีพ ทำการเกษตรต้องมีการสร้างมิติใหม่ให้คนอีสานใต้กลับมาสร้างงานสร้างความเจริญในพื้นที่ ประการดำรงชีวิตที่เหมาะสม จะเปลี่ยนวิกฤตโควิด 19 ให้คนเหล่านี้ได้”นพ.นิรันดร์กล่าว

  ด้าน นพ. ปรีดา แต้อารักษ์     รองเลขาธิการ คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ มองว่า จุดสำคัญคือการจะบูรณาการในพื้นที่อย่างไร  เพื่อให้เสริมพลังงาน กันอย่างจริงจัง ต้องจัดวงปรึกษาหารือที่ไม่จำกัดรูปแบบและวิธีการ เวลา และสถานที่ และเครื่องมือที่ใช้ เช่นใช้วีดีโอคอล/ LINEกลุ่ม/ หรือ Facebook ให้มีประสิทธิภาพ โดย สช. มีคู่มือ และสื่อต่างๆ ให้ทุกพื้นที่นำไปใช้ เป็นการรับฟังความเห็นแลกเปลี่ยน2ทิศทางนำมาสู่ฉันทามติได้  สช. ยังมีการจัดทำศูนย์ประสานปฏิบัติการรวมพลังพลเมืองตื่นรู้ /มีฐานข้อมูลกลางสำหรับเรื่องโควิด-19 ให้นำไปใช้  รวมทั้งมีผู้ประสานงานทุกเขตในพื้นที่ให้ติดต่อ รวมทั้งมีพี่เลี้ยงให้ พื้นที่สามารถ ทำฉันทามติ ได้อย่างเหมาะสม.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เพลิงไหม้ห้องพักคอนโดฯ หรูกลางเมืองพัทยา

เพลิงไหม้คอนโดมิเนียมหรูกลางเมืองพัทยา จ.ชลบุรี เจ้าหน้าที่ระดมรถน้ำควบคุมเพลิงได้ทัน ทำให้ไฟไม่ลุกลามห้องข้างเคียง

จับ “ใบเฟิร์น” อินฟลูฯสาวชื่อดัง โพสต์ชวนเล่นพนันออนไลน์

ตำรวจไซเบอร์ รวบ “ใบเฟิร์น กุลธาดา” อินฟลูฯ สาวแนวเซ็กซี่ ผู้ติดตามหลักล้าน แปะลิงก์เว็บพนันออนไลน์ เจ้าตัวยอมรับ ทำมาแล้ว 2-3 เดือน

ลิงลพบุรีแหกกรง กว่า 200 ตัว จ่าฝูงนำทีมบุกโรงพัก

ลิงลพบุรีกรงแตก เพ่นพ่านกว่า 200 ตัว จ่าฝูงนำทีมบุกโรงพักท่าหิน ตำรวจปิดประตูหน้าต่างวุ่น ล่าสุดกลับมากินอาหารในกรงแล้วกว่า 100 ตัว กรมอุทยานฯ เร่งลุยจับ คาดใช้เวลา 2-3 วัน

ข่าวแนะนำ

อุตุฯ เผยไทยตอนบน อุณหภูมิลดลง 1-2 องศาฯ

กรมอุตุฯ เผยประเทศไทยตอนบนอุณหภูมิลดลง 1-2 องศาฯ กับมีลมแรง โดยมีอากาศเย็นในตอนเช้าในภาคเหนือและภาคอีสาน ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลง

คุมตัวสาวใหญ่โหดฆ่าตัดนิ้วชิงทรัพย์ทำแผนฯ

ตร. คุมตัวสาวใหญ่โหด ลวงเพื่อนฆ่าตัดนิ้วชิงทรัพย์ ไปทำแผนประกอบคำรับสารภาพ เจ้าตัวสำนึกผิด ฝากขอโทษญาติผู้เสียชีวิต ยอมรับทำเพราะติดหนี้พนันออนไลน์

Drone video captures severe flooding caused by super typhoon Man-Yi in the Philippines

ฟิลิปปินส์น้ำท่วมหนัก หลังไต้ฝุ่น “หม่านหยี่” ถล่ม

มะนิลา 18 พ.ย. – ฟิลิปปินส์เกิดน้ำท่วมรุนแรงในหลายพื้นที่ หลังจากซูเปอร์ไต้ฝุ่นหม่านหยี่ (Man-yi) พัดถล่มเกาะลูซอน ช่วงสุดสัปดาห์ เป็นไต้ฝุ่นลูกที่ 6 ในรอบ 1 เดือน ไต้ฝุ่นขึ้นฝั่งด้วยความเร็วลมสูงสุด 240 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทำให้เกิดคลื่นสูง 7 เมตรบริเวณริมชายฝั่ง ส่งผลกระทบประชากรกว่า 760,000 คน และทำให้เกิดน้ำท่วมรุนแรงในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะที่จังหวัดนูเอวาเอซีฮา ทางตอนกลางของเกาะลูซอน ที่มีน้ำท่วมสูงเฉลี่ยเกือบ 1 เมตร นอกจากนี้ยังทำให้เกิดดินถล่มและสาธารณูปโภคพังเสียหายมากมาย ประชาชนมากกว่า 1 ล้านคนต้องอพยพไปอาศัยอยู่ในศูนย์พักพิงชั่วคราว ขณะนี้ยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ พายุหม่านหยี่เป็นพายุไต้ฝุ่นลูกที่ 6 ที่พัดถล่มฟิลิปปินส์ในช่วง 1 เดือน ทั่วทั้งประเทศต้องตื่นตัวเพื่อรับมือภัยพิบัติด้วยมาตรการต่าง ๆ.-812(814).-สำนักข่าวไทย