เทพไท หนุนเปิดประชุมสมัยวิสามัญถกปัญหาโควิด-19

กทม. 8 มี.ค.-เทพไทจี้รัฐ ตัดสินใจนำปัญหา โควิด-19และสถานการณ์การเมืองเข้าสู่สภา โดยเปิดประชุมสมัยวิสามัญ หวั่นอำนาจนอกระบบจะกลับมา


นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวใจความว่า ท่ามกลางสถานการณ์ทางการเมืองที่ร้อนแรง และ มีปัญหาต่างๆมากมายคอยรุมเร้ารัฐบาล นับตั้งแต่เสียงเรียกร้องให้มีการปรับคณะรัฐมนตรี  การชุมนุมของนิสิตนักศึกษา ปัญหาการแพร่เชื้อไวรัสโควิด-19 และกระแสเสียงสนับสนุนจากกองเชียร์ลดน้อยถอยลงเป็นลำดับ ซึ่งรัฐบาลต้องรีบเร่งปรับเปลี่ยนวิธีคิดหรือแนวทางการทำงานใหม่ เพราะหากไม่แก้ปัญหาในเชิงรุก ก็ต้องกลับมาเป็นฝ่ายตั้งรับ ทั้งนี้มีข้อเสนอให้รัฐบาลเป็นเจ้าภาพในการเปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญ เพื่อนำปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในขณะนี้ มาพูดคุยอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งความหวังเรื่องการเปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญ เพื่อรับฟังปัญหาและข้อเสนอของสมาชิกรัฐสภานั้น ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของฝ่ายรัฐบาลเท่านั้น เพราะการเปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญ ตามมาตรา123 ต้องใช้เสียง1ใน3ของสมาชิกรัฐสภา คือ250คน จะมีแต่สมาชิกฝ่ายรัฐบาล กับสมาชิกวุฒิสภาเท่านั้น ที่จะใช้เสียง1ใน3เข้าชื่อยื่นต่อประธานรัฐสภา เพื่อขอให้เปิดสภาสมัยประชุมวิสามัญได้ ส่วนสมาชิกพรรคร่วมฝ่ายค้านหมดสิทธิ์ที่จะใช้เงื่อนไขตามมาตรา123 เพราะฝ่ายค้านในขณะนี้มีเสียงประมาณ230เสียงเท่านั้น 

นายเทพไท ยังเห็นว่า การใช้ช่องทางตามมาตรา165 เป็นสิทธิของรัฐบาลโดยตรง ที่จะใช้โอกาสนี้เปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญ เพื่อให้มีการอภิปรายทั่วไปเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากสมาชิกรัฐสภาโดยไม่มีการลงมติ แต่ถ้าสำรวจดูจากท่าทีของฝ่ายรัฐบาลก็ยังไม่มีวี่แววว่ามีความต้องการจะให้มีการเปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญ ซึ่งเห็นได้จากการส่งสัญญาณจากประธานวิปรัฐบาล ที่ส่งข้อความห้าม ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาล ลงชื่อในญัตติการเปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญอย่างชัดเจน ส่วนการออกมาปฎิเสธว่าไม่มีการห้าม ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาลลงชื่อนั้นก็ไม่เป็นความจริง เพราะในหมู่สมาชิกพรรคร่วมรัฐบาลเป็นที่รับรู้กันทุกคนว่า รัฐบาลไม่ต้องการให้มีการเปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญ ส่วนการที่มีข้อเสนอให้นำปัญหาที่เกิดขึ้นเข้าสู่การแก้ปัญหาผ่านคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาผู้แทนราษฎรนั้น เป็นการแก้ปัญหาไม่ถูกจุด เกาไม่ถูกที่คัน เพราะหลายปัญหาเป็นปัญหาการเมือง ต้องระดมความคิดจากหลายๆฝ่าย และต้องมีคณะกรรมาธิการวิสามัญเป็นการเฉพาะโดยตรงจะเหมาะสมกว่า 


 นายเทพไท ระบุอีกว่า เมื่อสถานการณ์บ้านเมืองเดินมาถึงตอนนี้แล้ว ก็เป็นทางเลือกของรัฐบาลในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ว่ารัฐบาลจะนำปัญหาทั้งหมดที่เกิดขึ้นนำเข้าสู่รัฐสภาเพื่อแก้ปัญหาในระบบ หรือจะปล่อยให้ปัญหาที่เกิดขึ้นกระจัดกระจายอยู่บนท้องถนน แก้ปัญหากันไปตามยถากรรม ซึ่งจะเป็นการล่อแหลม และสุ่มเสี่ยงต่อการกลับมาของอำนาจนอกระบบ.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง