ห่วงฝุ่น PM 2.5 กระทบเศรษฐกิจมหาศาล

กรุงเทพฯ  23 ม.ค. – นักเศรษฐศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ระบุมลพิษฝุ่น PM 2.5 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างมาก คำนวณจากต้นทุนความเสียหายทางสังคมตามหลักเศรษฐศาสตร์ ประชากรเจ็บป่วย ตายก่อนวัยอันควร จำนวนนักท่องเที่ยวลด แนะวางมาตรการทั้งระยะสั้น-ยาวแก้ปัญหา โดยเน้นสร้างแรงจูงใจทางบวกที่ได้ผลมากกว่าการบังคับ


นายวิษณุ อรรถวาณิช อาจารย์คณะเศรษฐศาตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า ไทยเป็นประเทศหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เผชิญปัญหามลพิษทางอากาศมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะจากฝุ่นละอองขนาดเล็กที่ทวีความรุนแรงขึ้น มีผลการศึกษาความเสียหายของมลพิษทางอากาศต่อสุขภาพในต่างประเทศได้มีการศึกษาไว้ ได้แก่ บราซิลพบว่าการเผาไร่อ้อยจะทำให้ฝุ่นละอองขนาดเล็กขนาด 10 ไมครอน (PM10) เพิ่มขึ้น 26-34% และโอโซน (O3) เพิ่มขึ้น 7-8% ในรัศมี 50 กิโลเมตร และหากมารดาที่กำลังตั้งครรภ์ได้รับมลพิษจากการเผาไร่อ้อยในช่วง 3 เดือนสุดท้ายก่อนคลอดจะทำให้ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักน้อยกว่า 1.5 กิโลกรัม คลอดก่อน 32 สัปดาห์ (น้อยกว่า 8 เดือน) ทารกมีขนาดเล็กกว่าปกติ 12% และเพิ่มอัตราการตายของทารกในครรภ์ (17 คน ใน 1000 คน) ซึ่งลักษณะการเผานี้เกิดขึ้นในไทยเช่นกันเนื่องจากนิยมเผาเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในพืชเศรษฐกิจหลัก ได้แก่ ข้าว อ้อยโรงงาน และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่เพาะปลูกกว่า 85.8 ล้านไร่ ปีเพาะปลูก 2559/2560 พบว่า การเผาในพื้นที่ปลูกข้าวนาปรังและข้าวนาปีมีสูงถึง 57% และ 29% ของพื้นที่เก็บเกี่ยวตามลำดับ ขณะที่พื้นที่ปลูกอ้อยโรงงานและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีการเผาประมาณ 47% และ 34% ของพื้นที่เก็บเกี่ยวตามลำดับ นอกจากนี้ไทยมีผู้เสียชีวิตก่อนวัยอันควรจากมลพิษทางอากาศ 31,173 คน และ 48,819 คน ในปี 2533 และ 2556 ตามลำดับ อีกทั้งมลพิษทางอากาศก่อให้เกิดต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์สูงถึง 210,603 และ 871,300 ล้านบาทในปี 2533 และ 2556 ตามลำดับ 

นายวิษณุ กล่าวว่า ฝุ่นละออง PM 2.5 ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและเป็นสารก่อมะเร็ง ดังนั้น คนไทยจึงต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มจากการรักษาพยาบาล ซื้อเครื่องฟอกอากาศ หน้ากากอนามัย นอกจากนี้ ยังส่งผลลบด้านอื่นโดยเฉพาะการท่องเที่ยว มีการศึกษาผลกระทบของวิกฤติหมอกควันในกรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีนพบว่า นักท่องเที่ยวต่างประเทศมีจำนวนลดลงในช่วงเวลาที่มลพิษทางอากาศรุนแรงและบางรายระงับหรือเลื่อนการท่องเที่ยวตามแผนที่กำหนดไว้ สำหรับประเทศไทยภาคการท่องเที่ยวเป็นกลจักรสำคัญในการสร้างรายได้ให้ประเทศอาจได้รับผลกระทบจากมลพิษทางอากาศเช่นกัน หากระดับมลพิษมีแนวโน้มทรงตัวในระดับสูงต่อไป โดยเฉพาะในช่วงธันวาคมถึงมีนาคมที่มีระดับมลพิษทางอากาศสูงหลายพื้นที่ ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับฤดูกาลท่องเที่ยวของชาวตะวันตกและชาวเอเชีย


นายวิษณุ กล่าวถึงแนวทางแก้ไขปัญหาว่า ไทยต้องให้ความสำคัญด้านการป้องกันและรักษาสิ่งแวดล้อมน้อยมากขึ้น โดยงบประมาณปี 2562 รัฐจัดสรรงบด้านี้คิดเป็นสัดส่วนเพียง 0.4% ต้องเปลี่ยนแปลงค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศให้เข้มงวดขึ้น โดยไทยเริ่มกำหนดค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศปี 2538, 2547, 2550, 2552 และ 2553 และยังไม่มีการปรับปรุงหลังจากนั้น  เก็บภาษีรถเก่าในอัตราที่ต่ำกว่ารถใหม่ ทำให้มลพิษเพิ่มขึ้น เนื่องจากรถเก่ามีการปลดปล่อยมลพิษที่มากกว่ารถใหม่ ต้องมาตรฐานไอเสียและน้ำมันให้สูงขึ้น ไทยมีการใช้มาตรฐานไอเสียและน้ำมันยูโร 4 (EURO4) ในรถบรรทุกขนาดเล็กตั้งแต่ปี 2555 ขณะที่มีการใช้มาตรฐานยูโร 3 (EURO3) ในรถบรรทุกขนาดใหญ่ตั้งแต่ปี 2553 โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง ขณะที่ประเทศอื่น ๆ อาทิ สหภาพยุโรป ฮ่องกง และเกาหลีใต้ ใช้เวลาเพียง 3 ปี และประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนใช้เวลาเพียง 4 ปี ในการยกระดับมาตรฐานไอเสียและน้ำมันจากยูโร 4 เป็นยูโร 5

แม้ว่าที่ผ่านมาประเทศไทยจะมีการใช้มาตรการควบคุมมลพิษทางอากาศและมลพิษอื่น ๆ แต่หากพิจารณาหลาย ๆ มาตรการจะพบว่ามีการใช้ในลักษณะบังคับ (Command and control) ได้แก่ มาตรการห้ามเผาในที่โล่งแจ้ง การใช้มาตรฐานไอเสียและน้ำมัน เป็นต้น ข้อเสียของมาตรการบังคับตามแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์คือ ทำให้เอกชนไม่มีแรงจูงใจในการปรับตัวเพื่อปรับปรุงวิธีการผลิตให้ดีขึ้น ดังนั้น หากภาครัฐไม่มีนโยบายหรือเป้าหมายที่ชัดเจนเรื่องการยกระดับคุณภาพอากาศ เอกชนย่อมไม่มีความพยายามในการปรับตัวเพราะจะทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นและกำไรลดลงเช่น การใช้กลไกภาษีส่งเสริมสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สร้างตลาดให้กับเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เป็นต้น

นายวิษณุ กล่าวต่อว่า ไทยไม่มีหน่วยงานกำกับดูแลที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จและคอยติดตามประเมินผลที่ผ่านมาหน่วยงานที่กำกับดูแล เพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อม คือ กรมควบคุมมลพิษซึ่งไม่มีอำนาจเด็ดขาดในการจัดการกับปัญหาสิ่งแวดล้อม เพราะมักจะเกี่ยวกับกับกระทรวงอื่น ๆ  เช่น หากมีการลักลอบปล่อยมลพิษในโรงงานอุตสาหกรรมขึ้นอยู่กับกระทรวงอุตสาหกรรม ส่วนไอเสียจากรถยนต์ขึ้นกับกระทรวงคมนาคม เป็นต้น 


สำหรับการลดมลพิษจากการเผาในที่โล่งแจ้งภาคเกษตรและป่าไม้ระยะสั้น (ภายใน 1 ปี) มี 6 มาตรการที่ควรนำมาใช้ ได้แก่ 1. ควรส่งเสริมการจัดระเบียบการเผาเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ในสหรัฐอเมริกาหรือออสเตรเลียเกษตรกรรายใดจะเผาไร่ต้องลงทะเบียนแจ้งรัฐก่อน จากนั้นจะมีการทยอยเผาไม่ให้พร้อมกันในครั้งเดียว และจะเผาในช่วงที่อากาศไม่ปิด เป็นต้น และมีบทลงโทษสำหรับผู้ละเมิด 2. สร้างข้อตกลงเพื่อลดการเผาด้วยความสมัครใจร่วมกันระหว่างเกษตรกร ภาคเอกชนผู้รับซื้อผลผลิตทางการเกษตร และรัฐบาล โดยพิจารณาศึกษาประสบการณ์จากประเทศบราซิลซึ่งสามารถลดการเผาอ้อยได้สำเร็จผ่าน “ระเบียบการสีเขียว” (Green Protocol) 3. ควรเพิ่มแรงจูงใจที่เหมาะสมให้กับเกษตรกรที่ไม่เผาผ่านการให้เงินอุดหนุนเนื่องจากการไม่เผามีต้นทุนในการจัดการแปลงมากกว่าการเผา โดยให้คิดว่าเป็นการโอนย้ายผลประโยชน์จากผู้ที่ได้รับประโยชน์จากการไม่เผาไปสู่ผู้ที่เสียประโยชน์ซึ่งก็คือเกษตรกร 4. ควรกำหนดการห้ามเผาในพื้นที่ใกล้ชุมชน 5. ควรบังคับใช้มาตรการห้ามเผาในพื้นที่ป่าไม้อย่างเคร่งครัดพร้อมวางระบบการแจ้งเหตุไฟไหม้ป่าและมีการดับไฟป่าอย่างทันท่วงที พร้อมสร้างฐานข้อมูลที่สามารถแยกแยะได้ว่าไฟเกิดขึ้นในที่ป่าหรือเกษตร 6. ควรส่งเสริมการบริหารจัดการเชื้อเพลิงในพื้นที่ป่าเพื่อลดการเกิดไฟป่า

ระยะกลาง (1-3 ปี) มี 5 มาตรการที่ควรนำมาใช้ ได้แก่ 1. ควรส่งเสริมให้เกษตรกรนำเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาทำปุ๋ยหมักในทุกพื้นที่ พร้อมพิจารณาให้เงินช่วยเหลือเกษตรกรต่อไร่เพื่อชดเชยกับต้นทุนที่ต้องจ่ายเพิ่มกรณีไม่เผา ปัจจุบันทางกระทรวงเกษตรฯ มีโครงการลักษณะแบบนี้อยู่แล้วแต่ได้รับงบประมาณน้อยและพื้นที่ครอบคลุมจำกัดจึงไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างสมบูรณ์ 2. ควรส่งเสริมการสร้างตลาดเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อทำให้เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมีราคา ในทางเศรษฐศาสตร์มลพิษเกิดขึ้นเพราะไม่มีตลาดรองรับเหมือนสินค้าทั่วไป ปัจจุบันฟางข้าวบางส่วนจะถูกมัดเป็นก้อนเพื่อนำไปเป็นอาหารสัตว์ เกษตรกรจะมีรายได้เพิ่มจากการขายฟางข้าว 250-500 บาทต่อไร่ ขณะที่ต้องเสียค่าอัดฟางก้อนประมาณ 150-225 บาทต่อไร่ การทำในลักษณะนี้ยังไม่แพร่หลายทั่วประเทศ มีเฉพาะบางพื้นที่เท่านั้นที่ใกล้กับแหล่งปศุสัตว์ ถ้าขยายตลาดรับซื้อให้ครอบคลุมทั่วประเทศ น่าจะช่วยบรรเทาผลกระทบได้ 3. ควร เร่งส่งเสริมตลาดเช่าซื้อเครื่องจักรกลการเกษตรสมัยใหม่ให้แพร่หลายทั่วประเทศและเกิดการแข่งขัน พร้อมให้ความรู้กับเกษตรกรในการเตรียมแปลงให้พร้อมสำหรับเครื่องจักรกลที่จะนำมาใช้ การส่งเสริมดังกล่าวจะช่วยให้ราคาเช่าบริการเครื่องจักรเพื่อจัดการแปลงและเก็บเกี่ยวอยู่ในระดับที่สมเหตุสมผล 4. ควรส่งเสริมการทำเกษตรผสมผสานแทนการทำเกษตรเชิงเดี่ยวในพื้นที่สูงและลาดชันที่เครื่องจักรกลไม่สามารถเข้าถึงได้ และ 5. ภาคป่าไม้ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนที่อยู่ใกล้ชิดป่าในการดูแลรักษาป่าไม้ไม่ให้ถูกเผาทำลาย 

ส่วน “ผลกระทบภายนอกข้ามพรมแดน” ควรเจรจาขอความร่วมมือและสร้างข้อตกลงร่วมกันกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อลดการเผาเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในที่โล่งแจ้ง พร้อมพิจารณาให้เงินช่วยเหลือควบคู่ไปด้วยเพื่อให้มีโอกาสนำข้อตกลงไปสู่การปฏิบัติ โดยอาจพิจารณาระบุตัวชี้วัดที่ชัดเจน เช่น จำนวนพื้นที่เผาที่ลดลง เป็นต้น สำหรับในระยะกลางและระยะยาว (ตั้งแต่ 1 ปี เป็นต้นไป) ควรพิจารณาเตรียมศึกษาและนำมาตรการกีดกันทางการค้าและการลงทุนที่กระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมแบบค่อยเป็นค่อยไป.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ยิงสส.กัมพูชา

ออกหมายจับชายไทย วัย 41 มือยิง ‘ลิม กิมยา” ดับกลางกรุงเทพฯ

ออกหมายจับชายไทย วัย 41 มือยิง ‘ลิม กิมยา” อดีต สส.ฝ่ายค้านกัมพูชา ดับใกล้วัดดังกลางกรุง พบเหยื่อมีบทบาทในการตรวจสอบรัฐบาลฮุนเซน

ครม.เห็นชอบร่างกฎกระทรวงเพิ่มบุหรี่ไฟฟ้า-บารากู่ไฟฟ้า เป็นของต้องห้าม

ครม. เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดการประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา เพิ่มบุหรี่ไฟฟ้า-บารากู่ไฟฟ้า เป็นของต้องห้าม พร้อมกำหนดบทลงโทษหากพบเข้าไปข้องเกี่ยว

สุดเจ๋ง! นศ.วอศ.เสาวภา-วอศ.สระบุรี ชนะเลิศแข่งขันแกะสลักหิมะนานาชาติ 2025

สุดเจ๋ง! นศ.วอศ.เสาวภา และ วอศ.สระบุรี ชนะเลิศในการแข่งขันแกะสลักหิมะนานาชาติ 2025 ณ เมืองฮาร์บิน สาธารณรัฐประชาชนจีน

ข่าวแนะนำ

ปล่อยตัว “แซม ยุรนันท์” สวมกอดครอบครัว ขอกลับบ้านก่อน

“แซม ยุรนันท์” ได้รับการปล่อยตัวแล้ว สวมกอดครอบครัวด้วยสีหน้ามีความสุข พร้อมขอบคุณสื่อมวลชนที่มาต้อนรับ ขอกลับบ้านก่อน ขอบคุณกระบวนการยุติธรรม

จับแล้วมือยิงอดีต สส.ฝ่ายค้านกัมพูชา ย่านบางลำพู

“ผู้การจ๋อ” ส่ง “สารวัตรแจ๊ะ” นำทัพสืบ บช.น. ร่วมตำรวจกัมพูชา แกะรอยบุกจับ “จ่าเอ็ม” มือยิง “ลิม กิมยา” อดีต สส.ฝ่ายค้านกัมพูชา ถึงพระตะบอง ประเทศกัมพูชา

ปล่อยตัว “มิน พีชญา” หลังอัยการสั่งไม่ฟ้องคดีดิไอคอน ขอบคุณกระบวนการยุติธรรม

ปล่อยตัว “มิน พีชญา” หลังอัยการสั่งไม่ฟ้องคดี “ดิไอคอน” เปิดใจขอบคุณกระบวนการยุติธรรมและทัณฑสถานหญิง ดูแลเป็นอย่างดี ยืนยันบริสุทธิ์ใจตั้งแต่แรก พร้อมเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ซึ่งวันนี้ได้พิสูจน์ตนเองแล้ว

พบ จยย.มือยิงอดีตนักการเมืองกัมพูชาจอดทิ้งปั๊ม คาดได้ตัวเร็วๆ นี้

ตำรวจตรวจพบรถจักรยานยนต์มือยิงอดีตนักการเมืองฝ่ายค้านกัมพูชาแล้ว จอดทิ้งไว้ที่ปั๊มน้ำมันแห่งหนึ่ง บริเวณเลียบด่วนมอเตอร์เวย์ คาดได้ตัวคนร้ายเร็วๆ นี้