ตัวเลข ‘ค่าจ้างใหม่’ ยังไม่เคาะ

ก.แรงงาน 20 พ.ย.-บอร์ดค่าจ้างยังไม่เคาะตัวเลขค่าจ้างใหม่ รอประชุมครั้งต่อไป 6 ธ.ค.นี้ ปลัดแรงงานเผยมีสัญญาณดี เพื่อให้ทันมอบเป็นของขวัญปีใหม่แก่แรงงานทั่วประเทศ 


นายสุทธิ สุโกศล ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการค่าจ้าง (บอร์ดค่าจ้าง) ประชุมคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 20 ครั้งที่ 5/2562 เพื่อพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำปี 2562 ซึ่งคณะกรรมการค่าจ้างตามระบบไตรภาคี ประกอบด้วย ตัวแทนฝ่ายนายจ้าง 5คน ตัวแทนฝ่ายลูกจ้าง5 คนและตัวแทนภาครัฐ 5คน วันนี้มีคณะกรรมเข้าร่วมการประชุมครบทั้ง 3ฝ่าย รวม 15 คน 


ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ที่ประชุมได้นำเสนอกรอบการพิจารณาอัตราค่าจ้าง เช่น ขีดความสามารถในการจ่ายค่าจ้างของนายจ้าง อัตราค่าครองชีพที่ลูกจ้างมีความจำเป็นต้องใช้ในการดำรงชีพ รวมทั้งสูตรในการพิจารณาคำนวณหาอัตราค่าจ้างที่เหมาะสมมาประกอบอย่างรอบ คอบ โดยที่ประชุมได้อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง และเห็นว่าตัวเลขความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจต่างๆในขณะนี้ยังมีอยู่ค่อนข้างมาก รวมทั้งมีปัจจัยแวดล้อมประกอบหลายอย่างที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด  


อย่างไรก็ดีการหาหรือวันนี้เป็นไปอย่างสมานฉันท์ลักษณะของไตรภาคีที่ฟังเหตุผลซึ่งกันและกัน แต่ด้วยเหตุผลของภาวะเศรษฐกิจไทยและโลกดังกล่าว จึงจำเป็นต้องมีการประชุมคณะกรรมการค่าจ้างอีกครั้ง เพื่อพิจารณาตัวเลขอัตราค่าจ้างใหม่ให้ตกผลึก และสามารถชี้แจงได้ว่าตัวเลขการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำของประเทศครั้งนี้เป็นอัตราที่มีความเหมาะสม ละเอียดรอบคอบและเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันสอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติหรือไม่ รวมทั้งอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่นี้ยังจะต้องตอบโจทย์ ทั้งความต้องการของลูกจ้างและนายจ้าง โดยไม่ให้เกิดการเหลื่อมล้ำ ซึ่งการพิจารณาครั้งนี้ก็นำเอาชุดตัวเลขทั้งจากสูตรจังหวัดและจากคณะอนุกรรมการพิจารณากลั่นกรอง ค่าจ้างขั้นต่ำ  ได้เสนอไว้คืออยู่ในกรอบ 2-10 บาท มาพิจารณา นอกจากนี้คณะกรรมการได้นำประเด็นค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภค ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นและเหมาะสมต่ออัตภาพและอื่นๆ ทั้งที่เหมือนกันและแตกต่างกัน ในแต่ละจังหวัด มาพิจารณาอย่างรอบคอบ สำหรับในส่วนของนายจ้างมีข้อเสนอแนะให้ที่ประชุมได้พิจารณาถึงการขึ้นค่าจ้างที่อาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกที่กำลังเป็นปัญหา และขอให้ศึกษาข้อมูลทั้งจากแบงค์ชาติ กระทรวงพาณิชย์และสภาพัฒน์  อย่างละเอียด

อย่างไรก็ตามปลัดกระทรวงแรงงาน ยอมรับว่ามีสัญญาณการขึ้นค่าจ้าง เพื่อให้ทันมอบเป็นของขวัญปีใหม่แก่แรงงานทั่วประเทศ ซึ่งจะเป็นอัตราค่าจ้างเท่าใดนั้นน่าจะเคาะตัวเลขได้ในการประชุมครั้งหน้า  6 ธ.ค.นี้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่ามีข้อมูลจากที่ประชุม ว่ามีตัวเลขการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในเกณฑ์ 5-6 บาท แต่ยังเป็นอัตราที่ไม่เท่ากันทั้งประเทศ

สำหรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำปี 2561 แบ่งเป็น 7 อัตรา คือปรับขึ้นจากเดิมตั้งแต่ 8-22 บาท สูงสุดอยู่ที่ 330 บาทต่อวัน ได้แก่ ภูเก็ต ชลบุรี ระยอง 

ส่วนกรุงเทพฯ ปริมณฑลอยู่ที่ 325 บาทต่อวัน จังหวัดที่ได้ขึ้นน้อยที่สุด คือ นราธิวาส ยะลา และปัตตานี อยู่ที่ 308 บาทต่อวัน.-สำนักข่าวไทย 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง