ศูนย์ราชการฯ13 พ.ย.-กระทรวงสาธารณสุข กรมการปกครอง สภากาชาดไทย สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ลงลนามความร่วมมือ “การนำข้อมูลผู้บริจาคอวัยวะและดวงตาไปทำคุณประโยชน์ร่วมกัน” เชื่อมต่อ “ข้อมูลผู้บริจาคอวัยวะและดวงตา” สู่ “ฐานข้อมูลหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” ทำให้โรงพยาบาลเข้าถึงข้อมูลการบริจาคอวัยวะและดวงตา เกิดประโยชน์ในการสื่อสารกับญาติผู้เสียชีวิต พร้อมเพิ่มศักยภาพนำส่งอวัยวะและดวงตา เพิ่มความหวังผู้รอรับบริจาค
นายเรวัติ อารีรอบ ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานในพิธีการลงนามบันทึกความร่วมมือเรื่อง การนำข้อมูลผู้บริจาคอวัยวะและดวงตาไปใช้ประโยชน์ร่วมกันระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กรมการปกครอง สภากาชาดไทย สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)
นายเรวัติ กล่าวว่า การลงนามความร่วมมือเพื่อนำข้อมูลผู้บริจาคอวัยวะและดวงตาไปทำคุณประโยชน์ร่วมกันของ 5 องค์กรในวันนี้ ทำให้เกิดการเชื่อมโยงข้อมูลการบริจาคอวัยวะและดวงตาในระบบ เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของผู้แสดงความจำนงบริจาควัยวะและดวงตาในการนำไปใช้ในทางการแพทย์ ช่วยสร้างชีวิตใหม่ให้กับผู้รอรับบริจาคอวัยวะและดวงตา โดยในระบบของสภากาชาดไทย ทั้งในส่วนของศูนย์บริจาคอวัยวะและศูนย์ดวงตาจะมีข้อมูลผู้แสดงความจำนงบริจาคอยู่ อีกส่วนหนึ่งเป็นข้อมูลที่ได้มาจากรมการปกครองที่ผู้ทำบัตรประชาชนได้แสดงความจำนงไว้
ปัจจุบันมีผู้แสดงความจำนงบริจาคอวัยวะ1,14,915 ราย แสดงความจำนงบริจาคดวงตา 1,311,696 ราย เมื่อมีผู้เสียชีวิต โรงพยาบาลจะทำหน้าที่ขอรับบริจาคอวัวะและดวงตา ไม่ว่ามีการแสดงความจำนงไว้หรือไม่ และแม้ผู้เสียชีวิตแสดงความจำนงไว้ หลายกรณีที่คนในครอบครัวและญาติไม่ทราบ ทำให้เป็นอุปสรรคในการขอรับบริจาค การบูรณาการความร่วมมือ 5 องค์กรวันนี้ มีความสำคัญในการการขอรับบริจาคอวัยวะและดวงตา โดย สปสช. ได้เข้ามาสนับสนุนการพัฒนาระบบเชื่อมต่อข้อมูล การรับบริจาคอวัยวะและดวงตาจากสภากาชาตไทยและกรมการปกครอง เข้าสู่ฐานข้อมูลระบบหลักประกันสุขภาพแห่ชาติ ทำให้โรงพยาบาลภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ทั้งภาครัฐและเอกชนสามารถตวจสอบข้อมูลว่าผู้เสียชีวิตได้แสดงความจำนงบริจาคอวัยวะและดวงตาหรือไม่ เพื่อแจ้งให้กับครอบครัวและญาติได้รับทราบ ดำเนินการตามเจตนารมณ์ของผู้เสียชีวิต ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการขอรับบริจาคอวัยวะและตวงตา และด้วยการขอบริจาคอวัยวะและดวงตาที่มีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา และ สพฉ.ได้เข้ามาสนับสนุนการปฏิบัติการฉุกเฉินในการลำเลียงจัดส่งอวัยวะ สำคัญที่ต้องแข่งกับเวลา เช่น หัวใจ ตับ ปอด เป็นต้น ทั้งทางอากาศ ทางบก หรือทางน้ำ ตามที่คณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉินกำหนด
“สภากาชาดไทยเป็นหน่วยงานหลักในการทำหน้าที่รับบริจาคอวัยวะและดวงตา ที่ผ่านมาทำให้ผู้คนในสังคมเกิดความตระหนักต่อความสำคัญของการบริจาคอวัยวะและดวงตา แต่การจัดเก็บอวัยวะและดวงตาของผู้บริจาคหลังจากเสียชีวิตจำเป็นที่หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องต้องร่วมกันสนับสนุน เพื่อให้โรงพยาบาลมือวัยวะและดวงตาในการรักษาผู้ป่วย โดยนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้มาก ทั้งยังเป็นจิตอาสาขับเครื่องบินเพื่อรับและนำส่งอวัยวะเพื่อผ่าตัดให้กับผู้ป่วย โดยวันนี้เรามีผู้รอปลูกถ่ายอวัยวะ 6,311 รายและผู้รอตัดเปลี่ยนกระจกตา 13,510 ราย การที่จะช่วยให้คนเหล่ามีชีวิตใหมได้นั้นต้องอาศัความร่วมมือจากทุกภาคส่วน” ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าว
ด้าน นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กล่วว่า สปสช.สนับสนุนเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการปลูกถ่ายอวัยวะ โดยมีการพัฒนากำหนดเป็นสิทธิประโยชนภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมาอย่างต่อเนื่อง เริ่มตั้งแต่สิทธิประโยชน์ปลูกถ่ายไตในเดือนตุลาคม 2550 การเปลี่ยนกระจตาในเดือนมกราคม 2552 การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจในเด็กและการปลูกถ่ายดับในเด็ก ในกรณีท่อน้ำดีตีบตันแต่กำเนิด หรือตับวายจากสาเหตุอื่นๆ ในเดือนตุลาคม 2554 แม้ว่า สปสช.จะได้จัดสิทธิประโยชน์เหล่านี้แล้ว แตยังมีปัจจัยสำคัญในการทำให้ผู้ปวยเข้าถึงการรักษาคือการได้รับอวัยวะและดวงตาเพื่อปลูกถ่าย ที่ผ่านมา สปสช.เล็งเห็นปัญหาที่เป็นอุปสรรค โดยเฉพาะการจัดเก็บอวัยวะและดวงตาจากผู้ที่แสดงความจำนงที่ได้เสียชีวิตแล้วให้ทันท่วงที จึงได้ร่วมมือกับ 4 องค์กร ทีลัวนมีหน้าที่และบทบาทสำคัญในเรื่องนี้เพื่อเพิ่มศักยภาพการรับบริจาคและการส่งมอบอวัยวะถึงผู้รับ นอกจากเป็นการดำเนินการให้ผู้เสียชีวิตที่แสดงความจำนงบริจาคอวัยวะเป็นไปตามเจตนารมณ์แล้ว ยังสร้างชีวิตใหม่ให้กับผู้รอรับ บริจาคอวัยวะที่รอความหวัง.-สำนักข่าวไทย