ผู้ป่วยโรคหายากขอบคุณรัฐบาลผลักดันอยู่ในสิทธิบัตรทองปี63

รพ.รามาฯ 28 ต.ค.-เครือข่ายผู้ป่วยโรคหายาก ตัวแทนผู้ป่วยและครอบครัว ขอบคุณรัฐบาลที่เห็นความสำคัญในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหายาก และล่าสุดผลักดันให้โรคหายาก จำนวน 24 โรคแรก เข้ามาอยู่ในสิทธิบัตรทองในปีงบประมาณ 2563 สะท้อนรัฐบาลไม่ทอดทิ้งใครไว้ข้างหลัง


 

นายสมบัติ ไชยศร รองประธานมูลนิธิเพื่อผู้ป่วยโรคหายาก กล่าวว่า โรคหายากมีเพียงไม่กี่คนที่คุ้นเคย เพราะแต่ละโรคมีความชุกน้อยมาก หรือเกิดในประชากรต่ำกว่า 1 ใน 2,500 คนของประชากร ปัจจุบันทั่วโลกมีโรคหายากรวมกันถึง 7,000-8,000 โรค แต่เป็นโรคที่พบบ่อยประมาณ 200-300 โรค ดังนั้นเมื่อรวมโรคหายากที่พบบ่อยหลายๆ โรคเข้าด้วยกันพบว่า จำนวนผู้ป่วยโรคหายากนั้นมีจำนวนมากและจากเดิมไม่มีวิธีรักษาที่ได้ ผลดี ปัจจุบันก็มีวิธีรักษาและป้องกันโรคได้ เพียงแต่ระบบในประเทศไทยยังไม่ครอบคลุมมาถึง จึงเป็นที่มาของความพยายามของกลุ่มแพทย์และผู้ป่วยรณรงค์อย่างต่อเนื่องเพื่อให้ผู้ป่วยโรคหายากได้มีโอกาสเข้าถึงการวินิจฉัยและการรักษาเช่นเดียวกับผู้ป่วยโรคอื่นๆ 


โดยในประเทศไทยจากข้อมูลจำนวนผู้ป่วยที่ติดตามกับผู้เชี่ยวชาญบ่งชี้ว่า มีผู้ป่วยหลายพันหรือหลายหมื่นคน โดยร้อยละ 80 ของโรคหายากเป็นโรค ที่มีสาเหตุมาจากความผิดปกติของพันธุกรรม (Genetic Disorders) จึงมีประเด็นให้การช่วยเหลือป้องกันไม่ให้มีผู้ป่วยเพิ่มอีกในครอบครัว ส่วนอีกร้อยละ 20 อาจจะเกิดจากการติดเชื้อ เช่น โรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง (Auto-immune Disease) ยังมีโรคหายากอีกจำนวนหนึ่งที่ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรค


ศ.พญ.ดวงฤดี วัฒนศิริชัยกุล หัวหน้าสาขาเวชพันธุศาสตร์ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และประธานเครือข่ายเวชพันธุศาสตร์ สมาคมพันธุศาสตร์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า กว่าจะถึงวันนี้ทุกคนได้ทุ่มเทและต่อสู้อย่างมากเพื่อให้ถึงวันนี้ ที่ผ่านมาสังคมไทยขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคหายาก ขาดแคลนแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะโรค อีกทั้งยังไม่ได้รับสิทธิในการรักษา พยาบาลจากภาครัฐอย่างเพียงพอ จึงส่งผลให้ผู้ป่วยโรคหายากต้องเผชิญกับโรคร้ายที่รุมเร้าแต่เพียงลำพัง ครอบครัวไม่สามารถหาทางออกในการรักษาได้ จึงเป็นที่มาในการรวมตัวระหว่างกลุ่มแพทย์ สมาคมพันธุศาสตร์แห่งประเทศไทย และมูลนิธิเพื่อผู้ป่วยโรคหายาก เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยสุดความสามารถเท่าที่จะสามารถช่วยได้ 

ในขณะที่ก็ต้องรณรงค์สร้างการรับรู้ให้สังคมมากขึ้น ควบคู่กับเดินหน้าผลักดันทุกทางเพื่อให้เข้าถึงภาครัฐเพราะมีผู้ป่วยและครอบครัวที่ฝากความหวังไว้ที่เรา ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าป่วยเป็นโรคอะไร เนื่องจากการวินิจฉัยที่ล่าช้าผิดพลาด จึงไม่สามารถเข้าถึงการรักษาด้วยยาที่เหมาะสม ส่งผลให้ประเทศชาติสูญเสียงบประมาณแบบสูญเปล่า เพราะการตรวจรักษาที่ไม่ตรงจุด ขาดบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจ ตลอดเวลาที่ผ่านมา จึงวิงวอนให้ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งสนับสนุนในการพัฒนาบุคลากร การค้นคว้าวิจัย รวมถึงระบบการจัดการเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยโรคหายากเข้าถึงการวินิจฉัยและรักษาได้อย่างรวดเร็วขึ้นอย่างตรงจุดตรงประเด็น ให้ได้ผลการรักษาที่ดีสามารถเรียนหนังสือ ประกอบอาชีพการงาน ทำประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติได้ ลดการสูญเสียทางเศรษฐกิจทั้งในระดับครอบครัวและของรัฐและสังคม ทั้งยังเพื่อช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตและฟื้นฟูจิตใจให้แก่ผู้ป่วยโรคหายากให้มีกำลังใจและมีความหวังสู้กับโรคต่อไปในอนาคต

 

ศ.พญ.ดวงฤดี วัฒนศิริชัยกุล กล่าวเสริมว่า ปัจจุบันประเทศไทยพบโรคหายากที่พบบ่อยประมาณ 300 โรค จากผลสำรวจล่าสุดปี 2561 เกี่ยวกับความคิดเห็นผู้ป่วยโรคหายากในประเทศไทย จำนวน 607 ราย โดยอายุผู้ป่วยจะอยู่ในช่วงอายุ 1 เดือน–32 ปี แบ่งเป็นกลุ่มผู้ป่วยโรคหายาก ดังนี้ กลุ่มกล้ามเนื้ออ่อนแรง ร้อยละ 15, กลุ่มอาการพราเดอร์-วิลลี่ ร้อยละ 11, กลุ่มโรคพันธุกรรมเมแทบอลิก ร้อยละ 8, โรคเอ็มพีเอส ร้อยละ 3, กลุ่มอาการวิลเลี่ยม ร้อยละ 3, โรคโกเชร์ ร้อยละ 2, ยังไม่ได้รับการวินิจฉัย ร้อยละ 10 รวมถึงโรคอื่นๆ อีกร้อยละ 32 เป็นต้น และภายใต้กลุ่มโรคดังกล่าวยังสามารถแบ่งเป็นชื่อโรคหายากที่แตกต่างกันออกไป ร้อยละ 40 ใช้เวลามากกว่า 1 ปีกว่าจะได้พบผู้เชี่ยวชาญโรคหายากและได้รับการวินิจฉัย, ร้อยละ 34 ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคอื่นมาก่อนที่จะได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง ซึ่งเท่ากับภาครัฐสูญเสียค่าใช้จ่ายในการการตรวจที่ไม่ตรงจุดตรงประเด็นไปโดยไม่รู้ตัว, ร้อยละ 40 ต้องมาพบแพทย์อย่างน้อย 1 ครั้งต่อเดือน, ร้อยละ 32 คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและของครอบครัวแย่ลง และร้อยละ 42 สมาชิกในครอบครัวจำเป็นต้องลาออกหรือยอมสละความก้าวหน้าทางการงานเพื่อดูแลผู้ป่วย ดังนั้นหากผู้ป่วยเหล่านี้ได้รับการวินิจฉัยที่รวดเร็วก็จะสามารถลดหรือป้องกันภาวะแทรกซ้อนอันเกิดจากการวินิจฉัยล่าช้าได้

 

นอกเหนือจากโรคหายาก 24 โรคที่ได้รับการช่วยเหลือในเฟสแรกแล้วนั้น ยังมีผู้ป่วยโรคหายากรอความหวังจากภาครัฐบาลเพื่อรับสิทธิบัตรทองในการรักษาเท่าเทียมกับโรคอื่นๆ ซึ่งพวกเราทุกคนยินดีที่จะทำงานหน้าและให้ความร่วมมือกับภาครัฐ สปสช.กระทรวงสาธารณสุขและทุกๆ หน่วย งานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการวางแผนการจัดการดูแลโรคหายากของประเทศไทยต่อไป

 

ศ.พญ.กัญญา ศุภปีติพร หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ ด้านเวชพันธุศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และหัวหน้าสาขาวิชาเวชพันธุศาสตร์และเมแทบอลิซึม ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ผู้ป่วยโรคหายากมีลักษณะและอาการหลากหลาย ในบางโรค ผู้ป่วยอาจมีอาการหลักที่อวัยวะเดียว หรือในบางโรค ผู้ป่วยอาจมีอาการในหลายอวัยวะ อาการของโรคหายากมีได้หลายระบบ เช่น ซีด เลือดออกง่าย ตับม้ามโต สมองพิการ หัวใจโต ไตวาย ตาบอด การได้ยินลดลง ภาวะซึมหรือชักในทารกและเด็กเล็ก ความบกพร่องทางพัฒนาการและสติปัญญา จึงทำให้ยากต่อการวินิจฉัยโรคที่ถูกต้อง โดยที่ผ่านมาประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายที่เกี่ยวกับการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหายากโดยตรง อย่างไรก็ตาม เริ่มมีแนวโน้มที่ดี เนื่องจากระบบสาธารณสุขของไทยได้เล็งเห็นความสำคัญและได้พิจารณานำกลุ่มยาเอนไซม์ทดแทนเพื่อรักษาโรคโกเช่ร์ ซึ่งเป็นโรคหายากโรคแรกเข้ามาอยู่ในระบบการรักษาของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เมื่อปี พ.ศ. 2556 จำนวน 1 ชนิด เนื่องจากโรคหายากส่วนใหญ่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย การตรวจวิเคราะห์ผล การบริการทางการแพทย์ และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะในการดูแลรักษา นอกจากนี้ ยังขาดการสนับสนุนจากหน่วยงานที่ทำวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านการป้องกัน วินิจฉัย และรักษา เนื่องจากข้อจำกัดต่าง ๆ ทำให้ข้อมูลที่มีอยู่ไม่สนับสนุนความคุ้มค่าที่จะลงทุน ผู้ป่วยโรคหายากในประเทศไทยจึงเข้าถึงการวินิจฉัยและการรักษาได้ยาก

 

“ขณะที่ในกลุ่มประเทศแถบเอเชียได้มีการจัดตั้งองค์กรและวางนโยบายเพื่อให้การสนับสนุนด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับโรคหายากมากขึ้นเรื่อยๆ เช่น ประเทศญี่ปุ่น ได้มีการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลโรคหายาก (The Intractable Disease Information Center) ขึ้นในปี พ.ศ. 2540 ซึ่งมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับโรคหายาก รวมทั้งรายชื่อผู้เชี่ยวชาญ และที่อยู่สำหรับการติดต่อองค์กรต่าง ๆ ที่ให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยโรคหายาก นอกจากนั้นในปี พ.ศ. 2553 ได้เริ่มมีมาตรการสนับสนุนงานวิจัยเป็นจำนวนเงิน 10 พันล้านเยนสำหรับการศึกษาโรคจำนวน 130 โรค และมีนโยบายการควบคุมราคาด้านค่ารักษาพยาบาลสำหรับโรคหายาก 56 โรค รวมทั้งยังมีการลดค่าธรรมเนียม และลดหย่อนภาษีต่าง ๆ อีกด้วย เช่นเดียวกับไต้หวันที่ได้มีการจัดตั้งมูลนิธิโรคหายากแห่งชาติไต้หวันในปี 2542 และปีต่อมาก็ได้มีกฎหมายการควบคุมโรคหายากและยากำพร้า (The Rare Disease Control and Orphan Drug Act) อีกทั้งยังมีศูนย์ให้คำปรึกษาด้านพันธุกรรม ศูนย์กระจายยารักษาโรคหายาก และศูนย์อาหารเสริมโภชนาการ เพื่อที่จะให้คำปรึกษาและอำนวยความสะดวกในการกระจายยารักษาโรคหายากไปยังผู้ป่วย นอกจากนี้ ผู้ป่วยโรคหายากยังสามารถเบิกเงินจ่ายค่ารักษาคืนได้สูงถึงร้อยละ 70 หรือทั้งหมดในกรณีที่เป็นผู้ป่วยที่มีรายได้ต่ำ สำหรับประเทศฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย ได้มีนโยบายช่วยเหลือผู้ป่วยโรคหายากชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ หลังจากที่มีการริเริ่มเมื่อประมาณ 3-4 ปีที่แล้ว การสนับสนุนของรัฐบาลไทยและโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในครั้งนี้ นับเป็นอีกก้าวที่สำคัญยิ่งที่ทำให้ผู้ป่วยเหล่านี้ได้เข้าถึงการดูแลรักษาที่สำคัญและจำเป็น นำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดี ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” ศ.พญ.กัญญา ศุภปีติพร กล่าว

 

ในโอกาสครบรอบ 3 ปีของมูลนิธิเพื่อผู้ป่วยโรคหายาก นายสมบัติ ไชยศร ในฐานะรองประธานมูลนิธิเพื่อผู้ป่วยโรคหายากและเป็นตัวแทนกลุ่มแพทย์สาขาเวชพันธุศาสตร์ ผู้ป่วย ครอบครัวผู้ป่วย และแกนนำกลุ่มผู้ป่วยโรคหายากขอขอบคุณรัฐบาลที่ได้เล็งเห็นความสำคัญในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหายากในประเทศไทย โดยได้กำหนดนิยามโรคหายากสำหรับประเทศไทยขึ้นเพื่อความชัดเจน รวมถึงกำหนดแนวทางจัดระบบดูแลผู้ป่วยโรคหายากเบื้องต้นใน 24 โรค ครอบคลุมการจัดระบบบริการ เข้าถึงยาและเวชภัณฑ์ ระบบข้อมูล ศึกษาวิจัย และงบประมาณรองรับในปี 2563 พร้อมพัฒนาระบบบริการส่งต่อพิเศษ “ศูนย์โรคหายาก” ใน รพ. 7 แห่งทั่วประเทศ และสนับสนุน “กองทุนบัตรทอง” เพื่อเข้าถึงการรักษาอย่างครอบคลุม.-สำนักข่าวไทย 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

“ภูมิธรรม” แบ่งงาน 2 รมช.มหาดไทย เจ้าตัวคุม “โยธาฯ-ปค.”

กระทรวงมหาดไทย 14 ก.ค. –“ภูมิธรรม” แบ่งงาน 2 รมช.มหาดไทยแล้ว เจ้าตัวคุม “โยธาฯ – ปค.” ฟาก “เดชอิศม์” คุม “ที่ดิน – สถ.” สางปัญหาที่ดิน นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯ และรมว.มหาดไทย รักษาราชการนายกฯ กล่าวว่า ขณะนี้ตนได้แบ่งงานกับทั้ง 2 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งการทำงานของทั้ง 3 คนเราทำงานเป็นทีมเดียวกัน ส่วนหลักเกณฑ์การแบ่งก็กระจายให้ทั่วถึงเพื่อช่วยกันดูแล โดยตนกำกับดูแลกรมโยธาธิการและผังเมือง กรมการปกครอง สำนักปลัดกระทรวงมหาดไทย สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงมหาดไทย การประสานงานส่วนราชการในสังกัด กระทรวงมหาดไทยตาม พ.ร.บ.การบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2553 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การประปาส่วนภูมิภาค และดูหน่วยงานส่วนที่เหลือทั้งหมด โดยทั้งหมดสงวนไว้ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงบประมาณ และบุคคลซึ่งตนเป็นผู้ดูแล นายภูมิธรรม กล่าวต่อว่า ได้มอบหมายให้ น.ส.ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ รมช.มหาดไทย กำกับดูแล กรมการพัฒนาชุมชน เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับสตรีและการดำเนินการเรื่องผ้าไทย รวมถึงกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย […]

รถพ่วงเบรกแตกลงเขา ชนแหลก 10 คัน เจ็บ 3

นครราชสีมา 13 ก.ค. – รถพ่วงเบรกแตกลงเขามอกลางดง ชนแหลกรวมสิบคัน บาดเจ็บ 3 คน ทำถนนมิตรภาพรถติดยาวหลายกิโลเมตร คนขับรถพ่วงบาดเจ็บ แต่ยังให้การได้ รถพ่วงบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ ชนแหลกนับ 10 คัน บนถนนมิตรภาพ ขาเข้ากรุงเทพมหานคร ช่วงลงเขามอกลางดง กิโลเมตรที่ 37-38 อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ตำรวจ สภ.กลางดง พร้อมเจ้าหน้าที่กู้ภัยหลายหน่วยระดม เข้าตรวจสอบที่เกิดเหตุ และช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ ที่เกิดเหตุพบรถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์คันต้นเหตุ ยี่ห้อฮีโน่ สีขาว ทะเบียน กรุงเทพมหานคร ด้านหน้าหัวลากพังยับ นายวิทยา อายุ 34 ปี คนขับ ได้รับบาดเจ็บที่ขาซ้าย ยังนั่งอยู่บริเวณที่นั่งข้างคนขับ โดยเล่าว่า บรรทุกของมาเต็มตู้คอนเทนเนอร์ ช่วงลงเขาเกิดเบรกไม่อยู่ เนื่องจากลมหมด จึงทำให้พุ่งชนท้ายรถพ่วงบรรทุกไม้อีกคันที่อยู่ด้านหน้า จนกระเด็นไปคนละทิศละทาง ไม้กระจายเกลื่อนถนน ด้วยความแรงยังวิ่งไปเฉี่ยวชนกับรถที่วิ่งอยู่ด้านหน้าเสียหายอีก 8 คัน เป็นรถกระบะ 5 คัน, รถเก๋ง […]

มส.มีมติสั่งปลด-ถอดสมณศักดิ์ พระอาบัติปาราชิก เรียกพระ 5 รูปแจงด่วน

กรุงเทพฯ 13 ก.ค.-มหาเถรสมาคม ประชุมนัดพิเศษ มีมติสั่งปลด-ถอดสมณศักดิ์ พระอาบัติปาราชิก เผยสึกแล้ว 6 คน ยังติดต่อไม่ได้ 2 คน เตรียมแก้กฎมหาเถรสมาคม อ้างสุดล้าหลังกว่า 50 ปี ขณะที่พระเทพพัชราภรณ์ เจ้าอาวาสวัดชูจิตฯ ชิงลาออกแล้ว นายอินทพร จั่นเอี่ยม ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) แถลงข่าวภายหลังการประชุมมหาเถรสมาคมนัดพิเศษ ครั้งที่ 1/2568 ว่า สมเด็จพระสังฆราชห่วงใยต่อกระแสข่าวที่เกิดขึ้น จึงมีพระบัญชาให้มหาเถรสมาคม นิมนต์กรรมการฯประชุมเร่งด่วน ซึ่งทางกรรมการฯ มีข้อห่วงใย และมีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง โดยมีมติ ดังนี้ -พระที่ถูกกล่าวหา ต้องอาบัติปราชิก ถือว่าสิ้นสุดความเป็นพระภิกษุทางวินัย และต้องสึกโดยทันที ส่วนพระที่ยังไม่ถึงขั้นปราชิก ก็ให้ปลดออกจากตำแหน่งเจ้าคณะพระสังฆาธิการทุกรูป และจะมีมติขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตถอดสมณศักดิ์-ในระยะเร่งด่วน ให้เจ้าคณะผู้ปกครองสงฆ์ทุกระดับ ตรวจสอบดูแลและกำกับพฤติกรรมองพระในปกครองอย่างใกล้ชิด หากพบพฤติกรรมละเมิดพระธรรมวินัยให้ดำเนินการสอบสวน และรายงานมหาเถรสมาคมโดยเร็ว-กรณีพระภิกษุถูกกล่าวหาผิดพระธรรมวินัย ประเภทครุกาบัติ ให้ออกคำสั่พักการปฏิบัติหน้าที่ และให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการตามกฏหมาย พร้อมขอให้ระมัดระวังการให้ข้อมูลต่อสื่อมวลชนและสาธารณชน เนื่องจากยังเป็นเพียงผู้ถูกกล่าวหา-และทบทวนปรับปรุงกฎระเบียบคณะสงฆ์ว่าด้วยการประทำผิดพระธรรมวินัย ประเภทครุกาบัติ โดยมหาเถรสมาคม เห็นควรขอประทานพระวินิจฉัยสมเด็จพระสังฆราช มีพระบัญชาโปรดให้แต่งตั้งคณะกรรมการพิเศษเพื่อคุ้มครองพระพุทธศาสนาคณะหนึ่ง […]

ส่งตัวดำเนินคดี นักท่องเที่ยวไทยทำร้ายทหารกัมพูชา

สุรินทร์ 13 ก.ค.-ทบ. เผยนักท่องเที่ยวไทยต่อยทหารกัมพูชา ที่ปราสาทตาเมือนธม เป็นอดีตทหารพราน ส่งตัวให้ตำรวจดำเนินคดีตามกฎหมาย เมื่อวันที่ 13 ก.ค.68 พล.ต.วินธัย สุวารี โฆษกกองทัพบกกล่าวถึงกรณีที่งนักท่องเที่ยวชาวไทย ทำร้ายร่างกายเจ้าหน้าที่ทหารกัมพูชาชุดประสานงาน ที่บริเวณปราสาทตาเมือนธม จังหวัดสุรินทร์ ว่า กองทัพบกได้รับรายงานจากกองกำลังสุรนารี ว่า เมื่อเวลาประมาณ 10.20 น. ได้เกิดเหตุการณ์นักท่องเที่ยวชาวไทยทำร้ายร่างกายเจ้าหน้าที่ทหารกัมพูชาชุดประสานงาน ณ บริเวณปราสาทตาเมือนธม โดยผู้ก่อเหตุได้ชกเจ้าหน้าที่กัมพูชา ทั้งทางด้านหลังและด้านหน้า ก่อนจะหลบหนีออกจากพื้นที่ ซึ่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยสามารถติดตามและควบคุมตัวได้ในเวลาต่อมา จากการตรวจสอบเบื้องต้น ทราบว่าผู้ก่อเหตุคือ นายสมหมาย ศรีศุกรานันทน์ อดีตอาสาสมัครทหารพราน ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานชมรมทหารพรานจิตอาสาค่ายปักธงชัย และประธานเครือข่ายทหารผ่านศึกจังหวัดสมุทรสาคร ทั้งนี้ เนื่องจากบริเวณพื้นที่เกิดเหตุเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ทางเจ้าหน้าที่ทหารฝ่ายไทย ได้ทำความเข้าใจกับผู้เสียหายไปแล้วในเบื้องต้น เพื่อพยายามไม่ให้กระทบความสัมพันธ์ในระดับเจ้าหน้าที่ทั้งสองฝ่าย สำหรับผู้ก่อเหตุ ได้ให้ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ ดำเนินการไปตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป.-313.-สำนักข่าวไทย

ข่าวแนะนำ

“รมต.สุชาติ” เข้าพบสมเด็จฯ วัดไตรมิตร รับแนวทางแก้ปัญหาวงการสงฆ์

วัดไตรมิตร 14 ก.ค.- “รมต.สุชาติ” เข้าพบสมเด็จฯ วัดไตรมิตร รับแนวทางแก้ปัญหาวงการสงฆ์ ชี้ต้องร่วมมือกัน ทั้งตำรวจ-มส.-พศ. ย้ำต้องเร่งแก้ให้เร็วที่สุด ก่อนประชาชนหมดศรัทธา สั่งสำนักพุทธฯ ดูกฎหมายอาญา 206 เอาผิดสีกา ก. ได้หรือไม่ ย้อนถาม พศ. ทำไมไม่รู้ จี้ให้ทำงานเชิงรุก บอกหลัง 1 ต.ค.นี้ ทุกวัดต้องส่งรายงานการเงินทุกเดือนและทุกปี ตามกฎกระทรวงใหม่ นายสุชาติ ตันเจริญ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เดินทางมายังวัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร เมื่อมาถึงได้เข้ากราบสักการะสมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี (สมเด็จธงชัย) เจ้าคณะใหญ่หนกลาง กรรมการมหาเถรสมาคม และผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร ก่อนเข้ากราบนมัสการสมเด็จพระพุฒาจารย์ (สนิท ชวนปญฺโญ) กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยาราม เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก เพื่อรับแนวทางปฏิบัติ ในฐานะกำกับดูแลสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ภายหลังการเข้าพบสมเด็จพระพุฒาจารย์ (สนิท ชวนปญฺโญ) นานกว่า 30 นาที นายสุชาติ กล่าวว่า เรื่องสงฆ์ที่เกิดปัญหาอยู่ในขณะนี้ เป็นเรื่องที่มหาเถรสมาคม มีการประชุมตั้งแต่เมื่อวาน ซึ่งเป็นการประชุมเร่งด่วนฉุกเฉิน […]

แจ้งข้อหาอดีตทหารพรานทำร้ายทหารกัมพูชา

สุรินทร์ 14 ก.ค. – ตำรวจตั้งข้อหาทำร้ายร่างกายกับอดีตทหารพรานต่อยทหารกัมพูชาที่ปราสาทตาเมือนธม ขณะที่ ศบ.ทก. ยืนยันไม่สนับสนุนการใช้ความรุนแรง พ.ต.อ.นพดล พินิจอักษร ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรพนมดงรัก เปิดเผยความคืบหน้าอดีตทหารพรานและนักท่องเที่ยวทำร้ายทหารกัมพูชา ว่า ตำรวจอยู่ระหว่างรวบรวมหลักฐานดำเนินคดี เบื้องต้นตั้งข้อหาทำร้ายร่างกาย ในส่วนผู้ต้องหาทั้ง 2 คน มาพบพนักงานสอบสวน ยังไม่ได้หลบหนีไปไหน สามารถเรียกตัวมาแจ้งข้อหาได้ ขณะที่ปราสาทตาเมือนธม มีนักท่องเที่ยวเข้ามาชมกันอย่างต่อเนื่อง แต่ไม่พบทหารคนที่โดนชกแต่อย่างใด ขณะที่ศูนย์เฉพาะกิจบริหารสถานการณ์บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา หรือ ศบ.ทก. ยืนยันไม่สนับสนุนการใช้ความรุนแรง หลังนักท่องเที่ยวไทยทำร้ายร่างกายทหารกัมพูชา ขณะที่กระทรวงการต่างประเทศทำหนังสือประท้วง ปมวัดภูม่านฟ้า มองแอบแฝงการเมือง ย้ำมรดกทางวัฒนธรรมควรเสริมสร้างความสัมพันธ์ใม่ใช่แบ่งแยก.-สำนักข่าวไทย

เปิดภาพ “พระปริยัติธาดา” วัดกัลยาณมิตรฯ สึกที่ระยอง

ระยอง 14 ก.ค. – เปิดภาพ “พระปริยัติธาดา” ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดกัลยาณมิตรฯ พัวพันสีกากอล์ฟ สึกแล้วที่ จ.ระยอง ขณะที่พระบางรูปยืนยันไม่สึก เพราะแม้เป็นข่าวแต่ไม่ได้มีสัมพันธ์ลึกซึ้ง ส่วนเงินที่โอนเป็นเงินส่วนตัว ให้เพราะเมตตา ภาพล่าสุดของพระปริยัติธาดา ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร ที่มีข่าวว่าหายตัวนานหลายวัน เพราะมีคนเปิดเผยหลักฐานความสัมพันธ์กับสีกากอล์ฟ ที่เกิดขึ้นเมื่อปี 61 และก่อนหน้านี้มีกระแสว่า ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดกัลยาณมิตรฯ สึกไปแล้วตั้งแต่วันศุกร์ แต่เมื่อเช้านี้ (14 ก.ค.) ภาพนี้ได้ยืนยันว่า พระปริยัติธาดา ได้สึกแล้วที่วัดในพื้นที่ จ.ระยอง เมื่อเวลา 09.00 น.ที่ผ่านมา “พระภาวนาวิริยคุณ” ลั่นไม่สึก ให้ด้วยความเมตตาขณะที่พระที่ยังไม่สึกอย่าง พระภาวนาวิริยคุณ หรือพระอาจารย์ไสว ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพฯ มีชื่อพัวพันโอนเงินให้สีกากอล์ฟ 182,200 บาท แต่ท่านได้ย้ายมาเป็นประธานสงฆ์ที่วัดไชยมงคล จ.พิษณุโลก ตั้งแต่ปี 62 โดยมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาวัด และเผยแผ่พระพุทธศาสนาผ่านโซเชียล ท่านเปิดใจกับทีมข่าวยืนยันว่าเรื่องราวเกี่ยวพันกับสีกากอล์ฟ เกิดขึ้นเมื่อปี 66 โดยฝ่ายหญิงติดต่อมาทางแชท ขอคำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาชีวิต […]

“ภูมิธรรม” ลั่นเอาผิดถึงที่สุดคดีสีกากอล์ฟ เรื่องนี้ไม่จบง่าย

กระทรวงมหาดไทย 14 ก.ค. – “ภูมิธรรม” ประสานดีเอสไอช่วยตำรวจสอบสวนกลาง ทำคดีสีกากอล์ฟ ลั่นเรื่องนี้ไม่จบง่าย เอาผิดถึงที่สุด เพราะมีลักษณะบ่อนทำลาย นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯและ รมว.มหาดไทย ในฐานะรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการดำเนินคดีเอาผิดสีกากอล์ฟ และพระสงฆ์ที่เกี่ยวข้อง ว่า จะให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ เข้าไปช่วยดู เพราะคดีนี้สั่นสะเทือนความรู้สึกของประชาชน กระทบความมั่นคงในแง่ของพุทธศาสนา ซึ่งเป็นหลักของประเทศ โดยเมื่อเช้านี้ตนได้พูดคุยกับอธิบดีดีเอสไอ ให้ช่วยเข้าไปดู หรือมีอะไรที่จะส่งเสริมสนับสนุนให้กับตำรวจที่ทำหน้าที่อยู่แล้ว ซึ่งอธิบดีดีเอสไอก็รับเรื่องไปพิจารณาดำเนินการ และยังได้คุยโทรศัพท์กับ พลตำรวจโท จิรภพ ภูริเดช ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ซึ่งอยู่ระหว่างติดราชการต่างประเทศ โดยตนได้กำชับว่าเรื่องนี้ต้องจริงจัง ต้องเริ่มต้นด้วยการตั้งข้อหาสีกากอล์ฟให้ชัดเจนมากขึ้น และให้ประสานงานกับทางดีเอสไอ ซึ่ง พลตำรวจโท จินภพ ยินดี เพราะเป็นเรื่องที่ต้องการทำอยู่แล้ว เนื่องจากกระทบกับพุทธศาสนา และให้รายงานตนด้วย โดยเรื่องนี้จะไม่ปล่อยผ่านเฉยๆ และย้ำว่าได้กำชับกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดแล้ว ทั้งนี้ การที่ให้ดีเอสไอเข้ามาช่วยดูคดี ไม่ได้หมายความว่าให้โอนคดีไปที่ดีเอสไอ แต่ให้มาช่วยกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางดู โดยหลักการจะให้ตำรวจสอบสวนกลางทำคดีต่อไป ส่วนดีเอสไอมีอะไรเสริมได้ก็จะดี เมื่อถามว่า ที่ผ่านมาคดีที่เกี่ยวกับสงฆ์ […]