ฟื้นการเจรจาเอฟทีเอ ไทย-อียู

กรุงเทพฯ 23 ก.ย. – พาณิชย์เตรียมพร้อมฟื้นการเจรจาเอฟทีเอ ไทย-อียู เปิดเวทีใหญ่เชิญทุกภาคส่วนระดมสมอง เพื่อทำกรอบเปิดเจรจารอบใหม่



นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยภายหลังเปิดการสัมมนา “โอกาสและความท้าทายของไทยในการเจรจาความตกลงการค้าเสรีไทย-สหภาพยุโรป” ว่า การเปิดเวทีสัมมนาครั้งนี้ เพื่อเตรียมฟื้นการเจรจาเอฟทีเอไทย-สหภาพยุโรป (อียู)  แบ่งเป็น 2 ด้านหลัก คือ 1.ด้านการศึกษาวิจัย ได้มอบสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา ทำการศึกษาวิจัย วิเคราะห์ประโยชน์และผลกระทบจากการฟื้นการเจรจาเอฟทีเอไทย-อียู มีกำหนดเสร็จเดือนพฤศจิกายน 2562  และ 2.ด้านการหารือผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งให้ความสำคัญกับการรับฟังความเห็นจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้ประกอบการทั้งขนาดใหญ่ กลาง เล็ก เกษตรกร และภาคประชาสังคม เพื่อให้ได้ข้อมูลความเห็นและมุมมองของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่าง ๆ ให้รอบด้านและครบถ้วนมากที่สุด  


อย่างไรก็ตาม กรมฯ ได้เชิญหารือผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่าง ๆ ไปบ้างแล้ว แต่เป็นการหารือกลุ่มเล็ก ๆ การจัดสัมมนาวันนี้เป็นการจัดประชุมกลุ่มใหญ่ที่เชิญทุกภาคส่วนเข้าร่วมพร้อมกัน และยังมีแผนที่จะเดินสายไปจัดสัมมนารับฟังความเห็นผู้มีส่วนได้เสียภูมิภาคต่าง ๆ ของไทยเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน หลังจากนั้นจะรวบรวมผลการศึกษาและรับฟังความเห็นเสนอระดับนโยบาย เพื่อประกอบการพิจารณาตัดสินใจเรื่องการฟื้นการเจรจาเอฟทีเอไทย-อียู คาดว่าจะสอดคล้องกับช่วงเวลาที่อียูแต่งตั้งคณะกรรมาธิการยุโรปชุดใหม่ที่จะตัดสินใจหรือมีนโยบายเรื่องการฟื้นการเจรจาเอฟทีเอกับไทย

ทั้งนี้ อียู ถือเป็นตลาดขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพและอำนาจซื้อสูง ประชากรกว่า 512 ล้านคน เป็นคู่ค้าสำคัญอันดับ 4 และนักลงทุนอันดับ 2 ของไทย การฟื้นการเจรจาเอฟทีเอไทย-อียู หยุดชะงักตั้งแต่ปี 2557 จะช่วยเพิ่มโอกาสทางการค้าการลงทุนของไทย โดยเฉพาะสินค้าที่ไทยมีศักยภาพ เช่น ยานยนต์และชิ้นส่วน สิ่งทอ ยางและผลิตภัณฑ์ อาหารและสินค้าเกษตรต่าง ๆ เป็นต้น ท่ามกลางภาวะที่เศรษฐกิจโลกมีความผันผวนและความไม่แน่นอนจากสงครามการค้าปัจจุบัน รวมทั้งน่าจะช่วยเพิ่มแต้มต่อทางการแข่งขันของไทยที่ปัจจุบันหายไป จากการที่ประเทศอื่น ๆ เช่น เวียดนาม สิงคโปร์ และบราซิล เป็นต้น มีเอฟทีเอกับอียูแล้ว แต่ไทยไม่มี  เอฟทีเอที่อียูทำกับประเทศต่าง ๆ มีมาตรฐานสูง ทั้งในส่วนการเปิดตลาดสินค้า บริการและการลงทุน ตลอดจนประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการค้าอื่น ๆ เช่น พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การแข่งขันทางการค้า ทรัพย์สินทางปัญญา การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐ จึงต้องพิจารณาเตรียมความพร้อมและการช่วยเหลือเยียวยาอย่างรอบคอบ หากไทยจะฟื้นการเจรจา ซึ่งการสัมมนาครั้งนี้มีผู้สนใจจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา ผู้ประกอบการ ภาคประชาสังคม และประชาชนทั่วไปเข้าร่วมกว่า 300 คน ที่จะได้ร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองด้านเศรษฐกิจและสังคมที่เป็นประโยชน์กับการเตรียมการของไทย รวมถึงโอกาสและความท้าทายของการฟื้นการเจรจาเอฟทีเอไทย-อียู และจะศึกษาการจัดตั้งกองทุนเอฟทีเอที่มีกฎหมายรองรับเพื่อเข้ามาช่วยลดผลกระทบต่อการทำเอหทีเอทั้งระบบอีกด้วย


อย่างไรก็ตาม ปี 2561 ไทยและอียูมีมูลค่าการค้าระหว่างกัน 47,290.76 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยส่งออก 25,041.60 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ และไทยนำเข้า 22,249.16 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องบิน เครื่องร่อน อุปกรณ์การบิน เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์เวชกรรม-และเภสัชกรรม ในช่วงเดือนมกราคม – มิถุนายน 2562 ไทยและอียูมีมูลค่าการค้าระหว่างกัน  21,878.06 ล้านดอลลาร์สหรัฐ  โดยไทยส่งออก 12,060.14 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และไทยนำเข้า 9,817.92 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นต้น.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ข่าวแนะนำ

ซุ้มไฟเฉลิมพระเกียรติฯ สุดตระการตา รับประเพณียี่เป็ง

ยามค่ำคืนในตัวเมืองเชียงใหม่ ประดับประดาด้วยแสงไฟรับประเพณียี่เป็ง หรือลอยกระทงเชียงใหม่ โดยเฉพาะบนถนนท่าแพ มีการสร้างซุ้มประดับไฟเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จำนวน 14 ซุ้ม ยาวกว่า 200 เมตร.

“ฟิล์ม รัฐภูมิ” ตั้งโต๊ะแจงปมรีดทรัพย์ รับอ้างชื่อ “หนุ่ม กรรชัย” เพื่อขายงาน

“ฟิล์ม รัฐภูมิ” ตั้งโต๊ะแจงปมเรียกรับเงิน 20 ล้านบาท จากดิไอคอน ยอมรับอ้างชื่อ “หนุ่ม กรรชัย” เพราะต้องการขายงาน

คุมตัว “ตี่ลี่ฮวงจุ้ย” ฝากขัง เจ้าตัวเงียบรีบเดินขึ้นรถตู้

ตำรวจกองปราบคุมตัว “ตี่ลี่ฮวงจุ้ย” ฝากขัง ผู้ต้องหาปัดตอบสื่อ ด้านพนักงานสอบสวนคัดค้านการประกันตัว เพราะมีพฤติการณ์หลบหนี