สธ.10 กค..-หน่วยสืบสวนโรคทางระบาดวิทยา สธ. ลงพื้นที่ร้านผัดไทยที่ภูเก็ต ยืนยันไม่เคยมีประวัติพบผู้ป่วยด้วยเชื้อ อามีบา ฟราจิลิส (Dientamoeba fragilis) ที่ชาวต่างชาติอ้าง ชี้เชื้อนี้ มักถูกพบในบริเวณ ดินโคลน โอกาสจะพบในผัดไทยค่อนข้างน้อยมาก
นพ. รุ่งเรือง กิจผาติ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่าได้ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต ส่งทีมเคลื่อนที่เร็วเพื่อสอบสวนโรค ที่ชาวต่างชาติอ้างว่าติดเชื้ออะมีบา จากการกินผัดไทยที่ร้านจังหวัดภูเก็ต โดยลงพื้นที่ ร้านผัดไทย และบริเวณโดยรอบ ข้อมูลชี้ในรอบ2-3ปีไม่มีประวัติพบผู้ป่วยด้วยเชื้อ อามีบา ฟราจิลิส (Dientamoeba fragilis) ซึ่งเชื้อนี้ มักถูกพบในบริเวณ ดินโคลน โอกาสจะพบในผัดไทยค่อนข้างน้อยมาก และขอทำความเข้าใจกับประชาชนว่า เชื้อนี้มีขนาดโตกว่าแบคทีเรียเล็กน้อย อาการเมื่อติดเชื้ออะมีบาตัวนี้จะมีท้องเสียท้องอืด ลักษณะคล้ายโรคทางเดินอาหารทั่วไป แต่เมื่อดูข้อมูลย้อนกลับไป พบว่า โรงพยาบาลทั้งหมดที่จังหวัดภูเก็ตตรวจไม่พบเชื้อนี้ในระยะ2ถึงส3ปีที่ผ่านมาเลย แต่จะพบเชื้อในกลุ่มอะมีบ้าตัวอื่น อย่างไรก็ตามกระทรวงสาธารณสุขไม่อยากให้ประชาชนทั่วไปเกิดความตระหนักในข่าวนี้
ส่วนจะเป็นไปได้ไหมว่าเชื้อตัวนี้จะมาจากผักสดที่ประกอบผัดไทยหรือกุ้งที่อาจไม่ผ่านความร้อนนำมาประกอบที่หลัง นายแพทย์รุ่งเรืองกล่าวว่า โอกาสเป็นไปได้น้อยมากเพราะผัดไทยเป็นจานร้อน เกือบทั้งหมดและผักที่อยู่ประกอบเป็นส่วนน้อยมาก ส่วนในถั่วงอกอาจจะพบสารชนิดอื่นที่ไม่ใช่อะมีบาตัวนี้ ที่จะถูกความร้อนและตายง่าย
“ขอเรียนว่าอาการท้องเสียเกิดได้จากทั้งสารเคมี ไวรัส และแบคทีเรีย แต่โอกาสที่จะเกิดจากอะมีบายากมากและไม่เคยเกิดในรอบหลายปีมานี้ เมื่อดูลักษณะการเกิดโรคเชื้อตัวนี้มีโอกาสฟักตัวหลายวันเพราะฉะนั้นอาจเป็นไปได้ว่าผู้ป่วยไปทานอาหารชนิดอื่นร่วมด้วย แล้วติดเชื้อจากที่อื่นหรือไม่ ไม่จำเป็นว่าต้องเกิดจากผัดไทย เพราะระยะฟักตัว แต่ของอมีบาไม่สั้นเป็นระยะยาว 5ถึง7วัน อาการออกไปทางไม่สบายเรื้อรังมากกว่า” นายแพทย์กิตติกล่าว
นายแพทย์ รุ่งเรือง กล่าวต่อว่า ปกติอะมีบาตัวนี้จะอยู่ในน้ำจืด ในดิน-โคลน หรือพบในพืชและสัตว์ที่เน่าเปื่อย อยู่ในลำน้ำ โอกาสจะมาอยู่ในผัดไทยและก่อโรคในคนได้ มีน้อยมาก ส่วนการไปสืบสวนต่อไปถึงอาหารชนิดใดที่ชาวต่างชาติเคยกินในช่วงนั้นเป็นเรื่องยาก เพราะ เวลาผ่านไปนานแล้ว และการสอบสวนอาจได้ข้อมูลไม่ตรง เพราะความจำของตัวผู้ป่วยเอง เพราะไปมาหลายที่
นพ.รุ่งเรือง ยังกล่าวถึงระบบสุขาภิบาลอาหารที่ประเทศไทยมีระบบได้มาตรฐานว่า กระทรวงสาธารณสุขมีระบบป้องกันเชื้อจากอาหาร ทั้งโครงการอาหารปลอดภัย คลีนฟู๊ดกู๊ดเทสต์ ในภาพรวมของประเทศโดยเฉพาะแหล่งท่องเที่ยว มีสุขอนามัยที่ดี ตั้งแต่ผู้ประกอบอาหาร วัตถุดิบ สิ่งแวดล้อม จะมีการสุ่มตรวจ มีการมอบรางวัล ซึ่งผู้รับประทานก็ได้รับคำแนะนำจากกระทรวงว่าให้เลือกร้านที่สะอาดมีมาตรฐานมีสัญลักษณ์อาหารปลอดภัย โดยเฉพาะร้านที่ถูกกล่าวถึงนี้เป็นร้านที่อยู่ในย่านที่ค่อนข้างมีความสะอาดปลอดภัย และนักท่องเที่ยวส่วนมากได้ตอบคำถาม ว่าที่นี่เป็นย่านสะอาด
ส่วนประเด็นที่ยังห่วงอยู่ คือเรื่องน้ำแข็ง และน้ำดื่ม ที่ขอให้เลือกน้ำดื่ม บรรจุขวดที่จะปลอดภัยกว่า ขอยืนยันมาตรฐานอาหารของไทยว่าดีกว่า หลายประเทศทั่วโลก สำหรับแนวทางการตอบโต้เรื่องนี้ คือการนำแนวทางสืบสวนโรคและการระบาดวิทยาออกมาให้ปรากฏต่อสาธารณะ.-สำนักข่าวไทย