รัฐบาลคลอดแผนบริหารจัดการน้ำ 20 ปี

ทำเนียบรัฐบาล 18 มิ.ย. – ครม.เห็นชอบแผนแม่บทน้ำ 20 ปี กำหนดทิศทางการพัฒนาทรัพยากรน้ำของประเทศ


นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุม ครม.วันนี้ (18 มิ.ย.) เห็นชอบแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี ซึ่งถือเป็น 1 ใน 3 เสาหลักของการบริหารจัดการน้ำของประเทศ ประกอบด้วย พระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ 2561 มีผลบังคับใช้ไปแล้วเมื่อวันที่  27 มกราคมที่ผ่านมา  สำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) และแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี ซึ่งจะช่วยให้หน่วยงานที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับน้ำทำงานได้สอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และยังได้เพิ่มเสาหลักที่ 4 คือ การพัฒนาองค์ความรู้ สร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่จะขับเคลื่อนแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำฯ ให้มีประสิทธิภาพ โดยแผนแม่บทประกอบด้วย 6 ด้านหลัก ได้แก่ การจัดการน้ำอุปโภคบริโภค การสร้างความมั่นคงของน้ำภาคการผลิต การจัดการน้ำท่วมและอุทกภัย การจัดการคุณภาพน้ำและอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ การอนุรักษ์ฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำเสื่อมโทรมและป้องกันการพังทะลายของดิน และส่วนสุดท้าย คือ การบริหารจัดการ

นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการ สทนช. กล่าวว่า สาระสำคัญในแผนแม่บทน้ำฯ ประกอบด้วย 3 ประเด็นหลัก คือ 1.มีการกำหนดตัวชี้วัดเชิงผลผลิตเพิ่มเติม  2.กำหนดหน่วยงานหลัก และหน่วยงานสนับสนุน ไม่เพียงแต่หน่วยงานราชการเท่านั้น ยังมีภาคเอกชนมาร่วมด้วย และ 3.มีการกำหนดพื้นที่เป้าหมายที่ต้องการแก้ไขปัญหาร่วมกัน โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งเชิงพื้นที่อย่างเป็นระบบ 66 พื้นที่ 34.62 ล้านไร่ ทั้งนี้ เพื่อให้แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี เป็นกลไกการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างบูรณาการ สร้างความสมดุลระหว่างการพัฒนา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน เกิดประโยชน์กับประชาชน โดยได้ตั้งเป้าหมายที่จะให้ทุกหมู่บ้านเข้าถึงดื่มสะอาดได้มาตรฐานและราคาที่เหมาะสม 75,032 หมู่บ้าน ภายในปี 2573 มีการพัฒนาน้ำต้นทุน 27,299 ล้าน ลบ.ม. ทั้งแหล่งน้ำใหม่และพื้นที่เกษตรน้ำฝน เพิ่มพื้นที่กระจายน้ำ 31 ล้านไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ชลประทาน 18  ล้านไร่ และพื้นที่เกษตรน้ำฝน 13 ล้านไร่  พัฒนาแหล่งน้ำชุมชนเพื่อการเกษตร 10,000 แห่ง ได้ปริมาณน้ำ 6,000 ล้าน ลบ.ม. สามารถป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชนเมืองและพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญ 764 แห่ง ลดผลกระทบจากอุทกภัย  15  ล้านไร่ มีการพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสีย 741 แห่ง การฟื้นฟูป่าต้นน้ำ 3.5 ล้านไร่ ก่อสร้างฝายชะลอน้ำ 541,894 แห่ง


“สทนช.จะทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางอำนวยการกำกับ ขับเคลื่อนแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี รวมทั้งติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยงานให้เป็นไปตามเป้าหมายของแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ  20 ปี ที่ได้กำหนดไว้ และสอดคล้องตามพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ.2561” นายสมเกียรติ กล่าว.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

“เหนือ-อีสาน-กลาง” อากาศเย็น ภาคใต้ฝนตกหนัก

กรมอุตุฯ รายงานภาคเหนือ อีสาน และภาคกลาง อากาศเย็นในตอนเช้า มีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ส่วนภาคใต้ฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง