“บ่อหน่วงน้ำใต้ดิน” อีกหนึ่งทางออกแก้ไขน้ำท่วม กทม.

กรุงเทพฯ 11 มิ.ย.- หลังหลายคนเจอวิกฤติน้ำรอระบายเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ทำให้สิ่งที่กังวลตามมาคือ ปัญหาน้ำท่วมที่คนกรุงต้องเผชิญเป็นประจำ กรุงเทพมหานครพยายามหาทุกวิถีทางในการยับยั้ง หนึ่งในนั้นคือ ก่อสร้างบ่อหน่วงน้ำใต้ดิน หรือ Water Bank เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังในจุดเสี่ยง


หลุมลึกรูปทรงสามเหลี่ยม ที่ยังอยู่ระหว่างก่อสร้าง หน้าปากซอยสุทธิพร 2 บนถนนดินแดง ซึ่งถือเป็นจุดเสี่ยงน้ำท่วมขังบนถนนสายหลักของ กทม. เวลาฝนตกจะมีน้ำท่วมขังเป็นประจำ หลายคนที่ผ่านไปมาอาจคิดว่ามีการผุดที่อยู่อาศัยแห่งใหม่เพิ่มเติม แต่ความเป็นจริง คือ บ่อหน่วงน้ำใต้ดิน หรือ Water Bank อีกหนึ่งในความพยายามของกรุงเทพมหานครที่ทำทุกวิถีทางยับยั้งปัญหาน้ำท่วมถนนทุกครั้งยามที่ฝนถล่มกรุง 


Water Bank ทำหน้าที่คล้ายธนาคาร แต่เปลี่ยนจากฝากเงิน เป็นฝากน้ำฝนก่อนปล่อยสู่คลอง กลไกการทำงานบ่อจะรับน้ำฝนที่ตกลงมาเก็บไว้ก่อน เหมือนฝากน้ำไว้ในบ่อพักใต้ดิน เพื่อไม่ให้เจิ่งนองท่วมถนนเหมือนที่ผ่านมา โดยบ่อมีความลึก 11 เมตร เก็บน้ำได้ 1,200 ลูกบาศก์เมตร เมื่อฝนหยุดตกค่อยสูบน้ำออกจากบ่อใต้ดิน โดยมีเครื่องสูบน้ำขนาด 1.25 ลูกบาศก์เมตร/วินาที ไหลไปตามแนวท่อระบายน้ำลงสู่คลอง โดย กทม.มั่นใจว่าหากการก่อสร้างเสร็จในเดือนกรกฎาคม จะทำให้ถนนอโศก-ดินแดง เนื้อที่ 30,000 ตารางเมตร ไร้ปัญหาน้ำท่วมขังแน่นอน


นอกจากถนนดินแดงแล้ว Water Bank จะถูกนำไปใช้กระจายแก้ปัญหาน้ำท่วมขังในจุดเสี่ยงทั่วกรุง 14 จุด ในเขตหลักสี่ จตุจักร บางซื่อ ดุสิต ราชเทวี สาทร มีนบุรี บางแค และบางขุนเทียน ถนนในพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ท้องช้างน้ำขังได้ง่าย

ขณะที่นักวิชาการวิศวกรรมด้านโยธาธิการระบุว่า การลงทุนในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังในกรุงเทพฯ ด้วยสารพัดวิธีของ กทม.ในขณะนี้ถือเป็นความพยายามที่ดี โดยเฉพาะการเพิ่มพื้นที่ซึมซับรับน้ำ แต่จะให้ท้องถิ่นจัดการฝ่ายเดียวเกรงไม่ใช่ทางออกในระยะยาว ต้องให้บ้านเรือนประชาชน หมู่บ้าน อาคารเกิดใหม่เพิ่มพื้นที่รับน้ำ จะเป็นอีก 1 ทางออกช่วยลดปัญหา

แม้จะมีแผนการรองรับแต่นักวิชาการก็อยากให้ชาวกรุงยอมรับว่า อาจจะยังคงต้องเจอกับปัญหาน้ำท่วมขังได้ทุกเมื่อ หากมีฝนถล่มลงมา แต่ก็จะบรรเทาเบาบางลงเมื่อเทียบกับครั้งอดีตที่ตัวช่วยน้อยนิด

สำหรับแผนงานก่อสร้าง Water Bank ขณะนี้มีทั้งหมด 4 จุด ภายใต้งบกว่า 490 ล้านบาท ทั้งหมดล้วนเป็นจุดที่เกิดน้ำท่วมขังทุกครั้งที่ฝนตกหนัก คือ ที่ บริเวณวงเวียนบางเขน หน้าหมู่บ้านอัมรินทร์นิเวศน์ 1 ซึ่งเสร็จเรียบร้อยแล้ว ส่วนที่เหลือ คือ ปากซอยสุทธิพร 2, ถนนอโศก-ดินแดง เขตดินแดง, ใต้สะพานข้ามแยกถนนกรุงเทพกรีฑาตัดกับถนนศรีนครินทร์ เขตบางกะปิ และถนนรัชดาภิเษกตัดถนนวิภาวดี จะแล้วเสร็จในปีนี้.-สำนักข่าวไทย  

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ผ่าไชน่า เรลเวย์ คว้า 3 โครงการรัฐในภูเก็ต

เหตุการณ์ตึก สตง.ถล่ม กลายเป็นปฐมบทในการปูพรมตรวจสอบบริษัท ไชน่า เรลเวย์ หลังพบเป็นผู้ชนะการประมูลโครงการก่อสร้างตึก สตง. และโครงการรัฐหลายแห่งทั่วประเทศ ล่าสุดที่ จ.ภูเก็ต ตรวจพบ 3 โครงการ และหนึ่งในนั้นกำลังมีปัญหาก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน

มหาสงครามโลก

นักวิชาการชี้ “มหาสงครามโลกครั้งที่ 3” เกิดแน่ถ้าโลกยังตึงเครียด

นักวิชาการด้านความมั่นคงและการต่างประเทศระดับแนวหน้าของไทย มีความเห็นตรงกันว่า หากผู้นำชาติมหาอำนาจไม่เร่งลดระดับความตึงเครียดสถานการณ์โลก

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว หลังอยู่ปฏิบัติภารกิจค้นหา-กู้ชีพ สนับสนุนกู้ภัยไทย เหตุตึก สตง.ถล่ม กว่า 1 สัปดาห์

ธรรมชาติใต้ดินเปลี่ยนไป หลังแผ่นดินไหว 1 สัปดาห์

แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ส่งแรงสั่นสะเทือนในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ แม้บนพื้นผิวดินจะไม่ได้สร้างความเสียหายมากนัก แต่พบความเปลี่ยนแปลงสภาพใต้ดินจนเกิดปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทั้งหลุมยุบขนาดใหญ่ น้ำพุร้อนที่เคยพุ่งจากใต้ดินหายไป แต่น้ำตกที่แห้งในหน้าแล้งกลับมีน้ำไหลออกมา ซึ่งนักธรณีวิทยายืนยันเป็นผลพวงจากแผ่นดินไหวครั้งนี้

ข่าวแนะนำ

อุตุฯ เตือนไทยตอนบนมีพายุฝนฟ้าคะนอง-ลมกระโชกแรง

กรมอุตุฯ เตือนไทยตอนบนมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ส่วน กทม.-ปริมณฑล ฝนฟ้าคะนอง 40% กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง

“ไฮโซกำมะลอ” กระโดดชั้น 3 สน.โคกคราม

“ไฮโซเก๊” โลก 2 ใบ เครียดปีนตึก หลังถูก “คะน้า” ดาราสาว ออกมาแฉกลางรายการดัง จนตำรวจต้องเข้าเกลี้ยกล่อมพาไปโรงพัก แต่ยังวิ่งหนีการควบคุม กระโดดลงมาจากชั้น 3 สน.โครกคราม บาดเจ็บ

วันที่ 11 ปฏิบัติการกู้ซากตึก สตง. ถล่ม

วันที่ 11 ของปฏิบัติการกู้ซากตึก สตง. พังถล่ม เจ้าหน้าที่เดินหน้าใช้เครื่องจักรหนักเข้า เคลียร์ซากต่อเนื่อง โดยเฉพาะโซนบี และซี ที่คาดว่าเป็นจุดที่มีผู้ติดค้างอยู่จำนวนมาก