กทม. 25 พ.ค. – กระทรวงคมนาคม ยืนยันผลสำเร็จการพัฒนาระบบรางของประเทศ ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา เชื่อรัฐบาลใหม่ รับไม่ต่อหลายโครงการ
นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม บรรยายพิเศษ ในหัวข้อ “อดีต ปัจจุบัน และอนาคต ของระบบขนส่งรางไทย” จัดโดย สมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยยืนยันว่า รัฐบาลปัจจุบัน ได้ขับเคลื่อนการพัฒนาระบบรางหลายด้าน ในช่วง 5 ที่ผ่านมา หลังจากที่ไทย ได้หยุดการพัฒนาระบบรางมานาน เนื่องจากการลงทุน ยกเครื่องระบบรางนั้น ต้องมีการลงทุนมหาศาล
โดยการพัฒนา ระบบรางที่เห็นได้ชัดเจน และมีผลการต่อยกระดับการขนส่งทางรางของประเทศที่จะดีต่อการลดต้นด้านขนส่ง หรือ โลจิสติกส์ของประเทศ เริ่มจากรถไฟทางคู่ ซึ่งที่ผ่านมา ประเทศไทยมีรถไฟทางคู่ 4,508 กิโลเมตร มีรถไฟทางคู่ ที่เพียง 824 กิโลเมตร และรัฐบาลได้ทยอยเปิดประกวดราคาก่อสร้างรถไฟทางคู่ไปแล้ว ซึ่งในอนาคตมีเป้าหมายที่ไทยจะต้องมีการพัฒนารถไฟทางคู่ ทุกภูมิภาคถึงชายแดนเชื่อมกับประเทศในภูมิภาค คิดเป็นรถไฟทางคู่ 14 เส้นทาง 4,783 กิโลเมตร ในปี 2579
ไทย-จีน กรุงเทพ นครราชสีมา หนองคาย ระยะทาง 608 กิโลเมตร ซึ่งเริ่มงานในระยะที่ 1 ไปแล้ว การพัฒนาสถานีกลางบางซื่อ ที่เปลี่ยนฮวงจุ้ย ของกรุงเทพให้เป็นมหานครที่สมบูรณ์ ซึ่งในอนาคตเชื่อว่า รัฐบาลใหม่ หลังการเลือกตั้ง จะมาสานต่อในอีกหลายโครงการการพัฒนารถไฟฟ้า แก้ปัญหาการพัฒนารถไฟฟ้า แก้ปัญหาจราจรภายในเมือง ตามแผนแม่บทระยะที่ 11 เส้นทาง จะมีระยะทางรวม 496 กิโลเมตร 309 สถานี โดยหลังจากนี้ทุก 6 เดือน ประเทศไทย จะมีการเปิดส่วนต่อขยาย และรถไฟฟ้าสีใหม่ต่อเนื่อง โครงการพัฒนารถไฟความเร็วสูงภาคตะวันออก ทั้งโครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน ถึงจังหวัดระยอง โครงการรถไฟความเร็วสูง ความร่วมมือ
นอกจากนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ระบุด้วยว่า การพัฒนาระบบรางนั้น มีรายละเอียด ที่สำคัญต้องทำต่อ เช่น การเชื่อมโยงกับการพัฒนาพื้นที่รอบสถานี ให้เกิดความสวยงาม การเชื่อมต่อระบบขนส่งอื่น และการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ ขณะที่ด้านอุตสาหกรรม หากไทยมีการพัฒนาระบบรางเต็มรูปแบบ สามารถพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตตู้โบกี้รถไฟ เพื่อการใช้งานในประเทศ และป้อนแก่ประเทศเพื่อบ้านในภูมิภาคด้วย .- สำนักข่าวไทย