ยอดใช้สิทธิ FTA – GSP ม.ค 62 ลดลง ตามเศรษฐกิจโลกชะลอ

นนทบุรี 15 มี.ค. – พาณิชย์เผยยอดใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าทั้ง FTA – GSP ม.ค.62 ลดลง ตามเศรษฐกิจโลกชะลอ แต่มั่นใจทั้งปียังเติบโตได้ตามเป้าหมาย


นายอดุลย์ โชตินิสากรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า การใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ความตกลงการค้าเสรี (FTA) และภายใต้ระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (GSP) เดือนมกราคม 2562 มีมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ฯ รวม 5,734.47 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 74.60 ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 2.08 แบ่งเป็นการส่งออกใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ FTA 5,323.15 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ GSP 411.32 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งการใช้สิทธิประโยชน์ลดลงเป็นไปในทิศทางเดียวกับการส่งออกของไทยเดือนมกราคม 2562 ลดลงร้อยละ 5.65 มาจากผลกระทบของสงครามการค้า การผันผวนของค่าเงินในตลาดโลก และการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการเงินของหลายประเทศ


ทั้งนี้ การใช้สิทธิภายใต้ FTA ปัจจุบัน 12 ฉบับ และกำลังมีฉบับที่ 13 คือ ความตกลงอาเซียน-ฮ่องกง จะมีผลบังคับใช้ภายในครึ่งปีแรกนี้ โดยมีมูลค่าการใช้สิทธิ 5,323.15 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 76.58 ของมูลค่าการส่งออกรวมภายใต้ความตกลงการค้าเสรีไปยังประเทศคู่ภาคีความตกลง ลดลงร้อยละ 2.82 ตลาดส่งออกที่ไทยมีมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ฯ สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ อาเซียน 2,052.36 ล้านดอลลาร์สหรัฐ  จีน 1,243.63 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ญี่ปุ่น 705.25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ออสเตรเลีย  642.29 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และอินเดีย 354.91 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และเมื่อพิจารณาอัตราการขยายตัวของมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ฯ พบว่าตลาดที่มีอัตราการขยายตัวสูงสุด คือ เปรู ขยายตัวร้อยละ 90.43 รองลงมา เกาหลี ขยายตัวร้อยละ 18.88 และอินเดีย ขยายตัวร้อยละ 12.66 สินค้าส่งออกที่มีมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ฯ สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ รถยนต์บรรทุก ผลิตภัณฑ์ยางสังเคราะห์ผสมยางธรรมชาติ น้ำมันปิโตรเลียม ข้าว และกุ้งอื่น ๆ แช่แข็ง

สำหรับการใช้สิทธิ GSP ปัจจุบันไทยยังคงได้รับสิทธิประโยชน์จาก 5 ประเทศ ประกอบด้วย สหรัฐ สวิตเซอร์แลนด์ รัสเซียและเครือรัฐ เอกราช นอร์เวย์ และญี่ปุ่น โดยเดือนมกราคม 2562 มูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ระบบ GSP เท่ากับ 411.32 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อัตราการใช้สิทธิร้อยละ 55.86 ของมูลค่าการส่งออกที่ได้รับสิทธิ GSP ขยายตัวร้อยละ 8.62 โดยการใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ระบบ GSP สหรัฐ  ยังคงมีสัดส่วนการใช้สิทธิมากที่สุด คือ ประมาณร้อยละ 96 ของมูลค่าการใช้สิทธิ GSP มีมูลค่า 396.59 ล้านเหรียญสหรัฐ มีอัตราการใช้สิทธิร้อยละ 64.24 ของมูลค่าการส่งออกที่ได้รับสิทธิ GSP ซึ่งมีมูลค่า 617.39 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.45 สินค้าที่มีมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ฯ ภายใต้ระบบ GSP สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ส่วนประกอบเครื่องปรับอากาศ ถุงมือยาง อาหารปรุงแต่ง เครื่องดื่มอื่น ๆ และเลนส์แว่นตา


ทั้งนี้ ในปี 2562 กรมฯ ประมาณการเป้าหมายอัตราการขยายตัวมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ฯ ร้อยละ 9 หรือคิดเป็นมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ฯ ประมาณ 81,025 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากการส่งออกของไทยที่มีแนวโน้มขยายตัวไปตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ และการพัฒนาระบบการให้บริการของกรมฯ เพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งนโยบายของภาครัฐที่คาดว่าจะมีการออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อช่วยสนับสนุนภาคการส่งออกของไทยให้เติบโต.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน

วัยรุ่นซิ่งเบนซ์เสียหลักพุ่งเหินฟ้าคารถ 6 ล้อ

รอดตายปาฏิหาริย์! วัยรุ่นซิ่งเบนซ์เสียหลัก ก่อนพุ่งเหินฟ้าติดคาบนรถ 6 ล้อ พลเมืองดีเข้าช่วยเหลือออกมาจากรถ ปลอดภัย

กกต.สั่งเอาผิดอาญา “ชวาล” สส.ปชน. ยื่นบัญชีใช้จ่ายเท็จ

กกต.สั่งดำเนินคดีอาญา “ชวาล” สส.ปชน. ยื่นบัญชีค่าใช้จ่ายเลือกตั้งไม่ตรงความเป็นจริง โทษหนักทั้งจำคุก-ตัดสิทธิ 5 ปี

ข่าวแนะนำ

“พิธา-ทักษิณ” ช่วยหาเสียงผู้สมัครนายก อบจ.เชียงใหม่

“พิธา” ลงพื้นที่ตลาดต้นลำไย จ.เชียงใหม่ พบปะพี่น้องประชาชน ด้านพรรคเพื่อไทย “ทักษิณ” ขึ้นเวทีแนะนำ “พิชัย เลิศพงศ์อดิศร หรือ สว.ก๊อง” ผู้สมัครนายก อบจ.เชียงใหม่

ไตรภาคีเคาะแล้ว! ค่าจ้างขั้นต่ำ มีผล 1 ม.ค.68

ไตรภาคี เคาะค่าจ้าง 400 บาท ลูกจ้าง 4 จังหวัด 1 อำเภอ “ภูเก็ต-ฉะเชิงเทรา-ชลบุรี-ระยอง-อ.เกาะสมุย” มีผล 1 ม.ค.68 ขึ้นค่าจ้าง 7-55 บาท 3 จังหวัดชายแดนใต้ได้วันละ 337 บาท

“ภูมิธรรม” สั่งปิดชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก 1 เดือน สกัดอหิวาตกโรค

“ภูมิธรรม” สั่งปิดชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก 1 เดือน สกัดอหิวาตกโรค ไม่ให้ระบาดในไทย พร้อมยกมาตรรักษาสุขภาวะในพื้นที่อย่างเข้มข้น