สธ.12 ก.พ.-4ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯห่วงอนาคตไทยเด็กไทยเผชิญ PM 2.5 ทำป่วยหนักเสี่ยงภูมิแพ้ ไม่เว้น พ่อแม่เด็ก หญิงตั้งครรภ์ เสี่ยงมีลูกเกิดภูมิแพ้ได้ร้อยละ 70
นพ.พิภพ จิรภิญโญ ประธานราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และนายกสมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และพญ.พรรณทิพา ฉัตรชาตรี สมาคมโรคภูมิแพ้ โรคหืด และวิทยาภูมิคุ้มกันแห่งประเทศไทย และ พญ.จิตลัดดา ดีโรจนวงศ์ สมาคมโรคระบบหายใจและเวชบำบัดวิกฤตในเด็ก แถลงข่าวมลพิษPM2.5 ต่อสุขภาพเด็กและทารกในครรภ์ ว่า สถานการณ์ ฝุ่นขนาดเล็ก PM 2.5 ขณะนี้มีเกือบทุกพื้นที่ของไทย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเด็กและในระยะยาว ทั้งเกิดโรคต่างๆ มีตั้งแต่เล็กน้อย เช่น ป่วยระบบทางเดินหายใจ หายช้า จนถึงป่วยมะเร็งก็อาจมีได้ ดังนั้นจึงอยากเรียกร้องให้เร่งแก้ไขปัญหาฝุ่นโดยเร็วให้หมดไปจากประเทศไทยและเพิ่มการตระหนัก พร้อมปรับเปลี่ยนจากคุณภาพอากาศและฝุ่นละอองPM 2.5 ในเท่ากับสากล ขององค์การอนามัยโลก เพื่อส่งสัญญาณเตือนได้อย่างมั่นใจและปลอดภัย
นพ.พิภพ กล่าวว่า หญิงตั้งครรภ์ อายุครรภ์น้อยกว่า 6 เดือน ควรเลี่ยงการเข้าพื้นที่ที่มี PM2.5สูง เพราะอาจส่งผลต่อการพัฒนาอวัยวะ ทั้งปอดและสมองของทารก ขณะเดียวกันพบว่าเด็กปกติ หากต้องเผชิญกับคุณภาพอากาศ AQI มากกว่า100และ PM2.5 มากกว่า 50 ก็เริ่มส่งผลต่อสุขภาพแล้ว และในผู้ปกครอง พบว่าหากป่วยเป็นภูมิแพ้ ทั้งพ่อและแม่ เด็กก็มีโอกาสเกิดภูมิแพ้ได้มากถึงร้อยละ 70. ขณะที่พ่อหรือแม่ป่วยภูมิแพ้ เพียงคนเดียวเด็กอาจเสี่ยงเกิดภูมิแพ้ได้ร้อยละ 30 โดยภูมิแพ้ในเด็กมีทั้ง อากาศ, นมวัว, ไก่ ,ไข่ ,หมู และข้าว
พญ.จิตลัดดา กล่าวว่า สำหรับในเด็กที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง เช่น หอบหืด ปอด เยื่อบุจมูกอักเสบและหัวใจ หากอยู่ในสภาพอากาศที่ค่าAQI มากกว่า50 ไม่โครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร หรือPM2.5 มากกว่า 37 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรก็ส่งผลต่อสุขภาพแล้ว ขณะเดียวกันคุณภาพอากาศที่เหมาะสม ในอาคาร AQI ไม่ควรเกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และPM2.5 ไม่ควรเกิน 37 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร หากเกินก็ควรปิดหน้าต่างให้มิดชิด และเลือกทำควรสะอาดบ้านด้วยการถูด้วยผ้าเปียก เพื่อลดฝุ่น และอาจใช้เครื่องฟอกอากาศร่วมด้วย
พญ.พรรณทิพา กล่าวว่า สถานการณ์ฝุ่นทำให้เด็กป่วยหอบหืดหรือภูมิแพ้ อยู่แล้ว มีอากาศรุนแรงขึ้นหายช้าลง แค่เป็นหวัดจากเดิม3-5 วันหาย บางคนนานถึง 2 อาทิตย์ก็ไม่หายเนื่องจากสภาพอากาศไม่ดี อีกทั้งบางคนแต่ก่อนอาการไม่รุนแรง หยุดยา แล้วก็ต้องกลับมากินซ้ำอีก ระคายเคืองง่ายขึ้น สำหรับมาตรการในโรงเรียน นอกจากความติดตามสภาพอากาศแล้ว หากว่าค่า AQI มากกว่า 100 ไมโครกรัมต่อลูกบาส์กเมตร และ PM2.5มากกว่า 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ควรให้เด็กสวมหน้ากากอนามัย และหากค่าAQI มากกว่า 200 ไมโครกรัมต่อลูกบาส์กเมตร และ PM2.5มากกว่า 90 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ควรหยุดเรียน
ขณะเดียวกันเด็กที่ป่วยระบบทางเดินหายใจและหัวใจ หากค่า AQI มาก กว่า100 ไมโครกรัมต่อลูกบาส์กเมตร และPM2.5 มากกว่า 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ก็ควรงดทำกิจกรรมกลางแจ้งหรือพิจารณาหยุดเรียน และควรปรับค่า PM 2.5ในไทยให้เท่าสากล ตามองค์การอนามัยโลกกำหนดมาตรฐานค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงของฝุ่น PM 2.5 ไว้ที่ไม่เกิน 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ในแต่ละวัน และมีค่าเฉลี่ยรายปีอยู่ที่10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร. .-สำนักข่าวไทย