ความเปลี่ยนแปลงสำคัญ “ภาษีมูลค่าเพิ่ม” กับ “ธุรกิจค้าออนไลน์”

กทม. 18 ต.ค.-ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีที่ทุกคนต้องจ่ายในชีวิตประจำวัน ในปีนี้มีการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญและจะขยายฐานเข้าสู่ธุรกิจใหม่ๆ กลุ่มค้าขายออนไลน์หรืออี-คอมเมิร์ซ


ภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT) เป็นภาษีที่ประเทศไทยนำมาใช้ตั้งแต่ปี 2535 ในช่วงที่ประเทศไทย อยู่ในช่วงเศรษฐกิจขาขึ้นโดยเป็นการนำมาใช้แทนภาษีการค้า โดยภาษี VAT ที่ประกาศใช้ในครั้งแรก อยู่ที่อัตรา 10% ก่อนที่จะมีการปรับลด 7 % สำหรับข้อมูลอัตราภาษีในกลุ่มภูมิภาคเดียวกับไทย โดยจากข้อมูลล่าสุดในภูมิภาคนี้ บรูไน เป็นประเทศเดียวที่ไม่มีการจัดเก็บ VAT

นอกจากนี้ เป็นข้อมูลอีกนิด ภาษี VAT นี้ ที่มีการประกาศปรับลด มาจัดเก็บที่ 7% และรัฐบาลทุกยุคทุกสมัย ต่างก็ต้องประกาศใช้มติ คณะรัฐมนตรี ขายเวลาปรับลดอัตราจัดเก็บ คงไว้ที่ 7 % เพราะเป็นภาษีที่กระทบคนจำนวนมาก และมีผลโดยตรงต่อภาวะเศรษฐกิจ ในปีนี้ก็เช่นกัน ครม.เห็นชอบให้ขยายเวลาลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม ในอัตรา 6.3% ไม่รวมภาษีท้องถิ่น หรืออัตรา 7% ต่อไปอีกเป็นเวลา 1 ปี จนถึง 30 กันยายน 2562 จากเดิมที่จะครบวาระปรับลด VAT ในวันที่ 30 กันยายนนี้ 


ส่วนความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับการจัดเก็บ VAT มาจากมาตรการ ที่คณะรัฐมนตรี มีมติ เรื่องการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้กับผู้มีรได้น้อย เมื่อวันที่ 18 กันยายนที่ผ่านมา ตามแนวความคิดว่าผู้มีรายได้ต่ำกว่า 100,000 บาทต่อปี เวลาซื้อสินค้าควรได้รับการดูแลเรื่องการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่ควรเสียภาษีเท่ากับคนที่มีรายได้มากกว่า โดยจะใช้กลไกลบัตรสวัสดิการแห่งรัฐคืนเงินให้ โดยเสีย  VAT ตามจริงแค่ 1% จากปกติ 7% โดยผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐใช้บัตรซื้อของร้านธงฟ้าที่จดทะเบียนเสียภาษีและมีการติดตั้งเครื่องอุปกรณ์พ่วงอ่านบัตรจะแยกจำนวนภาษี VAT ทุกๆ ครั้งที่ใช้จ่าย 

นอกจากนี้การเก็บ VAT จะมีการขยายฐานจัดเก็บรายได้เข้าสู่ภาครัฐมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการ อี-คอมเมิร์ซ ซึ่งปัจจุบันมีการค้าขายอัตราเติบโตสูง 20-30% คณะรัฐมนตรี มีมติในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อรับรองการจัดเก็บภาษีจากผู้ประกอบธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บ VAT จากการให้บริการจากต่างประเทศโดยผู้ประกอบการอิเล็กทรอนิกส์ในต่างประเทศ ทั้งเจ้าของผลิตภัณฑ์ของตนเองแล้วนำเข้ามาขายในประเทศไทย และเป็นเจ้าของแพลตฟอร์มร้านค้า ซึ่งกฎหมายได้กำหนดว่าผู้ประกอบการทั้งสองประเภท จะต้องมาจดทะเบียน VAT และจัดตั้งบริษัทตัวแทนในประเทศไทย .-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ผ่าไชน่า เรลเวย์ คว้า 3 โครงการรัฐในภูเก็ต

เหตุการณ์ตึก สตง.ถล่ม กลายเป็นปฐมบทในการปูพรมตรวจสอบบริษัท ไชน่า เรลเวย์ หลังพบเป็นผู้ชนะการประมูลโครงการก่อสร้างตึก สตง. และโครงการรัฐหลายแห่งทั่วประเทศ ล่าสุดที่ จ.ภูเก็ต ตรวจพบ 3 โครงการ และหนึ่งในนั้นกำลังมีปัญหาก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน

มหาสงครามโลก

นักวิชาการชี้ “มหาสงครามโลกครั้งที่ 3” เกิดแน่ถ้าโลกยังตึงเครียด

นักวิชาการด้านความมั่นคงและการต่างประเทศระดับแนวหน้าของไทย มีความเห็นตรงกันว่า หากผู้นำชาติมหาอำนาจไม่เร่งลดระดับความตึงเครียดสถานการณ์โลก

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว หลังอยู่ปฏิบัติภารกิจค้นหา-กู้ชีพ สนับสนุนกู้ภัยไทย เหตุตึก สตง.ถล่ม กว่า 1 สัปดาห์

ธรรมชาติใต้ดินเปลี่ยนไป หลังแผ่นดินไหว 1 สัปดาห์

แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ส่งแรงสั่นสะเทือนในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ แม้บนพื้นผิวดินจะไม่ได้สร้างความเสียหายมากนัก แต่พบความเปลี่ยนแปลงสภาพใต้ดินจนเกิดปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทั้งหลุมยุบขนาดใหญ่ น้ำพุร้อนที่เคยพุ่งจากใต้ดินหายไป แต่น้ำตกที่แห้งในหน้าแล้งกลับมีน้ำไหลออกมา ซึ่งนักธรณีวิทยายืนยันเป็นผลพวงจากแผ่นดินไหวครั้งนี้

ข่าวแนะนำ

ผู้ว่าฯ ชัชชาติ คาดโซน C พบผู้เสียชีวิตมากสุด

เข้าสู่วันที่ 10 ค้นหาผู้ประสบภัยในซากตึก สตง.ถล่ม “ผู้ว่าฯ ชัชชาติ” คาดโซน C น่าจะพบผู้เสียชีวิตมากที่สุด เบื้องต้นพบผู้เสียชีวิตบริเวณนี้ประมาณ 10-20 ร่าง ด้าน “ช่างเบิร์ด” ที่ทำงานวางระบบไฟฟ้า เผยเจรจากับบริษัทผู้จ้างมาแล้ว 3 ครั้ง แต่จนถึงวันนี้ยังไม่ได้รับเงินที่ค้างอยู่

สิ้น “ผ่องศรี วรนุช” ศิลปินแห่งชาติ วัย 85 ปี

วงการบันเทิงเศร้า “ผ่องศรี วรนุช” ศิลปินแห่งชาติ ราชินีลูกทุ่งคนแรกของไทย จากไปอย่างสงบ ในวัย 85 ปี หลังป่วยมะเร็งปอดและเข้ารับการรักษามาระยะหนึ่ง

Trump signs order on new tariffs

สหรัฐเริ่มแล้วเก็บภาษี 10% สินค้านำเข้าจากทั่วโลก

วอชิงตัน 6 เม.ย.- ศุลกากรสหรัฐเริ่มมาตรการเก็บภาษีในอัตราร้อยละ 10 กับสินค้านำเข้าทั้งหมดจากทั่วโลกแล้วตั้งแต่วันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ ก่อนที่จะเก็บภาษีเพิ่มกับแต่ละประเทศในสัปดาห์หน้า อัตราภาษีพื้นฐานร้อยละ 10 มีผลกับสินค้าทั้งหมดที่นำเข้าสหรัฐผ่านด่านทางทะเล ทางอากาศ และโกดังของศุลกากรตั้งแต่เวลา 00.01 น.วันที่ 5 เมษายน 2568 ตามเขตเวลาตะวันออก ตรงกับเวลา 11.01 น.วันเดียวกันตามเวลาไทย อย่างไรก็ดี สินค้าที่ถูกลำเลียงแล้วหรืออยู่ระหว่างขนส่งเข้าสหรัฐก่อนเวลาดังกล่าวจะได้รับการผ่อนผันไม่ถูกเก็บภาษีร้อยละ 10 โดยต้องมาถึงสหรัฐภายในวันที่ 27 พฤษภาคมหรือภายใน 51 วัน ส่วนภาษีที่สหรัฐจะเรียกเก็บเพิ่มจากแต่ละประเทศในอัตราที่แตกต่างกัน มีตั้งแต่ร้อยละ 11 ไปจนถึงร้อยละ 50 จะเริ่มมีผลตั้งแต่เวลา 00.01 น.วันที่ 9 เมษายน 2568 ตามเขตเวลาตะวันออก ซึ่งขณะนี้ช้ากว่าไทย 11 ชั่วโมงเนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูร้อน โดยไทยจะถูกเรียกเก็บเพิ่มในอัตราร้อยละ 36 สำหรับสินค้าประมาณ 1,000 ประเภทที่ได้รับการยกเว้นจากมาตรการภาษีใหม่ของสหรัฐ เช่น ยา ยูเรเนียม เซมิคอนดักเตอร์ รัฐบาลสหรัฐกำลังพิจารณาเรื่องอัตราภาษีใหม่ที่จะใช้กับสินค้าเหล่านี้ ประธานาธิบดีโดนัลด์ […]

ทีมกู้ภัยนำร่างผู้เสียชีวิตออกมาได้เพิ่ม

วันที่ 9 ของภารกิจค้นหาผู้ติดค้างใต้ซากตึก สตง. เจ้าหน้าที่กู้ภัยและเจ้าหน้าที่ส่วนอื่นๆ นำกำลังเข้าพื้นที่ค้นหา ล่าสุดสามารถนำร่างผู้เสียชีวิตออกมาได้เพิ่ม