กรุงเทพฯ 11 ก.ย.- ปรับแผนAEDPใหม่ เพิ่มสัดส่วนผลิตไฟฟ้าจากชีวมวล
พลังงานแสงอาทิตย์ และขยะ ทดแทนสัดส่วนลดเชื้อเพลิงชีวภาพ เพราะแนวโน้มรถอีวี-รถไฟฟ้าจะเข้ามาแทนที่
โดย พพ.เดินหน้าส่งเสริมอาคารประหยัดพลังงาน (BEC )
ย้ำกฏหมายบังคับใช้เริ่มปีหน้า
นายประพนธ์ วงษ์ท่าเรือ
อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน(พพ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้พพ.อยู่ระหว่างการปรับแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP 2018 )ปีพ.ศ.2561-80และแผนอนุรักษ์พลังงาน(EEP2018)เพื่อให้สอดรับกับแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศฉบับใหม่(PDP-2018)โดยแผน AEDP ใหม่
จะยังคงเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนทั้งในรูปของพลังงานไฟฟ้า
ความร้อนและเชื้อเพลิงชีวภาพ 30% ของการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายในปี2580 และแผนจะจัดทำเป็นรายภูมิภาคสอดรับกับแผน PDP ที่กำหนด 6 ภูมิภาค +
กับพื้นที่กรุงเทพมหานคร
เบื้องต้นการส่งเสริมพลังงานทดแทนในรูปของการผลิตไฟฟ้าจะมีสัดส่วนภาพรวมที่เพิ่มขึ้นได้แก่
พลังงานแสงอาทิตย์โดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์ติดตั้งบนหลังคาที่อยู่อาศัย(โซลาร์รูฟท็อป)
, โรงไฟฟ้าชีวมวลที่จะเพิ่มสัดส่วนได้มากกว่าแผนเดิมที่กำหนดไว้กว่า 5,500เมกะวัตต์ ,โรงไฟฟ้าขยะ
ซึ่งส่วนที่เพิ่มขึ้นทั้งหมดจากแผนเดิมจะทดแทนสัดส่วนของเชื้อเพลิงชีวภาพทีลดลงจากแผนAEDPเดิมที่ปลายแผนปี2579 กำหนดส่งเสริมการใช้เอทานอลไว้ที่
11.30 ล้านลิตรต่อวัน ไบโอดีเซลไว้ที่ 14 ล้านลิตรต่อวัน การที่ลดลง เพราะยานยต์ไฟฟ้า (อีวี )
รวมทั้งระบบรางที่รัฐบาลกำลังเดินหน้าก่อสร้าง
ทำให้การใช้น้ำมันภาพรวมในอนาคตจะลดลง
นายประพนธ์ กล่าวว่า ในเรื่องแผนเกณฑ์มาตรฐานการออกแบบอาคารด้านพลังงาน
Building Energy Code (BEC) จะมีสัดส่วนให้ประหยัดพลังงานได้ 47,000 ล้านบาทในปลายแผนอนุรักษ์พลังงาน
(EEEP) เดิมในปี 2579 โดยหลักเกณฑ์ BEC จะบังคับเป็นกฏหมาย และขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา หลักเกณฑ์สำคัญคือบังคับใช้ลดการใช้พลังงานร้อยละ10 ของอาคารทั่วไป เบื้องต้นแนวทางบังคับใช้จะเริ่มต้นที่อาคารที่ขออนุญาตสร้างใหม่หรือดัดแปลงอาคารเพิ่มเติมที่มีขนาด
10,000 ตารางเมตรขึ้นไป คาดต้นปี2562มีผลบังคับใช้ และในปี
2563 การบังคับจะเริ่มที่ขนาด 5,000 ตารางเมตร และปี 2564
จะเริ่มบังคับสำหรับอาคารขนาด 2,000 ตารางเมตรขึ้นไป
อย่างไรก็ตาม
พพ.ได้จูงใจจัดให้อาคารประหยัดพลังงานได้จัดประกวดฉลากรับรองอาคาร (BEC Awards) ซึ่งในปีนี้
มีอาคารที่ผ่านการตรวจประเมิน 114 อาคาร จาก 33 หน่วยงาน
มีอาคารที่ได้รับฉลากทั้งสิ้น 18 อาคาร แบ่งเป็นระดับอาคารดีเด่น ผู้ได้รับ
1 หน่วยงาน จาก 1 อาคาร ระดับดีมาก ผู้ได้รับ 7 หน่วยงาน จาก 15 อาคาร
และระดับดี มีผู้ได้รับ 2
หน่วยงาน จาก 2 อาคาร
ทั้งนี้
การจัดมอบฉลากรับรองอาคาร BEC Awards ดังกล่าว พพ. ได้ดำเนินการจัดเป็นปีที่ 3
ติดต่อกัน ซึ่งจากการดำเนินการตรวจแบบ BEC ของ พพ. ตั้งแต่ปี
2552 -2561 ได้ตรวจประเมินอาคารแล้วกว่า
650 อาคาร มีอาคารที่ได้รับฉลากแบบอาคาร (มีการมอบตั้งแต่ปี 2559 – 2561) รวมทั้งสิ้น 114 อาคาร โดยพพ.
พร้อมจะส่งเสริมให้เกิดอาคารที่ได้รับฉลากรับรองมาตรฐานการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงานต่อเนื่อง
เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานของเกณฑ์ BEC ซึ่งจะเกิดผลประหยัดพลังงานประมาณ
430 ล้านหน่วย หรือคิดเป็นประมาณ 1,500 ล้านบาท
นายโกมล บัวเกตุ
ผู้อำนวยการสานักกำกับและอนุรักษ์พลังงาน กล่าวเพิ่มเติมว่า พพ.ได้จัดตั้งหน่วยงานภายในชื่อ
ศูนย์ประสานงานการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน เพื่อเป็นหน่วยงานให้
คำปรึกษา แนะนำ ช่วยเหลือทางด้านวิชาการ เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์
จัดฝึกอบรมและขึ้นทะเบียนผู้ตรวจ รับรองแบบอาคาร
และอบรมให้ความรู้แก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นผู้อนุญาตการก่อสร้างอาคารเพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการบังคับใช้เกณฑ์
BEC ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต-สำนักข่าวไทย