กรุงเทพฯ 1 ก.ย.-พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เชิญชวนเที่ยว “งานเกษตรสร้างชาติ” คาดปีนี้ส่งออกข้าวได้ไม่น้อยกว่า
10
ล้านตัน
นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2561 โดยระบุว่าในสัปดาห์นี้ รัฐบาลโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ร่วมกับกรุงเทพมหานคร จัด “งานเกษตรสร้างชาติ” ขึ้น ระหว่างวันที่ 30 สิงหาคม – 2 กันยายน นี้ ณ
สวนลุมพินี เป็นอีกงานที่มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก
เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจมหภาครวมทั้งการสร้างงาน สร้างรายได้
สร้างอาชีพให้กับพี่น้องเกษตรกร โดยการส่งเสริมให้เกษตรกรพัฒนายกระดับสินค้าเกษตร
และเข้าสู่การแข่งขันในตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากตลาดท้องถิ่น ตลาดภูมิภาค
สู่ตลาดต่างประเทศ และตลาดออนไลน์ให้คนในเมืองได้เห็นอย่างเป็นรูปธรรม
และเปิดโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน ทั้งเกษตรกรผู้ผลิตและผู้บริโภค
ซึ่งย่อมจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจฐานราก มีการกระจายตัวของรายได้มากขึ้น
ตลอดจนสามารถเชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภคได้โดยตรง จึงขอเชิญชวนประชาชน
ผู้ประกอบการ นักธุรกิจ และผู้ที่สนใจเข้าเยี่ยมชม
และทำความเข้าใจว่าเกษตรสร้างชาติได้อย่างไร อีกทั้ง
มาเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนภาคการเกษตร
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่าการสร้างอนาคตประเทศไทย จะสำเร็จสมบูรณ์ไม่ได้
ถ้าวันนี้ไม่มีรากฐานที่แข็งแรงของภาคการเกษตร
ซึ่งถือเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ หากมองย้อนกลับไป ทุกอย่างค่อย ๆ
ปรับเปลี่ยนในทางที่ดีขึ้น ได้รับความเชื่อมั่นจากต่างชาติมากขึ้น มี Start up ภาคการเกษตร มี Young Smart
Farmer เกิดขึ้นมากมาย
เปรียบเสมือนเป็นอนาคตที่สำคัญในภาคการเกษตร
ปัจจุบันมีกลุ่มเกษตรกรที่เข้มแข็ง
ได้แก่ Smart Farmerมากกว่า 1 ล้านราย มีเกษตรกรรุ่นใหม่ Young Smart Farmer ที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพแล้วเกือบ
8,000 ราย
มีอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (อกม.) ที่คอยสนับสนุนงานทั่วประเทศ กว่า 75,000 ราย
กลุ่มแม่บ้านเกษตร ประมาณ 20,000 กลุ่ม สมาชิกราว 480,000 ราย สมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกรทั้งประเทศมากกว่า 160,000 ราย นอกจากนี้
ยังมีศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในสินค้าเกษตร (ศพก.) ที่มีเกษตรกรต้นแบบ
882 ราย สมาชิกแปลงใหญ่ เกือบ 3,900 กลุ่ม ซึ่งทั้งหมดเป็นผลมาจากการพัฒนางานการเกษตรมาอย่างต่อเนื่อง
เพื่อให้พี่น้องชาวเกษตรกรของเรามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
สำหรับนโยบายเรื่องข้าว
ซึ่งเป็นพืชอาหารหลักของประชาชนในประเทศ และเกี่ยวข้องกับเกษตรกรกลุ่มใหญ่ของประเทศ
ได้มีแนวทางการส่งเสริมและสนับสนุนให้ทำการเกษตรแบบรวมกลุ่มที่เรียกว่า
ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่)
โดยมีการบริหารจัดการแปลงอย่างเป็นระบบเพื่อให้การผลิตมีศักยภาพสูงสุด
ได้ผลผลิตสูง คุณภาพดี มีต้นทุนการผลิตลดลง
อีกทั้งมีการเชื่อมโยงตลาดเข้ากับการผลิต
เพื่อสร้างเสถียรภาพและความเชื่อมั่นในเรื่องราคาที่เป็นธรรมกับทุกฝ่าย เกษตรกรมากกว่าร้อยละ
80 มีความพึงพอใจในการรวมกลุ่มทำนา เนื่องจากทำให้กลุ่มมีความเข้มแข็งขึ้น
มีรายได้เพิ่มขึ้น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการตลาด
ทั้งของวิสาหกิจชุมชนด้านข้าวและสหกรณ์การเกษตร ได้รับรายงานว่า
เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น 1,325 บาทต่อไร่ โดยปีแรกที่เริ่มทำเพิ่มขึ้น 115 บาทต่อไร่ ปีที่ 2
เพิ่มขึ้น 1,211 บาทต่อไร่ ซึ่งเป็นผลมาจากผลผลิตข้าวที่เพิ่มขึ้นร้อยละ17.5
ขณะที่ต้นทุนการผลิตลดลงร้อยละ 19
ขณะนี้มีชาวนาที่ให้ความสนใจเข้าร่วมโครงการนาแปลงใหญ่จำนวนกว่า 1,900 แปลง
รวมเกษตรกรกว่า 170,000 ราย ครอบคลุมพื้นที่กว่า 2.4 ล้านไร่ใน 71 จังหวัด
ในจำนวนนี้เป็นการดำเนินงานในศูนย์ข้าวชุมชนจำนวน 368 แปลง ซึ่งในปีงบประมาณ 2562
มีแผนที่จะขยายพื้นที่เพื่อให้เป็นผลดีต่อชาวนาเพิ่มขึ้น
โดยให้ความสำคัญกับศูนย์ข้าวชุมชนเป็นอันดับแรก
เนื่องจากเป็นองค์กรชาวนาที่มีความเข้มแข็ง มั่นคง
และเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาข้าวและชาวนา ในแต่ละท้องถิ่น
ปัจจุบัน มีศูนย์ข้าวชุมชนที่ขึ้นทะเบียนกับกรมการข้าวแล้วประมาณ
1,800 ศูนย์
และตั้งเป้าไว้ที่ 7,000 ศูนย์ ในปี 2564 (อีก 3 ปีข้างหน้า)
สำหรับการส่งเสริมและถ่ายทอดการพัฒนาและผลิตข้าวแบบแปลงใหญ่
ให้กระจายสู่ชาวนาทุกพื้นที่และเชื่อมโยงสู่ตลาด ก็คือตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง
ปลายทาง รวมทั้งการขับเคลื่อนการผลิตข้าวพันธุ์ดีไว้บริการชาวนาในแต่ละท้องถิ่น
ทราบว่าสามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีรวมกันได้ปีละไม่น้อยกว่า 100,000 ตัน
ซึ่งนับว่าเป็นองค์กรหลักของชาวนาที่มีประสิทธิภาพ เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางจากหน่วยงานต่าง
ๆ รวมทั้งชาวนาทั่วไป
สำหรับสถานการณ์ข้าวในปีนี้ หลายประเทศต้องประสบกับปัญหาภัยพิบัติต่าง ๆ
ทำให้พื้นที่เพาะปลูกได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก
จึงจำเป็นต้องพึ่งพาการนำเข้าสินค้าข้าวซึ่งเป็นอาหารหลักของชาวเอเชีย
จึงเป็นปีทองของข้าวไทยอีกปีหนึ่งต่อจากเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งไทยส่งออกข้าวทั้งสิ้น 11.63 ล้านตัน
คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 1.93 แสนล้านบาท โดยคาดว่าปีนี้จะส่งออกข้าวได้ไม่น้อยกว่า 10 ล้านตัน
ซึ่งจะเป็นผลดีต่อราคาข้าวเปลือกในประเทศ อย่างไรก็ตาม ยังคงจำเป็นต้องร่วมมือกันดำเนินการตามนโยบายตลาดนำการผลิต
ไม่ใช่เฉพาะเรื่องข้าว
แต่รวมไปถึงพืชผลทางการเกษตรอื่น ๆ ของประเทศด้วย
นอกจากนี้ การส่งเสริมการเกษตรยังได้มุ่งเน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตรอย่างต่อเนื่อง
อีกด้วย เช่น มะม่วง จากเดิมเราปลูกเป็นพืชหลังบ้าน
ปัจจุบันส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ใช้ ศพก. เชื่อมโยงเครือข่ายกลุ่มผู้ปลูกมะม่วงทั้งประเทศ
มีการจัด Zoning นำเทคโนโลยีการผลิตส่งเสริมเกษตรกรในพื้นที่ ทั้งการตัดแต่งกิ่ง
ควบคุมโรคแมลง ห่อผล ส่งเสริมการทำผลผลิตนอกฤดู พัฒนามาตรฐานตามระบบ GAP และวางระบบ Logistic อย่างเหมาะสม
จนสามารถสร้างแบรนด์ Thai Golden Mango ส่งมะม่วงออกต่างประเทศได้กว่า
70,000
ตัน สร้างมูลค่าให้กับประเทศได้กว่า 3,000 ล้านบาท และสินค้าเกษตรหลายชนิด ยังสามารถปลูกเพื่อทำรายได้กลับเข้าสู่ประเทศ
เช่น กล้วยไม้ ทุเรียน ลำไย มังคุด กาแฟ โดยมูลค่าการผลิตภาคเกษตร GDP คิดเป็นมวลรวมภาคเกษตรได้
1.35 ล้านล้านบาท –สำนักข่าวไทย