หนุนจุลเอสเอ็มอีกว่า 2.7 ล้านรายจดทะเบียน

กรุงเทพฯ 24 ส.ค. – ม.หอการค้าไทยเผยผลสำรวจชี้เอสเอ็มอีขนาดกลางและจดทะเบียนสามารถรับรู้ข้อมูลเข้าถึงมาตรการสนับสนุนภาครัฐได้ดี สวนทางกับรายย่อยที่อยู่นอกระบบ ด้านเอสเอ็มอีแบงก์พร้อมเจาะลึกลงถึงท้องถิ่น เพื่อหนุนเข้าสู่ระบบ


นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวถึง “การประเมินความสามารถในการเข้าถึงนโยบายภาครัฐของ SMEs ไทย” จากการสำรวจเอสเอ็มอี 1,200 ตัวอย่างทั่วประเทศ พบว่า สัดส่วนกลุ่มเอสเอ็มอีที่รู้ถึงมาตรการและความช่วยเหลือจากรัฐบาลร้อยละ 60.31 ส่วนกลุ่มที่ไม่รู้ร้อยละ 39.69 โดยในจำนวนกลุ่มที่รับรู้ร้อยละ  30.54 ระบุว่า รับรู้ระดับสูงมาก ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มจดทะเบียนร้อยละ 80.3 และเป็นธุรกิจขนาดกลางถึงร้อยละ 90.9 ส่วนช่องทางที่ทำให้รับรู้ส่วนใหญ่ร้อยละ 35.15 มาจากการบอกต่อของคนสนิท และร้อยละ 33.68 มาจากเจ้าหน้าที่รัฐลงไปแนะนำ 

ขณะที่สิ่งที่รับรู้มากที่สุด คือ มาตรการสนับสนุนสินเชื่อจากสถาบันการเงินของรัฐร้อยละ 76.7 มาตรการด้านภาษีร้อยละ 71.2 และการเสริมทักษะความรู้ร้อยละ 53.6  ทางด้านกลุ่มที่ระบุว่าไม่รู้ บอกเหตุผลว่า ไม่มีเวลาติดตามข้อมูลข่าวสารร้อยละ 34.35 ไม่ได้อยู่ในกลุ่มหรือเครือข่าย เช่น สมาคม หรือสมาพันธ์ต่าง ๆ ร้อยละ 18.88 และช่องทางสื่อสารกระจุกตัวเฉพาะในสื่อของภาครัฐร้อยละ 17.25 เป็นต้น ด้านทัศนะต่อความสามารถในการเข้าถึงนโยบายและมาตรการของรัฐและธุรกิจ พบว่าร้อยละ 55.61 เข้าถึงได้ระดับปานกลาง ส่วนที่ไม่สามารถเข้าถึงได้เลย มีเพียงร้อยละ 4.17 โดยส่วนใหญ่กลุ่มธุรกิจที่จดทะเบียนและเป็นธุรกิจขนาดกลางจะสามารถเข้าถึงมาตรการและความช่วยเหลือของภาครัฐได้ดี  สวนทางกับกลุ่มไม่จดทะเบียนและขนาดเล็กระบุว่า เข้าถึงมาตรการและความช่วยเหลือของภาครัฐได้น้อยหรือไม่เคยเข้าถึงเลย


ทั้งนี้ ผลสำรวจสอดคล้องกับการสำรวจในหัวข้อ “การใช้หรือการเข้าร่วมนโยบายหรือมาตรการที่รัฐออกมาช่วยเหลือ SMEs” สิ่งน่าสนใจ คือ เอสเอ็มอีกลุ่มที่ไม่จดทะเบียน ตอบว่าเคยใช้บริการหรือเข้าร่วมโครงการเพียงร้อยละ 9.3 เท่านั้น ขณะที่เอสเอ็มอีที่จดทะเบียนเข้าไปใช้บริการร้อยละ 49.6 แสดงให้เห็นว่าเอสเอ็มอี ที่จดทะเบียนมีโอกาสเข้าถึงความช่วยเหลือภาครัฐมากกว่าเอสเอ็มอีที่ไม่จดทะเบียน และหากประเมินจากขนาดธุรกิจแล้ว เอสเอ็มอีขนาดกลางร้อยละ 81.8 ตอบว่าเคยเข้าร่วมโครงการ แต่เอสเอ็มอีขนาดเล็กเข้าร่วมโครงการเพียงร้อยละ 17.1 เท่านั้น เมื่อสอบถามสาเหตุที่ไม่เคยใช้หรือไม่เคยเข้าร่วมโครงการที่รัฐบาลออกมาช่วยเหลือ กลุ่มตัวอย่างตอบเหตุผล เช่น มาตรการและนโยบายยังไม่ตรงความต้องการ ช่องทางการรับรู้ข่าวสารไม่เพียงพอ ไม่มีเบี้ยเลี้ยงหรือค่าเดินทาง ไม่มีเอกสารยืนยันตัวตนทำให้ไม่ได้รับสิทธิ์ตามเงื่อนไข เป็นต้น

นายมงคล ลีลาธรรม กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้สะท้อนว่าเอสเอ็มอีที่ยังไม่รับรู้และเข้าไม่ถึงมาตรการช่วยเหลือและการสนับสนุนของภาครัฐ ส่วนใหญ่จะเป็นรายเล็กและไม่จดทะเบียน ทำให้ตกสำรวจ มาตรการช่วยเหลือต่าง ๆ จึงเข้าไม่ถึง ที่ผ่านมารัฐบาลทำงานเชิงรุกเป็นฝ่ายเดินเข้าไปสนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อยเอง ขณะที่เอสเอ็มอีแบงก์ยกระดับการทำงาน โดยมีหน่วยบริการเคลื่อนที่ “รถม้าเติมทุน ส่งเสริม SMEs ไทย ฉับไว ไปถึงถิ่น” ให้บริการคนตัวเล็กถึงถิ่น อีกทั้งมีบริการแพลตฟอร์ม “SME D Bank” สามารถยื่นกู้ออนไลน์ได้ทันที ทุกที่ ทุกเวลา พร้อมมีข่าวสารและความรู้บริการเสริมแกร่งให้เอสเอ็มอีด้วย  

ทั้งนี้ จากที่มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยร่วมกับเอสเอ็มอีแบงก์สำรวจสถานการณ์เอสเอ็มอีไทย  พบว่า ยังมีผู้ประกอบการรายย่อย หรือ “จุลเอสเอ็มอี”  ที่ไม่จดทะเบียนหรือตกสำรวจ อีกกว่า  2.7 ล้านราย ขณะที่กลุ่มเอสเอ็มอีจดทะเบียนอยู่ในระบบธุรกิจเกิดประโยชน์ปรับตัวดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะยอดขายปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 40.7 กำไรดีขึ้นร้อยละ 32.7 ราคาสินค้าปรับตัวดีขึ้นร้อยละ 24.2 และสภาพคล่องของธุรกิจปรับตัวดีขึ้นร้อยละ 27.4.-สำนักข่าวไทย  


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

จำคุกสมรักษ์คำสิงห์

ศาลสั่งคุก 2 ปี 13 เดือน 10 วัน “สมรักษ์” พยายามข่มขืนสาววัย 17

ศาลจังหวัดขอนแก่น พิพากษาจำคุก “สมรักษ์ คำสิงห์” อดีตนักมวยฮีโร่เหรียญทองโอลิมปิก เป็นเวลา 2 ปี 13 เดือน 10 วัน พร้อมชดใช้ค่าสินไหมทดแทนรวม 170,000 บาท คดีพยายามข่มขืนเด็กสาววัย 17 ปี

Chinese foreign ministry in January 2025

ถอดบทเรียนจากจีน แก้ปัญหาฝุ่นพิษ PM 2.5 จริงจัง

ปักกิ่ง 23 ม.ค. – สถานการณ์ฝุ่นพิษ PM 2.5 ที่กำลังเป็นปัญหาใหญ่และเร่งด่วนในไทยอยู่ในขณะนี้ หลายฝ่ายกำลังหาทางแก้ไขด้วยการมุ่งไปที่ต้นตอที่ทำให้เกิดฝุ่น จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกระบุว่า ในปี พ.ศ. 2542 ประชากรโลกมากถึง 92% ได้รับฝุ่น PM2.5 ในระดับความเข้มข้นสูงกว่าที่องค์การอนามัยโลกกำหนด และถ้ารัฐบาลทุกประเทศไม่เร่งแก้ปัญหาอย่างเอาจริงเอาจัง ภายในอีก 7 ปีข้างหน้า หรือ พ.ศ. 2573 คุณภาพชีวิตคนทั่วโลกจะยิ่งเลวร้ายสุดขีด เพราะปริมาณ PM2.5 จะเพิ่มขึ้นจากเดิม 50% และประเทศที่สามารถพิสูจน์ให้เห็นเป็นตัวอย่างว่า หากรัฐบาลตั้งใจจริงจัง ทุ่มสรรพกำลังความพยายาม จะสามารถกำจัดปัญหาฝุ่นควันพิษได้อย่างแน่นอนนั่นก็คือ จีน   จีนเคยมีคนเสียชีวิตเพราะมลพิษในอากาศปีละหลายล้านคน แต่ทุกวันนี้แม้แต่ธนาคารโลกยังยกย่องจีนว่า เป็นแบบอย่างของความพยายาม สามารถพลิกฟ้าหม่นเพราะฝุ่น PM2.5 ให้กลับเป็นฟ้าใสได้สำเร็จ ความพยายามของเหมา เจ๋อตุง ผู้นำจีนที่มุ่งเปลี่ยนสังคมเกษตรกรรมเป็นสังคมอุตสาหกรรม ทำให้จำนวนโรงงานในจีนเพิ่มขึ้นทวีคูณภายใน พ.ศ. 2502 แน่นอนว่า นโยบายเศรษฐกิจของผู้นำจีนช่วยให้คนจีนหลายล้านหลุดพ้นจากขีดความยากจน แต่ก็ต้องแลกกับชีวิตและสุขภาพ เพราะควันพิษจากโรงงานทำให้ฝุ่น PM2.5 พุ่งในระดับเกินกว่าจะรับไหว กว่ารัฐบาลจะรู้ตัวว่าปัญหามาถึงขั้นวิกฤต […]

คึกคัก คู่รักจูงมือกันไปจดทะเบียนวันแรกกฎหมายสมรสเท่าเทียมมีผล

วันนี้กฎหมายสมรสเท่าเทียมมีผลใช้บังคับอย่างเป็นทางการ หลายคู่รักควงแขนไปจดทะเบียนสมรสกันชื่นมื่น ที่สยามพารากอน มีคู่รักที่ลงทะเบียนมาจดทะเบียนสมรสที่นี่กว่า 300 คู่

ผู้ป่วยเสียชีวิต

รพ.สิรินธร ยืนยันไม่มีผู้ป่วยช็อก-เสียชีวิต จากเหตุชายผิวสีคลุ้มคลั่ง

ผอ.รพ.สิรินธร ยืนยันไม่มีผู้ป่วยช็อก หรือเสียชีวิต จากเหตุต่างชาติผิวสีคลุ้มคลั่ง มีเพียงเจ้าหน้าที่ รพ.บาดเจ็บจากการถูกต่อยเล็กน้อย

ข่าวแนะนำ

ตร.ทางหลวงไล่ล่ากระบะขนแรงงานต่างด้าวลักลอบเข้าไทย

ระทึก! ตำรวจทางหลวงขับรถไล่ล่ากระบะขนแรงงานต่างด้าว 2 คัน สุดท้ายไม่รอด จนมุมบริเวณ ต.หาดท่าเสา อ.เมือง จ.ชัยนาท ตรวจสอบพบแรงงานต่างด้าวจำนวนมาก จึงนำตัวทั้งหมด พร้อมกับคนขับรถทั้ง 2 คัน ส่งดำเนินคดีที่ สภ.เมืองชัยนาท

คุมพ่อชาวรัสเซียฝากขัง จับลูกชายวัย 13 โยนลงทะเลเสียชีวิต

ตำรวจคุมตัว “หนุ่มรัสเซีย” ฝากขัง หลังก่อเหตุโยนลูกวัย 13 ปี ออกจากเรือ บริเวณหมู่เกาะสุรินทร์ จ.พังงา จนถูกใบพัดเรือบาดเจ็บสาหัส ก่อนเสียชีวิตในเวลาต่อมา อ้างเสียความทรงจำ ไม่รู้ทำอะไรลงไป

ดีเอสไอจ่อล่องเรือใช้เลเซอร์สแกนจำลอง 3 มิติ สืบคดี “แตงโม”

ดีเอสไอ นำผู้เชี่ยวชาญหลายด้านเปิดประชุมนัดแรก ลุยสืบสวน “คดีแตงโม” จ่อล่องเรือใช้เลเซอร์สแกนจำลอง 3 มิติ หาพยานหลักฐานใหม่ และบินเก็บข้อมูลระบบ Cloud ในมือถือทุกคนบนเรือ-นอกเรือ