พบผู้ติดสารเสพติดในอาเซียน ส่วนใหญ่ยังคงเป็น ‘ยาบ้า’

สธ.14ส.ค.-เวทีประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ปี 61 พบการใช้สารเสพติดมีผลต่อการเกิดปัญหาด้านจิตเวช และพบข้อมูลผู้ติดยาเสพติดจากประเทศต่างๆในภูมิภาคอาเซียน ส่วนใหญ่ยังติดยาเสพติดประเภท แอมเฟตามีน หรือยาบ้า


 

น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต เปิดเผยว่า จากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดูแลจัดการปัญหาการใช้ แอมเฟตามีน (amphetamine) ของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียน ในเวทีการประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ประจำปี2561มีการศึกษาที่บ่งชี้และยืนยันว่าการใช้สารเสพติดมีผลต่ออัตราการเกิดปัญหาด้านจิตเวช และการใช้สารเสพติดส่งผลกระทบต่อเศรษฐานะทางสังคมและมีคนจำนวนมาก ที่ยังต้องการความช่วยเหลือ  


ขณะเดียวกันมีข้อมูลตรงกันว่าร้อยละ 70-80 ของผู้ติดยาเสพติดในประเทศแถบนี้ติดยาเสพติดประเภทแอมเฟตามีน หรือยาบ้า, บางประเทศยังคงมีปัญหารุนแรงในเรื่องการติดเชื้อ HIV จากการใช้ยาเสพติดแบบฉีดเข้าเส้นเลือด บางประเทศยังไม่มีโปรแกรมฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดที่เหมาะสม เพราะติดปัญหาเรื่องค่าใช้จ่าย และบางประเทศยังมีโครงสร้างทางสังคมที่ไม่เอื้อต่อการรักษาและฟื้นฟูสารเสพติด  

ส่วนด้านการป้องกันแก้ไขปัญหามีหลากหลายแนวทางในแต่ละประเทศ เช่น การปรับทัศนคติให้มองปัญหาติดยา คือปัญหาด้านสุขภาพมากกว่าด้านกฎหมายเพื่อลดการเป็นตราบาป, การจัดตั้งหน่วยคัดกรองให้การดูแลและรักษาผู้ใช้ยาเสพติดแบบองค์รวม (One stop center for addiction= OSCA) เพื่อวินิจฉัยโรคร่วมกับการติดยาเสพติด เช่น HIV, โรคตับอักเสบ, โรคติดเชื้อทาง เพศสัมพันธ์, การพัฒนาความร่วมมือระหว่างองค์กรภาครัฐ เอกชน และ NGO เป็นต้น 


ด้านการติดตาม ดูแล ช่วยเหลือผู้ติดยาเสพติด ให้ความสำคัญกับการดูแลด้านจิตใจ (psychosocial treatment) และการช่วยเหลือเบื้องต้นร่วมกับครอบครัว (early intervention & family) และทุกประเทศมีแนวโน้มการดูแล ช่วยเหลือผู้ติดยาเสพติดไปในแนวทางเดียวกันคือการให้ชุมชนเข้ามามีบทบาทในดูแลผู้ป่วยติดยาเสพติดให้มากขึ้น

สำหรับสถานการณ์และการดูแลผู้ติดสารเสพติดในประเทศไทย อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ปัจจุบันมีผู้ติดสารเสพในประเทศประมาณ 300,000 คน ช่วงที่มีการติดยาเสพติดสูงที่สุดคืออายุ 18-24 ปี คิดเป็นร้อยละ 30 ส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ75 ใช้สารแอมเฟตามีน และโดยที่ปัญหาการใช้สารเสพติดก่อให้เกิดความเจ็บป่วยทางจิตเวช กรมสุขภาพจิตได้ดำเนินการเพื่อลดความรุนแรงที่เกิดจากการใช้สารเสพติด โดยจัดอบรมอาสาสมัคร ให้ความรู้เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิต มีสายด่วน 1669 สำหรับแจ้งเหตุหากพบผู้ป่วยจิตเวชฉุกเฉิน 

ทั้งนี้ ประเทศไทยกำหนดเป้าหมายในปี ค.ศ.2018 ให้การหาย ไม่กลับเป็นซ้ำในผู้ป่วยจิตเวชกลุ่มติดสารเสพติดในระยะ 3 เดือนต้องมากกว่า ร้อยละ 90 โดยกำหนดให้มีการติดตามการรักษาแบบผู้ป่วยในทุก 2 เดือน และผู้ป่วยนอกอีก 2 เดือน ตลอดจนมีการเปลี่ยนจากการดูแลในโรงพยาบาลเป็นอาศัยการดูแลจากชุมชนเป็นหลัก (community base treatment) .-สำนักข่าวไทย 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ค้นบ้านสามารถ

ดีเอสไอเข้าค้นบ้าน “สามารถ” คดีฟอกเงินดิไอคอน

ดีเอสไอเข้าค้นบ้าน “สามารถ เจนชัยจิตรวนิช” คดีฟอกเงินดิไอคอน หลังพบเงิน “บอสดิไอคอน” โอนเข้าบัญชีแม่ของนายสามารถ

หมอบุญ

THG แจงบริษัทไม่เกี่ยวข้องคดีต่างๆ ที่เกิดจาก “หมอบุญ”

THG แจงตลาดหลักทรัพย์ฯ ปัจจุบัน “หมอบุญ” ไม่ได้ดำรงตำแหน่งกรรมการและผู้บริหารใน THG คดีฉ้อโกงใดๆ ที่เกิดขึ้น บริษัทไม่เกี่ยวข้อง

คะแนนไม่เป็นทางการ เลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ

ลุ้นผลคะแนนเลือกตั้งนายก อบจ.นครศรีธรรมราช นับเสร็จแล้วบางหน่วย ล่าสุด ณ เวลา 19.40 น. “วาริน ชิณวงศ์” เบอร์ 2 จากทีมนครเข้มแข็ง ชนะคู่แข่งขาดลอยในหลายหน่วย คะแนนทิ้งห่างแชมป์เก่า “กนกพร เดชเดโช” เบอร์ 1 จากพรรค ปชป.

“ทนายสายหยุด” จ่อถอนตัวคดีตั้ม หวั่นติดร่างแห

“ทนายสายหยุด” เตรียมถอนตัวเป็นทนายให้ “ตั้ม” เผยในมือมีแต่พยานเท็จ ปิดบังข้อเท็จจริง เสี่ยงเป็นผู้ร่วมกระทำผิด

ข่าวแนะนำ

หมอบุญ

THG แจงบริษัทไม่เกี่ยวข้องคดีต่างๆ ที่เกิดจาก “หมอบุญ”

THG แจงตลาดหลักทรัพย์ฯ ปัจจุบัน “หมอบุญ” ไม่ได้ดำรงตำแหน่งกรรมการและผู้บริหารใน THG คดีฉ้อโกงใดๆ ที่เกิดขึ้น บริษัทไม่เกี่ยวข้อง

ค้นบ้านสามารถ

ดีเอสไอเข้าค้นบ้าน “สามารถ” คดีฟอกเงินดิไอคอน

ดีเอสไอเข้าค้นบ้าน “สามารถ เจนชัยจิตรวนิช” คดีฟอกเงินดิไอคอน หลังพบเงิน “บอสดิไอคอน” โอนเข้าบัญชีแม่ของนายสามารถ