วสท.ถอดบทเรียนช่วยเหลือ 13 ชีวิตทีมหมูป่าฯ

รามคำแหง 19 ก.ค.-ในเวทีเสวนาถอดบทเรียนช่วยเหลือ 13 ชีวิตทีมหมูป่า กรมอุทยานฯ เตรียมประชุมหัวหน้าอุทยานทั่วประเทศศึกษาหาโพรงถ้ำหลวงเเละถ้ำทั่วประเทศกว่า 169 แห่ง เผยประสาน ผบ.ซีล ฝึกดำน้ำในถ้ำ ด้าน ปภ. กำหนดเเผนซักซ้อมกู้ภัยในถ้ำเพิ่มเติม ทุกหน่วยยอมรับกู้ภัยถ้ำหลวงเป็นภารกิจสุดโหด


วิศวกรรมสถานเเห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) เปิดเวทีเสวนา “ถอดบทเรียนปฏิบัติการทางวิศวกรรมช่วย 13 หมูป่า..กู้ภัยระดับโลก เพื่อรวบรวมบทเรียนการกู้ภัยเเละการใช้นวัตกรรมทางวิศวกรรมในการกู้ภัยจากกรณีช่วยเหลือทีมหมูป่าอะคาเดมี 13 ชีวิตที่ติดถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน อ.เเม่สาย จ.เชียงราย

นายจงคล้าย วรพงศธร รองอธิบดีกรมอุทยานเเห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กล่าวว่า การช่วยชีวิต 13 หมูป่าอะคาเดมี เป็นภารกิจที่ค่อนข้างจะเสี่ยงต่อชีวิต สภาพการทำงานยากลำบาก เผชิญภาวะเครียด เเต่เพราะเจ้าหน้าที่มาจากทุกภาคส่วนกว่า 5,000 คน จาก 337 หน่วยงานร่วมใจกัน งานจึงประสบความสำเร็จ โดยในส่วนของเจ้าหน้าที่กรมอุทยาน ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบดูแลเขตวนอุทยานถ้ำหลวง ที่มีพื้นที่ 5,000 ไร่ ซึ่งภาพรวมภารกิจหลักของกรมอุทยานคือการลดระดับน้ำที่จะต้องเร่งสูบน้ำภายในถ้ำ ซึ่งต้องใช้ความรู้ทางธรณีวิทยา ธรณีสัณฐานในการเชื่อมต่อน้ำในโพรงถ้ำ การเจาะน้ำบาดาลใต้โพรงถ้ำ รวมถึงการเบี่ยงทางน้ำ ย้ายลำห้วยเพื่อพร่องน้ำออก ซึ่งใช้เวลาดำเนินการ 7 วัน สามารถพร่องน้ำไปได้วันละกว่า 14,000 คิว


นอกจากนี้ยังมีการค้นหาโพรงหรือปล่องถ้ำด้านบน เพื่อสำรวจหาทางที่จะพาน้องออกมาให้ได้มากที่สุด และเป็นฝ่ายสนับสนุนทีมหน่วยซีล เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงานมากขึ้น โดยหลังจบภารกิจ กรมอุทยานได้เบี่ยงลำห้วยกลับคืนสู่ธรรมชาติตามเดิม เพื่อคืนระบบนิเวศให้ถ้ำหลวง 

สำหรับสิ่งที่จะต้องดำเนินการต่อเพื่อหาบทเรียนที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหาในอนาคต คือร่วมมือกับนักธรณีวิทยาเพื่ออสำรวจหาโพรงถ้ำที่สามารถเข้าถึงตัวถ้ำได้ ทั้งศึกษาเเละสำรวจถ้ำทั่วประเทศกว่า 169 แห่ง ซึ่งมีส่วนน้อยที่เป็นถ้ำตัน มีทางเข้าออกเพียงทางเดียว เเละในส่วนการกู้ภัยภายในถ้ำ ต่างชาติให้ข้อเปรียบเทียบว่าหากปีนเขา ถ้ำหลวงเปรียบเป็นเทือกเขาเอเวอร์เรส แต่ถ้าหากเป็นการดำน้ำ ถ้ำหลวงก็เป็นภารกิจที่โหดมาก โดยวันนี้ได้มีการประชุมหัวหน้าอุทยานทั่วประเทศเพื่อหารือ เเละศึกษากรณีถ้ำหลวง เพื่อเป็นแผนงานในการทำงานร่วมกันในอนาคตของทุกหน่วยงาน ไม่ใช่แค่แผนเฉพาะระดับกรมอุทยาน โดยได้พูดคุยกับ ผบ.ซีล ก็จะส่งไปหน่วยซีลไปฝึกดำน้ำในถ้ำเพิ่มเติม 

ขณะที่ในเชิงการท่องเที่ยวที่จะพัฒนาถ้ำเป็นสถานที่ท่องเที่ยว อาจจะต้องรอแผนการศึกษาและสำรวจเพิ่มเติมทำแผนผังให้ชัดเจนว่าสามารถเข้าไปถึงจุดใดได้บ้าง โดยอาศัยนักวิชาการในด้านต่างๆ เข้าให้ข้อมูล แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือการยังคงระบบนิเวศให้สมบูรณ์ก่อน ซึ่งคาดว่าแผนการจะออกมาได้ในปลายปีนี้ ส่วนจะเริ่มการสำรวจได้ต้องหลังน้ำลดหรือหลังพ้นฤดูฝน


ด้านนายสมหมาย เตชวาล รองอธิบดีกรมทรัพยากรธรณีและนายกสมาคมธรณีวิทยาแห่งประเทศไทย กล่าวว่า กรมทรัพยากรธรณีรวบรวมข้อมูลเพื่อทำแผนที่ถ้ำ สำรวจสภาพถ้ำและภูมิประเทศบริเวณดังกล่าว

สำรวจ resistivity หาจุดตาน้ำ ตำแหน่งน้ำผุดและจุดระบายน้ำ ร่วมสำรวจโพรงถ้ำและหาแผนเจาะถ้ำในหลายวิธี และยอมรับว่าเป็นการกู้ภัยครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่นักธรณีวิทยาเจอสภาพกดดัน ต้องทำงานแข่งกับเวลา เพื่อสนับสนุนความรู้ให้กับเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติภารกิจภายในถ้ำ พร้อมกันนี้จะนำเหตุการณ์นี้ไปร่วมถอดบทเรียนร่วมกับกรมอุทยาน เพื่อป้องกันเหตุที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ขณะที่นายกอบชัย บุญอรณะ รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กล่าวว่า การช่วยเหลือครั้งนี้มี 3 ภารกิจ ช่วยเหลือ กู้ภัย และฟื้นฟู ทาง ปภ. ทราบข่าวในช่วงเย็นวันที่ 23 มิ.ย.ที่ผ่านมาก็เข้าพื้นที่และประกาศให้ถ้ำหลวงเป็นพื้นที่ประสบภัยและพื้นที่ที่ต้องการความช่วยเหลือ เอาโครงสร้างกฎหมายและการบริหารจัดการมาปฏิบัติการกู้ภัยเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงานของทุกภาคส่วนให้ง่ายขึ้น รวมถึงช่วยรักษาความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงาน 

ขณะเดียวกันพบว่าภารกิจครั้งนี้มีความยุ่งยากทางเทคนิค ต้องอาศัยความรู้เชิงวิชาการที่ซับซ้อน จึงต้องประสานทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาทำงานบูรณาการร่วมกันอย่างราบรื่น ซึ่งแผนการทำงานทุกวันจะเปลี่ยนไปเพราะเผชิญอุปสรรคที่แตกต่างกันไป ภารกิจที่ยากที่สุดคือการพาน้องกลับบ้านเพราะต้องหาวิธีที่ปลอดภัยที่สุดและการต่อสู้กับปริมาณน้ำ หลังกรมอุตุนิยมวิทยาพยากรณ์อากาศว่าจะมีฝนตกหนัก ทั้งยังต้องควบคุมปริมาณออกซิเจนภายในถ้ำด้วย ขณะที่ในส่วนบทเรียนเรื่องการกู้ภัย เชือกภารกิจกู้ภัยบางอันไม่เหมาะกับสถานการณ์ ที่จะต้องมีการฝึกอบรมการกู้ภัยต่อไปในระดับสากล พร้อมรับทุกสถานการณ์ เพราะจากเดิมเน้นฝึกเกี่ยวกับการกู้ภัยตึกถล่ม

ด้านนายธเนศ วีระศิริ นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การช่วยเหลือด้านวิศวกรรมในการกู้ภัยครั้งนี้คือ การนำอุปกรณ์ที่หลากหลายทั้ง แอพพลิเคชั่น WMApp ตรวจสอบสภาพอากาศ, เครื่องวัดความร้อน, เครื่องวัดต้านทานไฟฟ้า เครื่องดันท่อซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงในการผันน้ำหรือสูบน้ำออกจากถ้ำได้อย่างต่อเนื่อง, เครื่อง 3D scaner ภาพถ่ายสามมิติในถ้ำ เป็นต้น โดยการถอดบทเรียนในเชิงวิศวกรรมนั้น ทำให้ทราบว่ามีผู้เชี่ยวชาญอยู่ที่ไหนบ้าง รวมถึงได้ศึกษาเทคโนโลยีระดับโลกเพื่อใช้เป็นพื้นฐานทางวิศวกรรม เพื่อรวบรวมเป็นหนังสือถอดบทเรียนให้ความรู้วิศวกรรมรุ่นหลังด้วย.-สำนักข่าวไทย 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

มุกใหม่มิจฉาชีพ

มุกใหม่มิจฉาชีพ! ป่วนโทรแจ้ง ตร. เกิดเหตุร้ายที่บ้านเหยื่อ

อินฟลูฯ สาว สายทำอาหาร ถูกมิจฉาชีพอ้างเป็นตำรวจโทรหา แต่เธอไม่เชื่อ โดนท้าอีก 10 นาทีเจอกัน ปรากฏว่า มีตำรวจจาก 2 โรงพักบุกมาที่บ้านจริง

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา บอกสนามใหญ่ ไม่เข้าไปก้าวก่ายสนามท้องถิ่น ซ้ายก็เพื่อน ขวาก็พวก

ครม.เคาะแจกเงินหมื่นเฟส 2 ผู้สูงอายุ 60 ปี

“จุลพันธ์” เผย ครม.เห็นชอบโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านกลุ่มผู้สูงอายุ วงเงิน 4 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะดำเนินการทันก่อน 29 ม.ค.68 รวม 3 มาตรการ สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบ 1.4-1.5 แสนล้านบาท

ข่าวแนะนำ

ข่าวแห่งปี 2567 : รวมฉ้อโกง “ดารา-คนดัง” ไม่รอด

ตลอดปี 2567 ยังมีผู้คนตกเป็นเหยื่อของกลโกง มิจฉาชีพ ที่มาในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการลงทุนรูปแบบใหม่ๆ บางคนถึงขั้นสิ้นเนื้อประดาตัว และที่น่าตกใจเริ่มมีคนดังเข้ามาเกี่ยวข้องกับคดีมากขึ้น

หมอชิต 2 คึกคัก ประชาชนเดินทางกลับภูมิลำเนาฉลองปีใหม่

บรรยากาศการเดินทางหมอชิต 2 คึกคัก ประชาชนเดินทางกลับภูมิลำเนาและท่องเที่ยวในช่วงหยุดยาวปีใหม่ ด้าน รฟท. คาดผู้โดยสารเดินทางขาออกวันนี้ 1 แสนคน

รถเริ่มแน่น! สายเหนือ-อีสาน การจราจรชะลอตัว

ประชาชนทยอยเดินทางกลับภูมิลำเนา หยุดยาวปีใหม่ ถ.พหลโยธิน มุ่งหน้าสายอีสาน รถแน่น ส่วนถนนสายเอเชีย ขึ้นเหนือ รถเคลื่อนตัวได้ช้า