กรุงเทพฯ 22 ก.ย. – นายสมชาย หาญหิรัญ ประธานกรรมการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) เปิดเผยว่า ธนาคารในฐานะหน่วยร่วมในศูนย์ SME Rescue Center ได้ช่วยผลักดันลูกค้าที่เสนอเรื่องผ่านศูนย์ดังกล่าวเข้าสู่กองทุนพลิกฟื้นเอสเอ็มอี โดยในการประชุมคณะกรรมการกองทุนดังกล่าวเมื่อวันที่ 20 กันยายนที่ผ่านมานั้น ธนาคารได้นำเสนอลูกค้าที่เข้าเกณฑ์กองทุน 4 ราย ซึ่งได้รับอนุมัติเป็นกลุ่มแรก รวมวงเงิน 2.2 ล้านบาท โดยได้รับเงินทุนแบบไม่ต้องเสียดอกเบี้ยตลอดระยะเวลา 7 ปี เพื่อนำไปต่อยอดธุรกิจให้สามารถพลิกฟื้นกิจการกลับมาเข้มแข็งได้ใหม่
สำหรับลูกค้าทั้ง 4 ราย ประกอบด้วย 1. กิจการผู้ผลิตและจำหน่ายกระเบื้องแกรนิตโต้ ซึ่งเป็นลูกหนี้ที่มีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้ว แต่เนื่องจากกิจการไม่สามารถขยายตลาดและบุคลากรขาดความรู้เรื่องการใช้สื่อออนไลน์ ประกอบกับต้นทุนทางธุรกิจสูง ทำให้กิจการขาดเงินทุนหมุนเวียนในการทำธุรกิจ ดังนั้น จึงได้รับวงเงินในการไปพลิกฟื้นกิจการ จำนวน 1 ล้านบาท ปลอดชำระคืนเงินต้น 2 ปี รายที่ 2 กิจการจำหน่ายปุ๋ยปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้ว แต่กิจการประสบปัญหาขาดเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งได้รับอนุมัติเงินช่วยเหลือจากโครงการนี้ 120,000 บาท ปลอดชำระคืนเงินต้น 6 เดือน
รายที่ 3 กิจการตุ๊กตาผ้า เป็นลูกหนี้ที่ผ่านการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ แต่ยังขาดเงินหมุนเวียนในกิจการ ทำให้ไม่สามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้ เนื่องจากปัจจุบันการผลิตใช้กำลังคนดำเนินการ บริษัทจึงมีแนวทางที่จะซื้อเครื่องจักรเพิ่มเพื่อเพิ่มกำลังผลิตดังกล่าว โดยได้รับอนุมัติวงเงินจากโครงการ 500,000 บาท ปลอดชำระคืนเงินต้นนาน 2 ปี และรายที่ 4 ผู้ประกอบการติดตั้งและซ่อมแซมเครื่องปรับอากาศ มีปัญหาวัตถุดิบที่ใช้ในการให้บริการมีราคาต้นทุนสูง บริษัทขาดเงินทุนสตอกวัตถุดิบ จึงไม่สามารถให้บริการลูกค้าขนาดใหญ่ได้ ทั้งที่กิจการมีศักยภาพและความชำนาญในการประกอบธุรกิจ และขณะนี้กิจการขาดเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งได้รับการช่วยเหลือจากโครงการนี้วงเงิน 600,000 บาท ปลอดชำระคืนเงินต้น 6 เดือน
ประธานกรรมการเอสเอ็มอีแบงก์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ลูกค้าที่ผ่านการปรับโครงสร้างหนี้แล้วธนาคารจะพยายามเพิ่มเงินทุนให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ซึ่งหากรายได้ยังไม่สามารถปล่อยกู้ในระบบปกติได้จะนำเสนอเข้ากองทุนนี้ ซึ่งมีความยืดหยุ่นหลักเกณฑ์ค่อนข้างมาก โดยขณะนี้เร่งให้ฝ่ายจัดการคัดเลือกลูกค้าที่เข้าเกณฑ์กองทุนดังกล่าว ซึ่งมีอีกว่า 500 ราย ทยอยนำเสนอขออนุมัติโดยเร็วต่อไป.-สำนักข่าวไทย
นายสมชาย หาญหิรัญ ประธานกรรมการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) เปิดเผยว่า ธนาคารในฐานะหน่วยร่วมในศูนย์ SME Rescue Center ได้ช่วยผลักดันลูกค้าที่เสนอเรื่องผ่านศูนย์ดังกล่าวเข้าสู่กองทุนพลิกฟื้นเอสเอ็มอี โดยในการประชุมคณะกรรมการกองทุนดังกล่าวเมื่อวันที่ 20 กันยายนที่ผ่านมานั้น ธนาคารได้นำเสนอลูกค้าที่เข้าเกณฑ์กองทุน 4 ราย ซึ่งได้รับอนุมัติเป็นกลุ่มแรก รวมวงเงิน 2.2 ล้านบาท โดยได้รับเงินทุนแบบไม่ต้องเสียดอกเบี้ยตลอดระยะเวลา 7 ปี เพื่อนำไปต่อยอดธุรกิจให้สามารถพลิกฟื้นกิจการกลับมาเข้มแข็งได้ใหม่
สำหรับลูกค้าทั้ง 4 ราย ประกอบด้วย 1. กิจการผู้ผลิตและจำหน่ายกระเบื้องแกรนิตโต้ ซึ่งเป็นลูกหนี้ที่มีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้ว แต่เนื่องจากกิจการไม่สามารถขยายตลาดและบุคลากรขาดความรู้เรื่องการใช้สื่อออนไลน์ ประกอบกับต้นทุนทางธุรกิจสูง ทำให้กิจการขาดเงินทุนหมุนเวียนในการทำธุรกิจ ดังนั้น จึงได้รับวงเงินในการไปพลิกฟื้นกิจการ จำนวน 1 ล้านบาท ปลอดชำระคืนเงินต้น 2 ปี รายที่ 2 กิจการจำหน่ายปุ๋ยปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้ว แต่กิจการประสบปัญหาขาดเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งได้รับอนุมัติเงินช่วยเหลือจากโครงการนี้ 120,000 บาท ปลอดชำระคืนเงินต้น 6 เดือน
รายที่ 3 กิจการตุ๊กตาผ้า เป็นลูกหนี้ที่ผ่านการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ แต่ยังขาดเงินหมุนเวียนในกิจการ ทำให้ไม่สามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้ เนื่องจากปัจจุบันการผลิตใช้กำลังคนดำเนินการ บริษัทจึงมีแนวทางที่จะซื้อเครื่องจักรเพิ่มเพื่อเพิ่มกำลังผลิตดังกล่าว โดยได้รับอนุมัติวงเงินจากโครงการ 500,000 บาท ปลอดชำระคืนเงินต้นนาน 2 ปี และรายที่ 4 ผู้ประกอบการติดตั้งและซ่อมแซมเครื่องปรับอากาศ มีปัญหาวัตถุดิบที่ใช้ในการให้บริการมีราคาต้นทุนสูง บริษัทขาดเงินทุนสตอกวัตถุดิบ จึงไม่สามารถให้บริการลูกค้าขนาดใหญ่ได้ ทั้งที่กิจการมีศักยภาพและความชำนาญในการประกอบธุรกิจ และขณะนี้กิจการขาดเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งได้รับการช่วยเหลือจากโครงการนี้วงเงิน 600,000 บาท ปลอดชำระคืนเงินต้น 6 เดือน
ประธานกรรมการเอสเอ็มอีแบงก์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ลูกค้าที่ผ่านการปรับโครงสร้างหนี้แล้วธนาคารจะพยายามเพิ่มเงินทุนให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ซึ่งหากรายได้ยังไม่สามารถปล่อยกู้ในระบบปกติได้จะนำเสนอเข้ากองทุนนี้ ซึ่งมีความยืดหยุ่นหลักเกณฑ์ค่อนข้างมาก โดยขณะนี้เร่งให้ฝ่ายจัดการคัดเลือกลูกค้าที่เข้าเกณฑ์กองทุนดังกล่าว ซึ่งมีอีกว่า 500 ราย ทยอยนำเสนอขออนุมัติโดยเร็วต่อไป.-สำนักข่าวไทย