นิด้าโพลพบประชาชนเข้าใจการปฏิรูปประเทศ

นิด้าโพล 10 มิ.ย.-นิด้าโพลเปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นเรื่องการปฏิรูปประเทศ 11 ด้าน พบประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ64.98 เข้าใจเรื่องการปฏิรูปประเทศ  อยากให้ปฏิรูปเร่งด่วน ด้านเศรษฐกิจ ร้อยละ 32.49 ด้านการเมือง ร้อยละ 19.67 และด้านกฎหมาย ร้อยละ 10.84 สิ่งที่ต้องการให้ปฏิรูปเพิ่มเติมคือ ยาเสพติด ร้อยละ 43.75 ด้านการเกษตร ร้อยละ 35.94 และด้านศาสนา ร้อยละ 14.84


กรมประชาสัมพันธ์ ร่วมกับ ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “การปฏิรูปประเทศ 11 ด้าน” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 26 – 31 พฤษภาคม 2561 จากประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 2,039 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการรับรู้ ความเข้าใจ และความคิดเห็นที่มีต่อ “การปฏิรูปประเทศ 11 ด้าน” การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างด้วยความน่าจะเป็น ด้วยวิธีแบบหลายขั้นตอน (Multistage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการลงพื้นที่สัมภาษณ์แบบพบตัว โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95

จากการสำรวจ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 64.98 เข้าใจว่าการปฏิรูปประเทศ คือ การเปลี่ยนแปลงประเทศให้ดีขึ้น ด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน “ทุกคน” ร้อยละ 60.23 เข้าใจว่าการปฏิรูปประเทศ คือ  การเปลี่ยนแปลงประเทศให้ดีขึ้นอย่างมีระบบ ระเบียบ มีแผน มีเป้าหมายที่ชัดเจน ประเมินผลได้และรู้ว่าใครทำอะไร ร้อยละ 29.62 เข้าใจว่าการปฏิรูปประเทศ คือ การเปลี่ยนแปลงประเทศให้ดีขึ้น เป็นหน้าที่ของรัฐบาลและข้าราชการ 


ร้อยละ 26.53 เข้าใจว่าการปฏิรูปประเทศ คือ การเปลี่ยนแปลงประเทศให้ดีขึ้นอย่างรวดเร็ว แบบพลิกหน้ามือเป็นหลังมือ ถ้าเป็นเรื่องง่าย ร้อยละ 22.81 เข้าใจว่าการปฏิรูปประเทศ คือ การเปลี่ยนแปลงประเทศให้ดีขึ้นอย่างช้า ๆ ค่อยเป็นค่อยไป ถ้าเป็นเรื่องยาก และร้อยละ 0.10 เข้าใจว่าการปฏิรูปประเทศ คือ การเปลี่ยนแปลงประเทศให้ดีขึ้นโดยการรับฟังเสียงของประชาชน

เมื่อถามถึงความคาดหวังของประชาชนต่อการปฏิรูปประเทศ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 68.51 คาดหวังว่าการปฏิรูปประเทศจะช่วยให้ประชาชนทุกกลุ่ม เกษตรกร รับจ้าง ผู้สูงอายุ คนพิการ ฯลฯ ได้รับสวัสดิการที่ดีขึ้น อย่างทั่วถึงไม่ตกหล่น ร้อยละ 57.48 คาดหวังว่าการปฏิรูปประเทศจะช่วยให้ประชาชนได้รับบริการที่สะดวก รวดเร็ว และเท่าเทียมกัน ร้อยละ 56.50 คาดหวังว่าการปฏิรูปประเทศจะช่วยให้ไม่มีการโกง ไม่มีเส้นสาย ไม่อุปถัมภ์ คนทุจริตทั้งผู้ให้และผู้รับไม่ว่ารวย-จน หรือมีตำแหน่งต้องได้รับโทษ

ร้อยละ 51.30 คาดหวังว่าการปฏิรูปประเทศ จะช่วยให้มีความสุข ชีวิตปลอดภัย เดินทางสะดวก และมีสวัสดิการที่ดีขึ้น ร้อยละ 49.39 คาดหวังว่าการปฏิรูปประเทศจะช่วยให้คนทำผิดกฎหมายต้องได้รับโทษ และบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ร้อยละ 46.30 คาดหวังว่าการปฏิรูปประเทศจะช่วยให้มีโอกาสทำงาน มีโอกาสพัฒนาตนเองได้ และมีรายได้ที่เหมาะสมกับความสามารถ และร้อยละ 0.74 คาดหวังว่าการปฏิรูปประเทศจะช่วยลดความเลื่อมล้ำทางสังคม มีความเท่าเทียมตามสิทธิและกฎหมาย มีกฎหมายที่รัดกุม ไม่ลดหย่อนโทษสำหรับผู้ที่กระทำผิด ประชาชนทุกคนมีสิทธิออกเสียงไม่ว่าจะรวยหรือจน การศึกษาดีขึ้น มีสิทธิเสรีภาพ มีผู้นำหรือผู้บริหารประเทศที่เป็นคนดี มีความสามารถ


สำหรับหน้าที่และความรับผิดชอบต่อการปฏิรูปประเทศ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 81.17 คิดว่า การปฏิรูปประเทศเป็นหน้าที่ของรัฐบาล ร้อยละ 76.95 คิดว่าการปฏิรูปประเทศเป็นหน้าที่ของประชาชน ร้อยละ 47.87 คิดว่าการปฏิรูปประเทศเป็นหน้าที่ของ คสช. ร้อยละ 41.88 คิดว่าการปฏิรูปประเทศเป็นหน้าที่ของข้าราชการ ร้อยละ 33.59 คิดว่าการปฏิรูปประเทศเป็นหน้าที่ของนักการเมืองและพรรคการเมือง ร้อยละ 26.88 คิดว่าการปฏิรูปประเทศเป็นหน้าที่ของภาคเอกชน ร้อยละ 20.30 คิดว่าการปฏิรูปประเทศเป็นหน้าที่ของสื่อมวลชน ร้อยละ 13.24 คิดว่าการปฏิรูปประเทศเป็นหน้าที่ของมูลนิธิ หรือองค์กรเอกชน ที่ไม่แสวงหากำไร (NGO) ร้อยละ 3.09 คิดว่าการปฏิรูปประเทศเป็นหน้าที่ของทุกคนและทุกภาคส่วน ครู อาจารย์ที่อบรมสั่งสอนเด็กหรืออนาคตของชาติ ให้มีคุณธรรม มีความรู้ความสามารถ โตไปไม่โกง

เมื่อถามถึงเครื่องมือที่ช่วยให้การปฏิรูปประเทศประสบความสำเร็จและมีความต่อเนื่อง พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 59.49 คิดว่าสิ่งที่ทำให้การปฏิรูปประเทศประสบความสำเร็จ คือ ความร่วมมือจากประชาชนทุกภาคส่วน รวมทั้งสื่อมวลชน ร้อยละ 56.55 คิดว่าสิ่งที่ทำให้การปฏิรูปประเทศประสบความสำเร็จ คือ การยอมรับการเปลี่ยนแปลง และการแก้ปัญหาร่วมกันอย่างสันติ ร้อยละ 54.49 คิดว่าสิ่งที่ทำให้การปฏิรูปประเทศประสบความสำเร็จ คือ ทุกคนเห็นประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก ยอมสละความสุขสบายส่วนตนได้ ร้อยละ 53.80 คิดว่าสิ่งที่ทำให้การปฏิรูปประเทศประสบความสำเร็จ คือ ผู้นำประเทศและนักการเมืองที่มีวิสัยทัศน์ 

ร้อยละ 46.35 คิดว่าสิ่งที่ทำให้การปฏิรูปประเทศประสบความสำเร็จ คือ พรรคการเมืองที่ทำงานเพื่อประเทศชาติและประชาชนเป็นที่ตั้ง ร้อยละ 32.66 คิดว่าสิ่งที่ทำให้การปฏิรูปประเทศประสบความสำเร็จ คือ แผนการปฏิรูปประเทศ ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ร้อยละ 25.06 คิดว่าสิ่งที่ทำให้การปฏิรูปประเทศประสบความสำเร็จ คือ ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะยาว และร้อยละ 0.25 คิดว่าสิ่งที่ทำให้การปฏิรูปประเทศประสบความสำเร็จ คือ ความต่อเนื่องในการดำเนินงานหรือนโยบายของรัฐบาลเก่าและรัฐบาลใหม่ การมีจิตสำนึก มีความซื่อสัตย์ ไม่โกงบ้านโกงเมือง เน้นการพัฒนาคนมากกว่าการพัฒนาวัตถุ

ในส่วนของการรับรู้หรือเคยได้ยินเกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 46.49 ระบุว่าเคยได้ยินข่าวเกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง เช่น การเลือกตั้งแบบใหม่ ร้อยละ 43.40 ระบุว่าเคยได้ยินข่าวเกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศด้านสังคม เช่น การลงทะเบียนคนจนและแรงงานต่างด้าว ร้อยละ 32.61 ระบุว่าเคยได้ยินข่าวเกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจ เช่น ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกหรือ อีอีซี (EEC) เกษตรแปลงใหญ่ ตลาดนำการผลิต 

ร้อยละ 29.57 ระบุว่าเคยได้ยินข่าวเกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ เช่น การตั้งศาลเฉพาะคดีทุจริต ร้อยละ 26.29 ระบุว่าเคยได้ยินข่าวเกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข เช่น ผู้ป่วยฉุกเฉินมีสิทธิรักษาทุกโรงพยาบาล ภายใน 72 ชั่วโมง (UCEP) ร้อยละ 24.57 ระบุว่าเคยได้ยินข่าวเกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศด้านกฎหมาย เช่น การแก้ไขการทำประมงที่ผิดกฎหมาย (IUU) การทำให้อุตสาหกรรมการบินของประเทศไทย เป็นที่ยอมรับตามมาตรฐานสากล ขององค์การการบินระหว่างประเทศ (ICAO) ร้อยละ 20.50 ระบุว่าเคยได้ยินข่าวเกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น กฎหมายป่าชุมชน

ร้อยละ 20.40 ระบุว่าเคยได้ยินข่าวเกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดิน เช่น การบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ ร้อยละ 18.78 ระบุว่าเคยได้ยินข่าวเกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น กฎหมายจรรยาบรรณสื่อ ร้อยละ 18.39 ระบุว่าเคยได้ยินข่าวเกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม เช่น กองทุนยุติธรรม ร้อยละ 13.09 ระบุว่าเคยได้ยินข่าวเกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน เช่น โรงงานไฟฟ้าจากขยะ และร้อยละ 5.74 ระบุว่าไม่เคยได้ยินข่าวเกี่ยวกับการปฏิรูปเลย

เมื่อถามประชาชนถึงการรับรู้และความรู้สึกต่อการปฏิรูปประเทศ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 58.21 รู้สึกว่าบ้านเมืองได้มีการปฏิรูปประเทศบางส่วนแล้ว ร้อยละ 27.02 รู้สึกว่าบ้านเมืองยังไม่มีการปฏิรูปประเทศ ร้อยละ 9.96 ไม่ทราบว่าบ้านเมืองมีการปฏิรูปประเทศ และร้อยละ 4.81 รู้สึกว่าบ้านเมืองได้มีการปฏิรูปประเทศทั้งหมดแล้ว

เมื่อถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศ โดยแบ่งออกเป็น 11 ด้าน พบว่า (1) ด้านการเมือง ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 49.09 ระบุว่าค่อนข้างเห็นด้วยกับการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง ร้อยละ 40.27 ระบุว่าเห็นด้วยมากที่สุด ร้อยละ 7.80 ระบุว่าไม่ค่อยเห็นด้วย และร้อยละ 2.84 ระบุว่าไม่เห็นด้วยเลย (2) ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 53.90 ระบุว่าค่อนข้างเห็นด้วยกับการปฏิรูปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ร้อยละ 36.19 ระบุว่าเห็นด้วยมากที่สุด ร้อยละ 9.37 ระบุว่าไม่ค่อยเห็นด้วย และร้อยละ 0.54 ระบุว่าไม่เห็นด้วยเลย

(3) ด้านกฎหมาย พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 56.01 ระบุว่าค่อนข้างเห็นด้วยกับการปฏิรูปประเทศด้านกฎหมาย ร้อยละ 38.35 ระบุว่าเห็นด้วยมากที่สุด ร้อยละ 5.05 ระบุว่าไม่ค่อยเห็นด้วย  และร้อยละ 0.59 ระบุว่าไม่เห็นด้วยเลย (4) ด้านกระบวนการยุติธรรม พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 54.98 ระบุว่าค่อนข้างเห็นด้วยกับการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม ร้อยละ 37.47 ระบุว่าเห็นด้วยมากที่สุด ร้อยละ 6.96 ระบุว่าไม่ค่อยเห็นด้วย และร้อยละ 0.59 ระบุว่าไม่เห็นด้วยเลย

(5) ด้านเศรษฐกิจ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 48.80 ระบุว่าค่อนข้างเห็นด้วยกับการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจ ร้อยละ 38.50 ระบุว่าเห็นด้วยมากที่สุด ร้อยละ 10.45 ระบุว่าไม่ค่อยเห็นด้วย และร้อยละ 2.25 ระบุว่าไม่เห็นด้วยเลย (6) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 53.95 ระบุว่าค่อนข้างเห็นด้วยกับการปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร้อยละ 39.73 ระบุว่าเห็นด้วยมากที่สุด ร้อยละ 5.88 ระบุว่าไม่ค่อยเห็นด้วย และร้อยละ 0.44 ระบุว่าไม่เห็นด้วยเลย 

(7) ด้านสาธารณสุข พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 53.65 ระบุว่าเห็นด้วยมากที่สุดกับการปฏิรูปประเทศ ด้านสาธารณสุข ร้อยละ 41.69 ระบุว่าค่อนข้างเห็นด้วย ร้อยละ 4.32 ระบุว่าไม่ค่อยเห็นด้วย และร้อยละ 0.34 ระบุว่าไม่เห็นด้วยเลย (8) ด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 51.35 ระบุว่าค่อนข้างเห็นด้วยกับการปฏิรูปประเทศด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ ร้อยละ 40.31 ระบุว่า เห็นด้วยมากที่สุด ร้อยละ 7.55 ระบุว่าไม่ค่อยเห็นด้วย และร้อยละ 0.79 ระบุว่าไม่เห็นด้วยเลย

(9) ด้านสังคม พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 48.26 ระบุว่าค่อนข้างเห็นด้วยกับการปฏิรูปประเทศด้านสังคม ร้อยละ 42.23 ระบุว่าเห็นด้วยมากที่สุด ร้อยละ 7.65 ระบุว่าไม่ค่อยเห็นด้วย และร้อยละ 1.86 ระบุว่าไม่เห็นด้วยเลย (10) ด้านพลังงาน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 54.39 ระบุว่าค่อนข้างเห็นด้วยกับการปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน ร้อยละ 36.98 ระบุว่าเห็นด้วยมากที่สุด ร้อยละ 6.91 ระบุว่าไม่ค่อยเห็นด้วย และร้อยละ 1.72 ระบุว่าไม่เห็นด้วยเลย

(11) ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 48.95 ระบุว่าค่อนข้างเห็นด้วยกับการปฏิรูปประเทศด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ร้อยละ 43.50 ระบุว่าเห็นด้วยมากที่สุด ร้อยละ 6.52 ระบุว่าไม่ค่อยเห็นด้วย และร้อยละ 1.03 ระบุว่าไม่เห็นด้วยเลย

เมื่อถามถึงความเชื่อมั่นในโอกาสความสำเร็จของการปฏิรูปประเทศ โดยแบ่งออกเป็น 11 ด้าน พบว่า (1) ด้านการเมือง ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 40.26 ระบุว่าค่อนข้างเชื่อว่าจะประสบความสำเร็จ ร้อยละ 30.95 ระบุว่าไม่ค่อยเชื่อว่าจะประสบความสำเร็จ ร้อยละ 16.23 ระบุว่าเชื่อว่าจะประสบความสำเร็จแน่นอน และร้อยละ 12.56 ระบุว่าไม่เชื่อเลยว่าจะประสบความสำเร็จ (2) ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน พบว่า ประชาชน ส่วนใหญ่ ร้อยละ 43.99 ระบุว่าค่อนข้างเชื่อว่าจะประสบความสำเร็จ ร้อยละ 28.20 ระบุว่าไม่ค่อยเชื่อว่า จะประสบความสำเร็จ ร้อยละ 18.34 ระบุว่าเชื่อว่าจะประสบความสำเร็จแน่นอน และร้อยละ 9.47 ระบุว่าไม่เชื่อเลย ว่าจะประสบความสำเร็จ 

(3) ด้านกฎหมาย พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 46.54 ระบุว่าค่อนข้างเชื่อว่าจะประสบความสำเร็จ ร้อยละ 28.30 ระบุว่าไม่ค่อยเชื่อว่าจะประสบความสำเร็จ ร้อยละ 15.20 ระบุว่าเชื่อว่าจะประสบความสำเร็จแน่นอน และร้อยละ 9.96 ระบุว่าไม่เชื่อเลยว่าจะประสบความสำเร็จ (4) ด้านกระบวนการยุติธรรม พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 45.41 ระบุว่าค่อนข้างเชื่อว่าจะประสบความสำเร็จ ร้อยละ 28.84 ระบุว่าไม่ค่อยเชื่อว่าจะประสบความสำเร็จ ร้อยละ 14.86 ระบุว่าเชื่อว่าจะประสบความสำเร็จแน่นอน และร้อยละ 10.89 ระบุว่าไม่เชื่อเลยว่าจะประสบความสำเร็จ 

(5) ด้านเศรษฐกิจ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 42.91 ระบุว่าค่อนข้างเชื่อว่าจะประสบความสำเร็จ ร้อยละ 28.84 ระบุว่าไม่ค่อยเชื่อว่าจะประสบความสำเร็จ ร้อยละ 16.04 ระบุว่าเชื่อว่าจะประสบความสำเร็จแน่นอน และร้อยละ 12.21 ระบุว่าไม่เชื่อเลยว่าจะประสบความสำเร็จ  (6) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 46.30 ระบุว่าค่อนข้างเชื่อว่า จะประสบความสำเร็จ ร้อยละ 25.70 ระบุว่าไม่ค่อยเชื่อว่าจะประสบความสำเร็จ ร้อยละ 17.26 ระบุว่าเชื่อว่า จะประสบความสำเร็จแน่นอน และร้อยละ 10.74 ระบุว่าไม่เชื่อเลยว่าจะประสบความสำเร็จ 

(7) ด้านสาธารณสุข พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 40.76 ระบุว่าค่อนข้างเชื่อว่าจะประสบความสำเร็จ ร้อยละ 26.43 ระบุว่าเชื่อว่า จะประสบความสำเร็จแน่นอน ร้อยละ 23.44 ระบุว่าไม่ค่อยเชื่อว่าจะประสบความสำเร็จ และร้อยละ 9.37 ระบุว่า ไม่เชื่อเลยว่าจะประสบความสำเร็จ (8) ด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 46.10 ระบุว่าค่อนข้างเชื่อว่าจะประสบความสำเร็จ ร้อยละ 25.70 ระบุว่าไม่ค่อยเชื่อว่าจะประสบความสำเร็จ ร้อยละ 18.98 ระบุว่าเชื่อว่าจะประสบความสำเร็จแน่นอน และร้อยละ 9.22 ระบุว่าไม่เชื่อเลยว่าจะประสบความสำเร็จ 

(9) ด้านสังคม พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 42.18 ระบุว่าค่อนข้างเชื่อว่าจะประสบความสำเร็จ ร้อยละ 25.75 ระบุว่าไม่ค่อยเชื่อว่าจะประสบความสำเร็จ ร้อยละ 20.89 ระบุว่า เชื่อว่าจะประสบความสำเร็จแน่นอน และร้อยละ 11.18 ระบุว่าไม่เชื่อเลยว่าจะประสบความสำเร็จ (10) ด้านพลังงาน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 45.41 ระบุว่าค่อนข้างเชื่อว่าจะประสบความสำเร็จ ร้อยละ 28.79 ระบุว่าไม่ค่อยเชื่อว่าจะประสบความสำเร็จ ร้อยละ 15.89  ระบุว่าเชื่อว่าจะประสบความสำเร็จแน่นอน และร้อยละ 9.91 ระบุว่าไม่เชื่อเลยว่าจะประสบความสำเร็จ 

(11) ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 39.68 ระบุว่าค่อนข้างเชื่อว่าจะประสบความสำเร็จ ร้อยละ 27.81 ระบุว่าไม่ค่อยเชื่อว่าจะประสบความสำเร็จ ร้อยละ 18.98 ระบุว่าเชื่อว่าจะประสบความสำเร็จแน่นอน และร้อยละ 13.53 ระบุว่าไม่เชื่อเลยว่าจะประสบความสำเร็จ

สำหรับความต้องการที่อยากให้รัฐบาลดำเนินการปฏิรูปประเทศเพิ่มเติมนอกจาก 11 ด้านข้างต้น พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 43.75 อยากให้รัฐบาลดำเนินการปฏิรูปประเทศเพิ่มเติมในด้านยาเสพติด  ร้อยละ 35.94 อยากให้รัฐบาลดำเนินการปฏิรูปประเทศเพิ่มเติมในด้านการเกษตร ร้อยละ 14.84 อยากให้รัฐบาลดำเนินการปฏิรูปประเทศเพิ่มเติมในด้านศาสนา ร้อยละ 3.91 อยากให้รัฐบาลดำเนินการปฏิรูปประเทศเพิ่มเติมในด้านวัฒนธรรม และร้อยละ 1.56 อยากให้รัฐบาลดำเนินการปฏิรูปประเทศเพิ่มเติมในด้านกีฬา

เมื่อถามความคิดเห็นต่อการปฏิรูปประเทศว่าด้านใดควรดำเนินการอย่างเร่งด่วน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ต้องการให้ดำเนินการปฏิรูปประเทศอย่างเร่งด่วนเป็นอันดับ 1 คือ ด้านเศรษฐกิจ ร้อยละ 32.49 อันดับ 2 ด้านการเมือง ร้อยละ 19.67 อันดับ 3 ด้านกฎหมาย ร้อยละ 10.84 อันดับ 4 ด้านสังคม ร้อยละ 9.92 อันดับ 5 ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ร้อยละ 7.14 

อันดับ 6 ด้านสาธารณสุข ร้อยละ 5.29 อันดับ 7 ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ร้อยละ 4.55 อันดับ 8 ด้านกระบวนการยุติธรรม ร้อยละ 4.35 อันดับ 9 ด้านพลังงาน ร้อยละ 3.11 อันดับ 10 ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร้อยละ 1.85 และอันดับ 11ด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ ร้อยละ 0.78

สำหรับความคิดเห็นในเรื่องระยะเวลาดำเนินการปฏิรูปประเทศ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 37.27 คิดว่าควรดำเนินการในระยะเร่งด่วน (ภายใน 1 ปี) ร้อยละ 29.33 คิดว่าควรดำเนินการในระยะปานกลาง (1 – 5 ปี) ร้อยละ 25.60 คิดว่าควรปฏิรูปอย่างต่อเนื่องตลอดไป ร้อยละ 6.18 คิดว่าควรดำเนินการในระยะยาว (มากกว่า 5 ปี) และร้อยละ 1.62 ไม่ทราบ

เมื่อถามถึงความมั่นใจของประชาชนในการปฏิรูปประเทศ รวมถึงการปฏิรูปการศึกษาและการปฏิรูปตำรวจ จะช่วยให้ประชาชนอยู่ดีกินดีอย่างพอเพียง และประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 36.49 ค่อนข้างมั่นใจว่าการปฏิรูปประเทศจะช่วยให้ประชาชนอยู่ดีกินดีอย่างพอเพียง และประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ร้อยละ 32.96 ไม่ค่อยมั่นใจ ร้อยละ 16.48 ไม่มั่นใจเลย ร้อยละ 8.09 มั่นใจมาก และร้อยละ 5.98 ไม่ทราบ/ไม่แน่ใจ 

เมื่อถามถึงการมีส่วนร่วมใน “การปฏิรูปประเทศ 11 ด้าน” พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 27.21 ระบุว่าให้ความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการดำเนินการปฏิรูปประเทศให้ดีขึ้น ตามนโยบายหรือแผนการปฏิรูปประเทศของรัฐบาล ร้อยละ 18.65 ระบุว่ามีส่วนร่วมโดยการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ร้อยละ 14.81 ระบุว่าร่วมแสดงความคิดเห็น และข้อเสนอแนะแก้ไขปัญหาเมื่อมีโอกาส เพื่อให้ประเทศชาติเจริญและพัฒนา ร้อยละ 9.90 ระบุว่าทำหน้าที่พลเมืองตามสิทธิ หน้าที่

ร้อยละ 8.17 ระบุว่าปฏิบัติตามกฎหมายและเคารพกติกาของบ้านเมือง ร้อยละ 4.33 ระบุว่าติดตามการทำงานของรัฐบาล ร้อยละ 4.23 ระบุว่าเป็นคนดีของสังคม มีน้ำใจช่วยเหลือกัน ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ร้อยละ 3.65 ระบุว่าต่อต้านคอร์รัปชัน ร้อยละ 2.69 ระบุว่าร่วมกิจกรรมพัฒนาชุมชน ร้อยละ 2.12 ระบุว่าดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ร้อยละ 1.92 ระบุว่าประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของรัฐบาลที่ถูกต้อง ร้อยละ 1.73 ระบุว่าไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด และร้อยละ 0.58 ระบุว่ามีส่วนร่วมกับกิจกรรมทางการเมือง     .-สำนักข่าวไทย   

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

“สุชาติ” จ่อลาออก สส. ให้สภามี สส.ทำงาน

ทำเนียบ 7 ก.ค.-“สุชาติ” เผยเตรียมลาออก สส. เพื่อให้บัญชีรายชื่อลำดับถัดไปได้ขึ้นมา มองให้สภามี สส.ทำงาน นายสุชาติ ตันเจริญ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงธรรมเนียมปฏิบัติของคนที่เป็น สส.ระบบบัญชีรายชื่อ จะลาออกเมื่อเป็นรัฐมนตรี หรือไม่ว่า ที่ผ่านมายังไม่มีการลาออกแต่โดยธรรมเนียมก็ควรจะลาออก เพราะการทำหน้าที่ของรัฐมนตรีก็เต็มเวลาอยู่แล้ว ไม่มีเวลาที่จะไปช่วยงานสภา ซึ่งขณะนี้สภาเสียงปริ่มน้ำ ซึ่งตนมีความตั้งใจที่จะลาออกจาก สส ระบบบัญชีรายชื่ออยู่แล้ว เพื่อให้ สส.ระบบบัญชีรายชื่อลำดับถัดไปได้เลื่อนขึ้นมา ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สส. ลำดับถัดไปที่จะขึ้นมาเป็น สส.แทนนายสุชาติ คือ นายเอกพร รักความสุข บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 38.-316.-สำนักข่าวไทย

พม.ร้องเอาผิด “จอนนี่ มือปราบ” สร้างรีสอร์ทรุกล้ำที่ส่วนกลาง

บก.ปทส. 7 ก.ค. – จนท.กรมพัฒนาสังคมฯ ร้องตำรวจป่าไม้ตรวจสอบปมรีสอร์ทของ “จอนนี่มือปราบ” อินฟลูชื่อดัง บุกรุกพื้นที่นิคมสร้างตนเองลำโดมน้อย ในอุบลราชธานี และถูกข่มขู่ไม่ให้เข้าพื้นที่ นายวัชระ โกเสนตอ นักพัฒนาสังคมชำนาญการพิเศษ ได้รับมอบอำนาจจากนายกันตพงศ์ รังษีสว่าง อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นำหลักฐานเอกสารเข้าแจ้งความกับกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือ บก.ปทส. เพื่อให้ดำเนินคดีกับ ด.ต.ยุทธพล หรือ “จอนนี่ มือปราบ” อดีตตำรวจที่ผันตัวลาออกจากราชการมาเป็นอินฟลูเอนเซอร์ กรณีสร้างรีสอร์ทรุกเข้าไปในเขตนิคมสร้างตนเองลำโดมน้อย ตำบลคำเขื่อนแก้ว อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี นายวัชระ เปิดเผยว่า กรมพัฒนาสังคมฯ รับแจ้งจากนิคมสร้างตนเองลำโดมน้อย ว่ามีผู้เข้าไปทำประโยชน์ในที่ดินของนิคมโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยส่วนที่รุกล้ำเข้ามาเป็นพื้นที่ที่นิคมกันไว้เป็นป่าไม้ส่วนกลาง 20% รุกล้ำเข้ามาประมาณ 1 ไร่ และเริ่มก่อสร้างรีสอร์ทเมื่อปี 2564 เป็นต้นมา และทางกรมฯ ก็ได้ลงบันทึกประจำวันและมีหนังสือให้ระงับการดำเนินการรีสอร์ทมาตั้งแต่ปี 2565 แต่เจ้าของรีสอร์ทไม่ให้ความร่วมมือ และยังมาโวยวายที่นิคมฯ ข่มขู่เจ้าหน้าที่ ไม่ให้เจ้าหน้าที่เข้าไปที่รีสอร์ท ทั้งนี้นิคมสร้างตนเองลำโดมน้อย มีพื้นที่ตามแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมสร้างตนเองฯ ชัดเจน เนื้อที่ […]

Camp Mystic after Texas floods

เปิดภาพความเสียหายน้ำท่วมแคมป์ในเท็กซัส

เท็กซัส 6 ก.ค.- ทีมกู้ภัย อาสาสมัครและตำรวจ ช่วยกันรื้อถอนเศษซากความเสียหายและซากต้นไม้กิ่งไม้ใกล้ที่ตั้งแคมป์ในรัฐเท็กซัสของสหรัฐ ซึ่งมีนักเรียนหญิง 27 คน สูญหายจากเหตุน้ำท่วมฉับพลันที่เกิดขึ้นเมื่อเช้ามืดวันศุกร์ตามเวลาท้องถิ่น   ค่ายมิสติก (Camp Mystic) เป็นค่ายกิจกรรมนักเรียนหญิงล้วน มีนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมในค่าย 700 คน ในช่วงที่เกิดฝนตกหนักและน้ำท่วมฉับพลันครั้งใหญ่ในเทศมณฑลเคอร์ ทางตอนกลางของรัฐเท็กซัส แคมป์แห่งนี้ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำกัวดาลูปในแถบหุบเขาตอนกลางรัฐเท็กซัส ซึ่งเป็นศูนย์กลางที่เกิดน้ำท่วม ก่อตั้งโดยโค้ชฟุตบอลมหาวิทยาลัยเท็กซัส เมื่อเกือบหนึ่งร้อยปีก่อนในปี 2469 เพื่อให้เยาวชนหญิงได้สัมผัสบรรยากาศแบบคริสเตียนในการพัฒนาตนเอง.-820(814).-สำนักข่าวไทย

กรมอุตุฯ เตือน 4 ภาครับมือฝนถล่ม ระวังน้ำท่วม-น้ำป่าไหลหลาก

กทม. 6 ก.ค.- กรมอุตุฯ เผยประเทศไทยยังมีฝนฟ้าคะนอง เตือน “เหนือ อีสาน ตะวันออก ใต้” รับมือฝนตกหนัก อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก กรมอุตุนิยมวิทยาเผยภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณจังหวัดภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ทั้งนี้เนื่องจากมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเมียนมาตอนบนและลาวตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย อนึ่ง พายุโซนร้อน “ดานัส” บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน คาดว่าจะเคลื่อนเข้าใกล้ไต้หวัน ในช่วงวันที่ 6–7 กรกฎาคม 2568 โดยไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย แต่จะทำให้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่ปกคลุมประเทศไทยมีกำลังแรงขึ้น โดยพายุนี้ไม่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย – สำนักข่าวไทย

ข่าวแนะนำ

ชาวแม่อายกังวลพบสารหนูในร่างกาย สธ.ยันไม่เกินมาตรฐาน

เชียงใหม่ 8 ก.ค. – หลังชาวบ้านริมลำน้ำกก บริเวณชายแดนด้าน อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ เครียดและกังวลกับปัญหาสารหนูปนเปื้อนเกินมาตรฐานในลำน้ำกก ส่งผลต่อวิถีชีวิตและการใช้น้ำมานานกว่า 3 เดือน ตอนนี้ชาวบ้านยิ่งตื่นกลัวมากขึ้น หลังมีกระแสข่าวการสุ่มตรวจปัสสาวะเด็กในชุมชนอย่างน้อย 2 คน พบสารหนูในร่างกาย ขณะที่สาธารณสุขเชียงใหม่ ยอมรับการสุ่มตรวจกลุ่มเสี่ยง 10 ราย พบสารหนู 9 ราย แต่ไม่เกินมาตรฐาน.-สำนักข่าวไทย

ค้นรัง “ก๊กอาน” เจ้าพ่อคราวน์กาสิโน คนสนิท “ฮุนเซน”

8 ก.ค. – ตำรวจไซเบอร์เปิดปฏิบัติการ “ปิดตึกบัญชีม้า ล่านายทุนเขมร” ค้น 19 จุด 3 จังหวัด เครือข่าย “ก๊กอาน” เจ้าพ่อคราวน์กาสิโน คนสนิท “สมเด็จฮุน เซน” ตามหมายจับสมคบกันก่ออาชญากรรมข้ามชาติ พัวพันในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ในปอยเปต กัมพูชา.-สำนักข่าวไทย

ทบ.พาสื่อทัวร์ปราสาทตาเมือนธม ปัดโต้กัมพูชากล่าวหาไทยรุกราน

สุรินทร์ 8 ก.ค.- ทบ. พาสื่อทัวร์ปราสาทตาเมือนธม หวังเรียกนักท่องเที่ยวดูโบราณสถาน มองเป็นเรื่องดี หลังประชาชนทะลักเข้าชมปราสาท เผยไม่โต้กัมพูชากล่าวหาไทยรุกราน มุ่งยึดการสื่อสาร ไทย-กัมพูชา ไม่พัฒนาไปสู่ความตึงเครียด พล.ต.วินธัย สุวารี โฆษกกองทัพบก (ทบ.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีการพาสื่อมวลชนลงพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา ที่ปราสาทตาเมือนธม ว่า พล.อ.พนา แคล้วปลอดทุกข์ ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) อยากให้พาสื่อมวลชนส่วนกลางมาลงพื้นที่ ทั้ง จ.สุรินทร์ จ.บุรีรัมย์ จ.อุบลราชธานี โดยอยากให้สื่อสัมผัสกับพื้นที่จริง 2 ส่วน โดยส่วนที่ 1 คือทหารที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในพื้นที่ ส่วนที่ 2 เรื่องของพื้นที่ส่วนหลังในเรื่องความพร้อมต่าง ๆ ที่ทางทหารและฝ่ายปกครองได้เตรียมความพร้อมกันไว้ ซึ่งปราสาทตาเมือนธมเป็นจุดแรกที่เป็นจุดที่มาลงพื้นที่หลังฟังคำบรรยายของกองกำลังสุรนารี โดยส่วนหนึ่งที่เดินทางมาในวันนี้เพื่อเยี่ยมชมโบราณสถาณที่สำคัญ ตามจริงเราขึ้นทะเบียนกับกรมศิลปากรเมื่อปี พ.ศ. 2478 รวมถึงได้มีการมอบสิ่งของบำรุงขวัญและให้กำลังใจ เจ้าหน้าที่ทุกส่วนที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในพื้นที่แห่งนี้ ผู้สื่อข่าวถามว่ากรณีที่ผ่านมามีปากเสียงกันในพื้นที่ปราสาทตาเมือนธม ได้มีการรับรายงานเรื่องนี้หรือไม่ พล.ต.วินธัย กล่าวว่า ตอนนี้ยังไม่ได้ได้รับรายงาน ส่วนที่ผ่านมาก็เป็นไปตามที่สื่อมวลชนได้รับข้อมูล ถือว่าไม่ได้อยู่ในจุดที่น่ากังวล ผู้ปฏิบัติงานทั้งฝ่ายไทยและฝ่ายกัมพูชา ก็สามารถใช้ความสัมพันธ์ในลักษณะที่เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในพื้นที่ […]

“แพทองธาร” ชูแนวคิดวัฒนธรรมสร้างสรรค์ ยกระดับสู่เวทีโลก

ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ 8 ก.ค.- “แพทองธาร” เปิดโครงการการประชุมนานาชาติด้านซอฟต์พาวเวอร์ SPLASH – Soft Power Forum 2025 ชี้วัฒนธรรมไทยมีครบถ้วนทุกองค์ประกอบที่จะทำให้ต่างชาติหลงรัก กำลังกลายเป็นเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ ชูแนวคิดวัฒนธรรมสร้างสรรค์ ยกระดับสู่เวทีโลก ตั้งเป้าส่งออกอัญมณีให้ถึง 1 ล้านล้านบาท ภายใน 5 ปี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการการประชุมนานาชาติด้านซอฟต์พาวเวอร์ (SPLASH – Soft Power Forum 2025) ณ เวทีกลาง Exhibition Hall 4 ชั้น G ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯ โดยมีรัฐมนตรี คณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ หน่วยงานภาครัฐภาคเอกชนเข้าร่วม โดยนางสาวแพทองธาร กล่าวว่า รู้สึกดีใจอย่างมากที่มีโอกาสได้มางานนี้อีกครั้ง ซึ่งปีที่แล้วเป็นปีที่แรก และปีนี้งานยิ่งใหญ่กว่าเดิม มีคนให้ความสนใจจำนวนมาก ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าชื่นใจ ทุกวันนี้เราอยู่ในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วมีสิ่งที่เราคาดการณ์ไม่ได้เกิดขึ้นมากมายทั้งในเรื่องของสภาพเศรษฐกิจและอีกหลายปัจจัยทั่วโลก ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รวมถึงเทคโนโลยีต่างๆที่เข้ามาทำให้เราต้องมีการปรับตัวที่เพิ่มมากขึ้น ตนเชื่อว่าการเข้าสู่บริบทของการเปลี่ยนแปลงนั้น การเข้าใจเป็นสิ่งที่สำคัญมาก […]