กรุงเทพฯ
21 มี.ค. –นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รมว.พลังงาน
กำหนดกรอบค่าไฟฟ้าในอนาคตจะต้องไม่แพงขึ้น โรงไฟฟ้าขนาดใหญ่หากเข้าระบบจะต้องไม่แพงกว่าค่าไฟฟ้าขายส่ง
ที่ 2.40 บาท/หน่วย
ส่วนพลังงานทดแทนไร้เงินอุดหนุนใช้ระบบแข่งขันประมูลค่าไฟฟ้าโดยรวมจะต้องไม่แพงกว่าขายปลีกให้ประชาชน
ที่ 3.60 บาท/หน่วย
แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า กรอบค่าไฟฟ้าดังกล่าวจะเป็นส่วนสำคัญในการการจัดทำร่างแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ(พีดีพี)
ฉบับใหม่ ที่ นายศิริกำหนดให้ทำกรอบทั้งหมดให้เสร็จภายในสิ้นเดือนมีนาคมนี้
เพื่อนำไปสู่รายละเอียดการจัดรายละเอียดต่อไป
โดยการกำหนดเรื่องโรงไฟฟ้าใหม่จะดูเป็นรายภาคเป็นหลักว่ามีความต้องการมากน้อยเพียงใด
เพื่อลดความสูญเสียระบบส่ง รวมไปถึงสนองตอบต่อเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น สมาร์ทกริด
โครงการผลิตไฟฟ้าใช้เอง หรือไอพีพีเอส ที่มีมากยิ่งขึ้น
ในขณะที่การซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศจะมีน้อยลง เพราะสำรองในประเทศที่มีสูงถึงร้อยละ
30
นายทวารัฐ
สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.) กล่าวว่า
กรอบการการจัดทำร่างแผนพีดีพี ฉบับใหม่ ยังมีหลายสมมุติฐาน
เช่นการผลิตไฟฟ้าที่ไม่ส่งผลกระทบต่อต้นทุนค่าไฟฟ้า การคิดต้นทุนเป็นรายภาค
แต่ค่าไฟฟ้ายังเป็นค่าไฟฟ้าเดียวกันทั่วประเทศ เป็นต้น
นายวีระพล จิรประดิษฐกุล
กรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.) และโฆษก กกพ. กล่าวว่า
จากการสนับสนุนรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนใอดีตส่งผลกระทบต่อต้นทุนผลิตไฟฟ้าปัจจุบันราว
20 สตางค์ต่อหน่วย ดังนั้น
จึงเป็นโจทย์ที่
กกพ.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องร่วมกันกำหนดรูปแบบโครงการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนในอนาคตตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
ที่ไม่ต้องการให้เป็นภาระต่อค่าไฟฟ้า ซึ่งพบว่าต้นทุนผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนที่ปรับลดลงอย่างรวดเร็ว การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา(โซลาร์รูฟท็อป)ติดตั้งเพิ่มขึ้น
ขณะนี้ มีการขอจดแจ้งติดตั้งกับ กกพ. ประมาณ 4-5 ใบต่อเดือน หรือ รวมกันราว 4-5 เมกะวัตต์ต่อเดือน ทั้งในส่วนของโรงงานอุตสาหกรรม รีสอร์ท
และห้างสรรพสินค้าต่างๆ ซึ่งมีทั้งที่ขอเชื่อมต่อไฟฟ้าเข้าระบบ
และไม่เชื่อมต่อในระบบ
ทำให้ ปัจจุบัน
มีกำลังผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์รูฟท็อป รวมกว่า 120 เมกะวัตต์ และคาดว่าจะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต
ซึ่งหากรวมกับกำลังผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์ฟาร์ม
จะทำให้กำลังผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์ทุกชนิดอยู่ที่ประมาณ 3,200 เมกะวัตต์
ล่าสุด โรงไฟฟ้าในประเทศ มีกำลังผลิตติดตั้งรวม 60,666 เมกะวัตต์
แบ่งเป็นที่มีสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA)แล้ว 46,148 เมกะวัตต์ จำนวนนี้เป็นกลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็ก(SPP) จำนวน 12,553 เมกะวัตต์ ส่วนนี้ขายไฟฟ้าให้ กฟผ. 7,596 เมกะวัตต์ และขายตรง ราว 5,000 เมกะวัตต์
และกลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้าใช้เอง(IPS) 2,580 เมกะวัตต์ ซึ่งส่วนนี้เป็นIPS จากพลังงานหมุนเวียนราว 1,000 เมกะวัตต์
“การเพิ่มขึ้นของ
IPS โดยเฉพาะโซลาร์รูฟท้อปจะเพิ่มขึ้นและส่งผลการใช้ไฟฟ้าจาก 3
การไฟฟ้า อาจลดลงเหลือครึ่ง ในขณะที่ระบบไฟฟ้าจะต้องสำรองพลังงานทดแทนด้วย ดังนั้น
อาจจำเป็นต้องพิจารณาถึงการจัดเก็บอัตราค่าไฟฟ้าสำรอง (Back up Rate)จากกลุ่มผู้ใช้รายย่อย จากการศึกษาทั่วโลกก็มีระบบนี้ เช่น สเปน
มีการจัดเก็บภาษีแดด แต่ก็ส่งผลให้การผลิตไฟฟาจากโซลาร์ชะลอลง
ซึ่งรัฐต้องกำหนดแนวนโยบายให้เหมาะสมต่อไป”นายวีระพลกล่าว-สำนักข่าวไทย