fbpx

เอสเอ็มอีแบงก์หนุนเอสเอ็มอี-สตาร์ทอัพ

กรุงเทพฯ  23 ก.พ. – เอสเอ็มอีแบงก์ผนึกกำลัง มจธ.-สวทน. ผลักดันเอสเอ็มอี-สตาร์ทอัพเข้าถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรม พร้อมให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ วงเงินกว่า 58,000 ล้านบาท บอร์ดเอสเอ็มอีแบงก์อนุมัติขอเพิ่มทุน 8 พันล้านบาท มุ่งเน้นปล่อยรายย่อยเพิ่มอีก 1 แสนรายช่วง 3 ปีข้างหน้า 


นายมงคล ลีลาธรรม กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) ลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ร่วมกับผู้บริหาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) และสำนักงานคณะกรรมการโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) “โครงการพัฒนาผู้ประกอบการสตาร์ทอัพและเอสเอ็มอีก้าวไกลครบวงจร” เพื่อช่วยยกระดับความสามารถทางการแข่งขันของเอสเอ็มอีให้แข็งแกร่ง  เพื่อเข้าไปพัฒนาช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และสตาร์ทอัพเชื่อมโยงกับงานด้าน Eco-System ให้เกิดการเรียนรู้ต่อยอดช่วยเหลือผู้ประกอบการ 

พร้อมตั้งศูนย์ “KX Knowledge Exchange” เพื่อแลกเปลี่ยนการเรียนรู้และลงมือทำผลงานด้านเทคโนโลยีนวัตกรรมโดยตรง ทั้งที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญ  ขณะที่ สวทน. ช่วยสนับสนุนเงินทุน ภายใต้โครงการ TM หรือ Talent Mobility ช่วยเหลือไปสู่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีด้วยแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ เช่น โครงการสินเชื่อเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน Local Economy Loan วงเงินรวม 50,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยพิเศษ 3 ปีแรกร้อยละ 3 ต่อปี วงเงินกู้สูงสุดต่อรายไม่เกิน 5 ล้านบาท ฟรีค่าธรรมเนียมค้ำประกัน 4 ปี  หากกู้ 1 ล้านผ่อนชำระเพียง 460 บาทต่อเดือน  และโครงการสินเชื่อเพื่อเอสเอ็มอีคนตัวเล็ก วงเงินรวม 8,000 ล้านบาท มุ่งเน้นช่วยผู้ประกอบที่เรียกว่า จุลเอสเอ็มอี สามารถกู้ได้สูงสุด 1 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยพิเศษเพียงร้อยละ 1  ต่อปี ตลอดระยะเวลา 7 ปี และปลอดชำระเงินต้น 3 ปีแรก เพื่อให้โอกาสผู้ประกอบการตัวเล็กที่มีปัญหาทางการเงินไปใช้ลงทุนขยาย ปรับปรุงกิจการ สินเชื่อทั้งสองโครงการคาดว่าช่วยเหลือผู้ประกอบการได้ 77,000 ราย และต้องการดึงผู้ประกอบใช้นวัตกรรมเปลี่ยนเป็นผู้ประกอบการสตาร์ทอัพให้ได้ร้อยละ 10-20 จากทั้งหมดกว่า 70,000 ราย 


ปัจจุบันมีนักวิจัยและผู้ช่วยนักวิจัยจากเครือข่าย Talent Mobility 21 มหาวิทยาลัย เคลื่อนย้ายไปปฏิบัติงานในภาคเอกชนกว่า 1,000 คน และในสถานประกอบการกว่า 300 แห่ง พบว่าประเภทอุตสาหกรรมที่เข้าร่วมโครงการมากที่สุด คือ อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร สัดส่วนร้อยละ 37 จากจำนวนสถานประกอบการทั้งหมดที่เข้าร่วมโครงการ และเป็นกิจกรรมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมในสถานประกอบการมากถึงร้อยละ  61 การลงนามความร่วมมือดังกล่าวสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการ เช่น การช่วยเหลือไก่ย่าง เขาสวนกวาง ใช้ระบบซีลไก่ เก็บไว้ได้นานคงรสชาติเดิม นำไปเป็นของฝากได้  การส่งเสริมผู้บ้านตเหล็ก จ.แพร่ ใช้เเทคโนโลยีเข้าไปช่วยการตีเหล็ก แต่คงวัฒนธรรมเผาถ่าน ศิลปตีเหล็กแบบเดิม จากทำมีด1 ด้าม เพิ่มเป็น 100 ด้ามต่อวัน 

นายมงคล  กล่าวเพิ่มเติมว่า ที่ประชุมบอร์ดเอสเอ็มอีแบงก์เห็นชอบเสนอกระทรวงการคลังเพิ่มทุนให้กับเอสเอ็มอีแบงก์หลังออกจากแผนฟื้นฟู จากเดิมมีทุน 9,000 ล้านบาท เพิ่มทุนอีก 8,000 ล้านบาท จากเงินกองทุนพัฒนาสถาบันเฉพาะกิจของรัฐ ทำให้เงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง BIS มีสัดส่วนร้อยละ 11 สูงกว่ามาตรฐานธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และทำให้ปล่อยให้กับเอสเอ็มอีรายย่อยจากปัจจุบันมีจำวน 200,000 ราย เพิ่มอีก 100,000 ราย เพราะเน้นปล่อยวงเงิน 1 ล้านบาทต่อรายในช่วง 3 ปีข้างหน้า และคาดว่ายอดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) จากปัจจุบันร้อยละ 16 จะลดเหลือร้อยละ 14 ในสิ้นปีนี้และลดเหลือร้อยละ 8 ในปี 2564 .-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

พบศพโบลท์หญิงวัย 47 ในป่าหญ้าริมทาง คาดถูกฆ่าชิงรถ

โบลท์หญิงวัย 47 ปี หายตัวจากบ้านพักย่านดินแดง 9 วัน ล่าสุดพบเป็นศพในป่าหญ้าริมถนนสายนครชัยศรี-ห้วยพลู อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ส่วนรถยนต์โผล่ที่ จ.ภูเก็ต คาดถูกคนร้ายฆ่าชิงรถ

pagers on display

ทำไมยังมีการใช้ “เพจเจอร์” ในยุคสมาร์ทโฟน

ลอนดอน 19 ก.ย.- เพจเจอร์ หรือวิทยุติดตามตัวเป็นอุปกรณ์การสื่อสารยอดนิยมในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ที่ต้องหลีกทางให้แก่โทรศัพท์เคลื่อนที่ เนื่องจากเป็นการสื่อสารทางเดียว แต่ยังคงมีการใช้งานในบางกลุ่ม รวมถึงกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ที่เพจเจอร์ระเบิดพร้อมกันหลายพันเครื่องทั่วเลบานอนเมื่อวันที่ 17 กันยายน แหล่งข่าวเผยว่า ฮิซบอลเลาะห์ใช้เพจเจอร์ เนื่องจากเป็นช่องทางสื่อสารเทคโนโลยีต่ำ ส่งข้อความผ่านสัญญาณวิทยุ จึงตรวจจับสัญญาณและตำแหน่งได้ยากกว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ส่งสัญญาณไปยังเสาส่งที่อยู่ใกล้ที่สุด อีกทั้งไม่มีเทคโนโลยีระบุพิกัดบนพื้นโลกอย่างจีพีเอสด้วย อดีตเจ้าหน้าที่สำนักงานสอบสวนกลางหรือเอฟบีไอ (FBI) ของสหรัฐเผยว่า ในอดีตแก๊งอาชญากรรมโดยเฉพาะแก๊งค้ายาเสพติดในสหรัฐเคยนิยมใช้เพจเจอร์ แต่ขณะนี้หันมาใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงินราคาถูกที่สามารถเปลี่ยนเครื่องและหมายเลขได้อย่างง่ายดาย ทำให้เจ้าหน้าที่ติดตามแกะรอยได้ยาก อย่างไรก็ดี  ศัลยแพทย์โรงพยาบาลใหญ่แห่งหนึ่งในสหราชอาณาจักรเผยว่า เพจเจอร์เป็นอุปกรณ์ที่แพทย์และพยาบาลสังกัดสำนักงานบริการสุขภาพแห่งชาติหรือเอ็นเอชเอส (NHS) ต้องพกติดตัวอยู่เสมอ เพื่อรับแจ้งข่าวในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นช่องทางที่ถูกที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการแจ้งข่าวทางเดียวกับคนจำนวนมาก เพจเจอร์หลายรุ่นสามารถส่งเสียงไซเรนและมีข้อความเสียงแจ้งให้ทีมแพทย์ไปรวมตัวที่ห้องฉุกเฉินได้ทันที ข้อมูลล่าสุดในปี 2562 ระบุว่า เอ็นเอชเอสใช้เพจเจอร์ประมาณ 130,000 เครื่อง คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 10 ของที่ใช้ทั่วโลก คอกนิทีฟมาร์เก็ตรีเสิร์ช  (Cognitive Market Research) ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยคาดการณ์ว่า ตลาดเพจเจอร์จะเติบโตร้อยละ 5.9 ต่อปี จากปี 2566 ถึงปี 2573 […]

ข่าวแนะนำ

ชีวิตติดลบ! ชาวแม่สายจมน้ำจมโคลน 10 วันแทบหมดตัว

หลายชุมชนชายแดนแม่สาย เผชิญน้ำท่วมและจมโคลนมา 10 วันแล้ว อยู่ในสภาพแทบหมดตัว ต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่กับชีวิตที่ต้องติดลบจากน้ำท่วมครั้งนี้

อาลัย “อดีตแข้ง U19” ขับเบนซ์พลิกคว่ำดับพร้อมภรรยา

วงการลูกหนังอาลัย “อดีตนักเตะ U19” ขับเบนซ์พลิกคว่ำดับพร้อมภรรยา ชาวบ้านเผยจุดนี้เกิดอุบัติเหตุบ่อย ลงสะพานอย่าขับเร็ว

สอบเพิ่ม “ไอ้แม็ก” ฆ่าชิงทรัพย์หญิงขับโบลท์ ฝากขังพรุ่งนี้

ตำรวจคุมตัว “ไอ้แม็ก” สอบปากคำเพิ่มคดีฆ่าชิงทรัพย์โชเฟอร์สาวขับโบลท์ เจ้าตัวปฏิเสธไปชี้จุด อ้างปวดท้องไม่สบาย เตรียมฝากขังพรุ่งนี้