นายสมชาย หาญหิรัญ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมมีนโยบายถ่ายโอนงานรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนให้สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด (สอจ.) ทั่วประเทศดำเนินการ หลังจากที่ถ่ายโอนไปแล้ว 20 จังหวัดเมื่อปี 2549 ได้แก่ เชียงใหม่ ลำปาง พะเยา นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ระยอง จันทบุรี สงขลา กระบี่ ตรัง นครศรีธรรมราช พัทลุง พังงา นราธิวาส ภูเก็ต และสตูล เพื่อให้การรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ตลอดจนเป็นการกระจายงานด้านการรับรอง มผช. จากส่วนกลางไปยังส่วนภูมิภาคเพื่อให้การรับรองเบ็ดเสร็จภายในจุดเดียว
เนื่องจากยังมีผู้ผลิตชุมชนอีกจำนวนมากที่ยังไม่ได้รับการรับรอง หากมีหน่วยงานระดับจังหวัดให้การรับรองได้โดยไม่ต้องส่งให้ สมอ. ก็จช โดย สมอ. จะอบรมให้ความรู้ในการดำเนินงานเป็นหน่วยรับรองระดับจังหวัดให้กับ สอจ. ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2559 ตลอดจนดูแลให้คำปรึกษาแนะนำเพื่อให้สามารถดำเนินงานต่อได้ โดยภาระกิจของ สมอ. ด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนภายหลังถ่ายโอนงานแล้วจะประกอบด้วย การกำหนดมาตรฐาน และการพัฒนาผู้ประกอบการให้มีความสามารถทำผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปตามมาตรฐาน มผช. สำหรับการรับรองจะให้การรับรองเฉพาะในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร และจะประสานงานการรับรองผลิตภัณฑ์และติดตามผลกับทุกจังหวัด เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
เลขาธิการ สมอ. กล่าวในท้ายที่สุดว่า ปัจจุบัน สมอ. ได้ประกาศใช้มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนแล้วจำนวน 1,228 มาตรฐาน ใน 5 กลุ่มผลิตภัณฑ์ ได้แก่ 1) อาหาร 2) เครื่องดื่ม 3) ผ้าและเครื่องแต่งกาย 4) ของใช้ ของตกแต่ง ของที่ระลึก 5) สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร และให้การรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนแล้วจำนวน 74,216 ราย การถ่ายโอนงานให้สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดในครั้งนี้ เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะส่งเสริมให้การรับรองผลิตภัณฑ์ชุมชนเป็นไปอย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ซึ่งช่วยผลักดันให้สินค้า OTOP มีระบบการควบคุมคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานอย่างสม่ำเสมอ สร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภค และสามารถแข่งขันได้ในตลาดต่างประเทศ.-สำนักข่าวไทย