กรุงเทพฯ
11 ธ.ค.-กระทรวงอุตสาหกรรม แนะผู้ประกอบการ เตรียมความพร้อมปรับตัวให้เติบโตหรืออยู่รอดให้ได้
เมื่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้ามาถึง
นายพสุ
โลหารชุน ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
เปิดเผยถึงการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยียานยนต์ในอนาคต ว่า
ทิศทางอุตสาหกรรมยานยนต์โลกจะมุ่งสู่รถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า ได้แก่
รถไฟฟ้าไฮบริด รถยนต์ไฟฟ้าไฮบริดปลั๊กอิน รถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่
และรถยนต์ไฟฟ้าแบบเซลล์เชื้อเพลิง ในประเทศไทยมีการผลิตรถไฟฟ้าแล้ว 2 ประเภทคือ
รถไฟฟ้าไฮบริดและรถยนต์ไฟฟ้าไฮบริดปลั๊กอิน ซึ่งภาครัฐได้กำหนดนโยบายและ
มาตรการส่งเสริมการลงทุน รวมถึงการสร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมดังกล่าว
โดยได้เปิดกว้างรับทุกเทคโนโลยี
เพราะผู้ผลิตแต่ละรายจะมีความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยีที่แตกต่างกันไป
โดยผู้ประกอบการไทยทั้งผู้ผลิตรถยนต์และผู้ผลิตชิ้นส่วน
จำเป็นต้องเตรียมความพร้อมที่จะปรับตัวให้เติบโตหรืออยู่รอดให้ได้ เมื่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้ามาถึง
ซึ่งผู้ผลิตชิ้นส่วนจำเป็นต้องเร่งพัฒนาในทิศทางที่สอดคล้องกับผู้ผลิตรถยนต์
เพื่อก้าวไปพร้อมๆ กัน หากเปลี่ยนผ่านไม่ทันอาจสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน
และอาจส่งผลให้ธุรกิจค่อยๆ ล้มหายไป เหมือนอย่างกรณีที่เคยเกิดขึ้นแล้วกับอุตสาหกรรมผู้ผลิตจอภาพโทรทัศน์ของไทย
ซึ่งเคยเป็นผู้นำในการผลิตทีวีจอแก้ว (CRT) แต่มีการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยี ไปเป็นจอแอลซีดี (LCD) แอลอีดี (LED) เต็มรูปแบบ
และในปัจจุบันเป็นจอโอแอลอีดี (OLED) ดังนั้น
หากชะล่าใจไม่ปรับตัว อาจทำให้สูญเสียตลาดให้กับคู่แข่งได้ กระทรวงฯ
แนะนำให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนของไทย เข้ามาใช้บริการศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่อนาคต (Industry transformation center : ITC)
เพื่อช่วยออกแบบ แก้ปัญหา
และร่วมคิดทดสอบผลิตภัณฑ์ชิ้นส่วนใหม่ที่เหมาะสมกับเทคโนโลยีรถไฟฟ้า
รวมทั้งความต้องการของตลาด”
ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าว
จากการสำรวจข้อมูลล่าสุดของสถาบันยานยนต์
พบว่า มีผู้ประกอบการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ประมาณ 1,600 ราย โดยเป็นกิจการของคนไทยจำนวน 850 ราย
ทั้งนี้ รถยนต์นั่ง 1 คัน จะประกอบด้วยชิ้นส่วนหลัก จำนวน 800-2,200
ชิ้นในการพัฒนาจากรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายในไปสู่รถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่นั้น
จะส่งผลกระทบกับผู้ผลิตชิ้นส่วน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรก ชิ้นส่วนที่จะหายไป
ได้แก่ เครื่องยนต์ ระบบส่งกำลัง หม้อน้ำ กลุ่มที่สอง ชิ้นส่วนที่จะมีอยู่ ได้แก่
ระบบเกียร์ ระบบเบรก ชิ้นส่วนที่มีความสำคัญต่อประสิทธิภาพการประหยัดพลังงาน และด้านความปลอดภัย
ระบบปรับอากาศที่ใช้ไฟฟ้า และกลุ่มที่ 3 ชิ้นส่วนใหม่ ได้แก่ แบตเตอรี่
มอเตอร์ไฟฟ้า และกล่องควบคุม (ECU) หรือชิ้นส่วนที่มีการใช้วัสดุที่มีน้ำหนักเบาขึ้นโดยผู้ผลิตชิ้นส่วนในกลุ่มที่
2 จะต้องพัฒนาด้านการออกแบบ รวมถึงการวิจัยและพัฒนา เพื่อให้ชิ้นส่วนในปัจจุบันใช้ได้กับรถยนต์ไฟฟ้า
ซึ่งอาจจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบ
หรือคุณสมบัติเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในอนาคต
ปลัดกระทรวงกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวด้วยว่า กระทรวงอุตสาหกรรม เตรียมประกาศให้กลุ่มบริษัทไทยอีสเทิร์น
เป็นเขตประกอบการอุตสาหกรรมแห่งที่ 26 ภายในปี 2561
หลังจากผ่านการพิจารณาจากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือ
สผ. แล้ว พร้อมทั้งได้ขอความร่วมมือให้กลุ่มบริษัท
ไทยอีสเทิร์นเป็นพี่เลี้ยงในการช่วยเหลือชุมชน
ด้วยการให้ความรู้แก่รัฐวิสาหกิจชุมชน เพื่อเป็นการตอบแทนสังคม
และยังสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ที่จะกระจายความรู้ พัฒนาผู้ประกอบการขนาดเล็ก
ให้มีความสามารถมากขึ้น สำหรับกลุ่มบริษัทไทยอีสเทิร์น
ถือเป็นอุตสาหกรรมต้นแบบ
ศูนย์เรียนรู้ ในการเป็น smart famer และการใช้พลังงานสีเขียว ลดต้นทุนการผลิต.
เป็นมิตรสิ่งแวดล้อม การใช้พลังงานจากพืชพลังงาน นำน้ำเสียจากการผลิต
มาบำบัดให้เป็นน้ำดีที่สามารถอุปโภคได้ ก่อนไปรดต้นปาล์มภายในพื้นที่โรงงาน
สำหรับกลุ่มบริษัท
ไทยอีสเทิร์นถือเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมาย
อีกทั้งตั้งอยู่ในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก
จึงสามารถขอใช้สิทธิส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการ ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก
หรือบอร์ดEEC ได้ ซึ่งขณะนี้มีนักลงทุนต่างชาติให้ความสนใจมาเช่าพื้นที่ของไทยอีสเทิร์นในการประกอบธุรกิจจำนวนมาก
คาดว่าจะมีเม็ดเงินจากการลงทุนครั้งนี้ประมาณ 20,000
ล้านบาท .-สำนักข่าวไทย