เปิดประวัติ “สุรินทร์ พิศสุวรรณ” จากเด็กชายชาวนครศรีฯ สู่เลขาธิการอาเซียน

กรุงเทพฯ 30 พ.ย.-แวดวงการเมืองไทยต้องสูญเสียบุคคลสำคัญอีกครั้ง หลังจากนายสุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตเลขาธิการอาเซียน รวมถึงอดีตรัฐมนตรีต่างประเทศ ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อเวลา 15.00 น.ที่ผ่านมา


ผู้ใกล้ชิดของนายสุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตเลขาธิการอาเซียน และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ยืนยันว่านายสุรินทร์ ถึงแก่อนิจกรรมด้วยอาการหัวใจวายเฉียบพลัน ด้วยวัย 68 ปี หลังมีอาการหน้ามืดเป็นลม ก่อนที่ญาติได้นำตัวส่งโรงพยาบาลรามคำแหง เบื้องต้นจะมีการทำพิธีที่บ้านท่าอิฐ จ.นนทบุรี ในวันศุกร์ที่ 1 ธันวาคมนี้


นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ เกิดเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ.2492 เป็นคนบ้านตาล ต.กำแพงเซา อ.เมืองนครศรีธรรมราช โดยชีวิตครอบครัวสมรสกับ อลิสา พิศสุวรรณ เมื่อปี 2526 มีลูกชายด้วยกัน 3 คน ในอดีตเคยดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย และยังเป็นอาจารย์พิเศษประจำวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต นอกจากนี้ ยังเคยดำรงตำแหน่งเลขาธิการอาเซียน ตั้งแต่ 1 มกราคม 2551-1 มกราคม 2556 นับเป็นคนไทยคนที่ 2 ที่ได้ดำรงตำแหน่งนี้


ประวัติการศึกษาจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จ.นครศรีธรรมราช สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จากมหาวิทยาลัยแคลร์มอนต์ สหรัฐอเมริกา หลังจากนั้นสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทสาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และปริญญาเอกด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกาเช่นกัน โดยได้ทุนจากร็อกกี้เฟลเลอร์

หลังจากนั้น ดร.สุรินทร์ ได้เริ่มทำงานในตำแหน่งอาจารย์ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก่อนผันตัวเองเข้าสู่แวดวงทางการเมืองสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ หลังจากนั้นได้เป็น ส.ส.นครศรีธรรมราช ติดต่อกัน 7 สมัย ตั้งแต่ปี  พ.ศ.2529, เคยดำรงตำแหน่งเลขานุการประธานสภาผู้แทนราษฎร, ผู้ช่วยเลขานุการ รมว.มหาดไทย, รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รวมถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กระทั่งในปี 2551 ดำรงตำแหน่งเลขาธิการอาเซียน เป็นระยะเวลา 5 ปี

ผลงานสำคัญในทางการเมืองรวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของนายสุรินทร์ พิศสุวรรณ ถือว่าโดดเด่นอย่างมาก โดยในปี 2540 เคยเจรจากับรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ ระงับความขัดแย้งกรณีช่วงชิงตำแหน่งผู้อำนวยการใหญ่องค์การการค้าโลก หรือ WTO ระหว่างศุภชัย พานิชภักดิ์ กับ ไมค์ มัวร์ อดีตนายกฯ นิวซีแลนด์ ที่มีสหรัฐหนุนหลัง กระทั่งนำไปสู่การผลัดกันดำรงตำแหน่งคนละ 3 ปี

นอกจากนี้ ยังเป็นคีย์แมนเจรจาของงบจากญี่ปุ่น เพื่อสนับสนุนการส่งกองกำลังรักษาสันติภาพไทย-ฟิลิปปินส์ ในติมอร์-เลสเต จำนวน 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และในปี 2551 นายสุรินทร์ มีส่วนสำคัญในการผลักดันในประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ ให้สัตยาบันต่อกฎบัตรอาเซียน และรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชน 10 ชาติ ตระหนักและรู้จักอาเซียน

และนี่คือข้อคิดสำคัญของนายสุรินทร์ ที่เคยแพร่เผยต่อสาธารณชน “ชีวิตผมไม่ใช่ข้อยกเว้น เพียงแต่เราต้องปรับโครงสร้างทางสังคมต่างๆ เพื่อเปิดทางให้คนส่วนใหญ่เข้าถึงโอกาสได้อย่างเท่าเทียม และที่สำคัญที่สุดคือ เราต้องให้โอกาสตัวเองได้หวัง ได้ฝัน และก้าวข้ามข้อจำกัดต่างๆ ไปได้ ด้วยความเชื่อมั่นในศักยภาพของตัวเอง” ธรรมศาสตราภิชาน “สุรินทร์ พิศสุวรรณ” .-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

คนขับแท็กซี่ตายคารถ กว่าจะรู้ผ่านไปหลายชม.

รถแท็กซี่จอดอยู่ป้ายรถเมล์ตั้งแต่เที่ยงจนถึงเย็น มีผู้โดยสารขึ้นรถ แล้วก็ลงมา แถมถูกบีบแตรไล่ จนพ่อค้าขายข้าวโพดต้มเข้าไปเรียกพบคนขับนอนคอพับเสียชีวิต

ถอนตัวWHO

“ทรัมป์” ลงนามในคำสั่งให้สหรัฐถอนตัวจากการเป็นสมาชิกอนามัยโลก

ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐกล่าววานนี้ว่า สหรัฐจะออกจากการเป็นสมาชิกองค์การอนามัยโลก โดยเขาระบุว่า องค์การอนามัยโลกดำเนินการผิดพลาดในการรับมือกับโรคโควิด-19

พิตบูลขย้ำหัวพระ

“อเมริกันบูลลี่” ขย้ำหัวพระ-กัดข้อมือหาย มรณภาพคากุฏิ

สลด! หลวงพี่ เลขาเจ้าอาวาสวัด เลี้ยงอเมริกันบูลลี่ไว้ตั้งแต่เป็นลูกสุนัข ผ่านไปปีกว่า ถูกขย้ำหัวมรณภาพคากุฏิ ข้อมือขาดหายไป ยังหาไม่พบ

ข่าวแนะนำ

หนุ่มอุดรฯ ดวงเฮง ถูกลอตเตอรี่เกาหลีใต้ 45 ล้านบาท

สุดเฮง! หนุ่มอุดรฯ ถูกลอตเตอรี่เกาหลีใต้ รับเงินรางวัล 45 ล้านบาท ลูกสาวเผยพ่อเป็นคนชอบทำบุญ ก่อนหน้านี้เพิ่งโทรมาบอกให้ใส่บาตร เชื่อผลบุญหนุนโชคลาภ

สามีภรรยาจากอยุธยารับ “เจ้าจอร์จ” ไปดูแล

สามีภรรยาใจบุญจาก จ.พระนครศรีอยุธยา ขอรับ “เจ้าจอร์จ” สุนัขพันธุ์อเมริกันบูลลี่ ไปอุปการะแล้ว หลังกัดแทะร่างพระเจ้าของที่มรณภาพในกุฏิด้วยโรคประจำตัว

ดีเอสไออนุมัติสืบสวนคดีแตงโม คาดตั้งชุดเริ่มสืบได้ 27 ม.ค.นี้

อธิบดีดีเอสไอ อนุมัติให้สืบสวนคดีแตงโม ว่ามีการบิดเบือนกระบวนการยุติธรรมทางอาญาหรือไม่ และมีบุคคลหรือเจ้าหน้าที่รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่ คาดเริ่มได้ 27 ม.ค.นี้