รฟม.-บีอีเอ็มชี้แจงถอดที่นั่งรถไฟฟ้าสีน้ำเงินพรุ่งนี้

กรุงเทพฯ  22 พ.ย. – รฟม.-บีอีเอ็มชี้แจงข้อมูลเพิ่มเกี่ยวกับมาตรการทดลองถอดที่นั่งบางส่วนในขบวนรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน 23 พ.ย.นี้ หลังมีทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย


จากกรณีที่บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีอีเอ็ม ผู้รับสัมปทานให้บริการเดินรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล หรือรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน ทดลองถอดที่นั่งผู้โดยสารแถวกลางในขบวนรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงินออก 1 ขบวน เพื่อเพิ่มพื้นที่ว่างในขบวนรถไฟฟ้าและทำให้ผู้โดยสารสามารถเดินทางมากขึ้น โดยเริ่มทดลองให้บริการเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายนที่ผ่านมาเป็นวันแรก ซึ่งต่อมาเกิดเป็นกระแสวิจารณ์และมีการแสดงความคิดเห็นในแง่มุมต่าง ๆ ทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยจากผู้ใช้บริการ ประชาชนทั่วไป และสื่อมวลชน นั้น

วันนี้ (22 พ.ย.) นายรณชิต แย้มสอาด ที่ปรึกษา รักษาการรองผู้ว่าการ (ปฏิบัติการ) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยหลังจากประชุมร่วมกับนายสมบัติ กิจจาลักษณ์ กรรมการผู้จัดการ BEM เกี่ยวกับมาตรการทดลองถอดที่นั่งบางส่วนในขบวนรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงินออก 1 ขบวน ว่า จากการที่จำนวนผู้โดยสารรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงินเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้น BEM ได้ดำเนินการจัดซื้อรถไฟฟ้าเพิ่ม  35 ขบวนแล้ว ปัจจุบันอยู่ระหว่างกระบวนการผลิต ซึ่ง รฟม.ได้เร่งรัดให้ BEM ดำเนินการส่งรถใหม่มาให้บริการเร็วที่สุด โดยรถไฟฟ้าขบวนใหม่จะส่งมาถึงปลายปี 2561 และจะเริ่มทยอยให้บริการประมาณต้นปี 2562 โดยระหว่างรอรถขบวนใหม่มาเพิ่มนั้น รฟม.ได้กำชับให้ BEM ดำเนินการหาแนวทางเพื่อบรรเทาปัญหาดังกล่าว ซึ่งที่ผ่านมา BEM ได้มีการดำเนินมาตรการต่าง ๆ เพื่อช่วยระบายผู้โดยสารในชั่วโมงเร่งด่วน เช่น การเพิ่มพนักงานให้บริการที่สถานีมากขึ้น การปรับรูปแบบการเดินรถให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงสุด การเพิ่มมาตรการและความถี่ด้านการบำรุงรักษา การให้ความรู้และรณรงค์การโดยสารรถไฟฟ้าที่ถูกต้องรวดเร็ว ปลอดภัย การจัดแคมเปญส่งเสริมสำหรับผู้โดยสารที่ปรับเวลามาใช้บริการเช้าขึ้นก่อนเวลา 07.00 น. รวมถึงการปรับปรุงห้องโดยสารในขบวนรถไฟฟ้าโดยถอดที่นั่งบางส่วน พร้อมทั้งเพิ่มราวจับ เป็นต้น


สำหรับการปรับปรุงห้องโดยสารในขบวนรถไฟฟ้าโดยถอดที่นั่งบางส่วนและเพิ่มราวจับนั้น เป็นการทดลองดำเนินการเช่นเดียวกับหลายประเทศที่ดำเนินการแล้ว เพื่อให้ผู้โดยสารที่รอคอยรถไฟฟ้าเป็นเวลานานในช่วงเวลาเร่งด่วนสามารถโดยสารรถไฟฟ้าได้เร็วขึ้น โดย BEM ทดลองถอดที่นั่งเพียงบางส่วนของจำนวนที่นั่งทั้งหมด และยังคงเหลือที่นั่งเพียงพอสำหรับผู้โดยสารที่มีความจำเป็น เช่น ผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ ภิกษุสงฆ์ เป็นต้น ซึ่งวิธีการดังกล่าวจะช่วยให้สามารถรองรับผู้โดยสารเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ทั้งนี้ ระหว่างการทดลองถอดที่นั่งกับรถไฟฟ้า 1 ขบวน BEM จะศึกษาวิเคราะห์ผลที่ได้รับจากการทดลองให้บริการจริง พร้อมทั้งรับฟังความเห็นโดยรวมของผู้ใช้บริการ และจะนำผลการทดลองให้บริการมาหารือร่วมกับ รฟม. อีกครั้ง เพื่อกำหนดมาตรการดำเนินการชั่วคราวที่จะเป็นประโยชน์สูงสุดแก่ผู้โดยสาร ทั้งนี้ หากผู้โดยสารและประชาชนมีข้อเสนอแนะสามารถส่งข้อเสนอแนะและความเห็นผ่านสื่อออนไลน์ของ BEM หรือศูนย์บริการข้อมูล โทร. 0 2624 5200 รวมทั้งสอบถามข้อมูลและติดตามข่าวสาร รฟม. เพิ่มได้ที่ www.mrta.co.th และเฟซบุ๊ค รฟม. หรือโทร 0 2716 4044

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเวลา 07.15 น. วันที่ 23 พฤศจิกายนนี้ รฟม.และบีอีเอ็มจะร่วมชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว ณ สถานีรถไฟฟ้าเตาปูน บริเวณทางออกที่ 1 ชั้นออกบัตรโดยสาร.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เครื่องบินภูเก็ตมุ่งหน้ามอสโก ขอลงจอดฉุกเฉินที่สุวรรณภูมิ

เที่ยวบิน 777-300ER สายการบิน Aeroflot ขึ้นจากภูเก็ตไปมอสโก เตรียมลงสุวรรณภูมิ หลังบินวนกลางทะเลอันดามันหลายชั่วโมง จากปัญหาระบบลงจอดขัดข้อง

ไข้หวัดใหญ่ระบาด

ไข้หวัดใหญ่ระบาดในสหรัฐ-เสียชีวิตแล้ว 13,000 ราย

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐ หรือซีดีซี รายงานว่า พบผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ในฤดูกาลนี้อย่างน้อย 24 ล้านคนแล้วทั่วสหรัฐ

ตัดไฟเมียนมา

มาตรการตัดไฟเมียนมาได้ผล กลุ่มเว็บพนันปลดพนักงานแล้วกว่าร้อยคน

มาตรการตัดไฟเมียนมาได้ผล กลุ่มเว็บพนันออนไลน์และกลุ่มสแกมเมอร์ที่จังหวัดท่าขี้เหล็ก ประเทศเมียนมา ปลดพนักงานแล้วกว่า 100 คน เนื่องจากขาดแคลนกระแสไฟฟ้า ทำให้พนักงานทยอยเดินทางออกจากท่าขี้เหล็ก กลับมาทางด่าน อ.แม่สาย จ.เชียงราย อย่างต่อเนื่อง

ข่าวแนะนำ

เข้มทางบก แก๊งลักลอบเข้าเมือง หนีไปทางน้ำ

หลังมาตรการ Seal Stop Safe ชายแดนของรัฐบาล ซึ่งเริ่มตั้งแต่ 30 มกราคม เพื่อเข้มงวด ตั้งจุดตรวจ จุดสกัดตามเส้นทางต่างๆ พบขบวนการลักลอบเข้าเมืองด้านชายแดนกาญจนบุรี ซึ่งฝั่งตรงข้ามคือ เมืองพญาตองซู ของเมียนมา เลี่ยงไปใช้เส้นทางน้ำแทน

ทองไทยใกล้เป้าหมายบาทละ 5 หมื่น

ทองไทยเข้าภาวะกระทิง เปลี่ยนแปลงคึกคักวันนี้ (11 ก.พ.) ปรับเปลี่ยน 27 รอบ เข้าใกล้ 48,000 บาทต่อบาททองคำ มองเป้าหมายถัดไปที่ 50,000 บาทต่อบาททองคำ ด้านสภาทองคำโลก ชี้การซื้อทองเป็นการลงทุนมากกว่าการใช้เป็นเครื่องประดับ ประเทศไทยก้าวขึ้นเป็นตลาดทองคำที่แข็งแกร่งในปี 67 สูงเป็นอันดับ 7 ของโลก