รพ.ตำรวจ 12 พ.ย. – แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ย้ำ ภาวะหัวใจขาดเลือดเกิดขึ้นได้กับทุกคน แนะรัฐควรถือโอกาสบทเรียนโจ บอยสเก๊าท์ บรรจุหลักสูตรการปฐมพยาบาลเบื้องต้นในโรงเรียน เพื่อเพิ่มโอกาสรอดชีวิต
นายแพทย์โสภณ กฤษณะรังสรรค์ ที่ปรึกษาคณะกรรมการมาตรการช่วยชีวิต สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ไม่ว่าจะป่วยเป็นโรคหัวใจ หรือคนปกติร่ายกายแข็งแรง แต่ส่วนมากร้อยละ 70-80 เกิดในผู้ป่วยโรคหัวใจ ส่วนร้อยละ 20 เกิดจากสาเหตุอื่นแม้จะไม่มีโรคประจำตัว เช่น ภาวะเหนื่อยจากการออกกำลังกาย หรือ ทำงานหนัก จนหัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ โดยทั่วไปหัวใจจะเต้นอยู่ที่ 60-100 ครั้งต่อนาที โดย หัวใจหากเต้นเร็วสูงสุดเกิน 200 ครั้งแต่นาที อาจทำให้เสี่ยงเกิดภาวะช็อค
หมดสติ หัวใจหยุดเต้น หรือหัวใจวายเฉียบพลันได้ ดังนั้นควรให้หมั่นสังเกตอาการ และ ตรวจร่างกายสม่ำเสมอ แต่ภาวะล้มหมดสติ คนไข้จะไม่ได้ทันตั้งตัว การปฐมพยาบาลเบื้องต้นหรือ การทำ CPR. หรือ ปั้มหัวใจ ตั้งแต่นาทีแรกสำคัญโอกาสรอดชีวิตสูง ควบคู่กับการแจ้งหน่วยแพทย์ ฉุกเฉิน 1669 เพื่อบอกสถานที่ให้จัดส่งรถพยาบาลฉุกเฉินมาช่วยชีวิตได้อย่างทันท่วงที เพราะการปฐมพยาบาลปั้มหัวใจ ภายใน 5 นาทีแรกมีโอกาสรอด 50:50
นายแพทย์โสภณ กล่าวว่า โดยการปั้มหัวใจที่ถูกต้อง ไม่ว่าจะต้องได้รับการฝึกมาหรือไม่ เพียงแต่ใช้มือประสานกัน ใช้สันมือกดกลางหน้าอก /ให้สันมืออยู่บริเวณ กลางหัวนมซ้ายขวา กดเต็มแรง 100 ครั้ง/นาที อย่างไรก็ตามถึงเวลาถึงแล้วที่สังคมไทย ควรถือโอกาสนี้เป็นบทเรียน มีการบรรจุหลักสูตรปฐมพยาบาลกู้ชีพในการเรียนการสอนพื้นฐานของนักเรียน เพื่อเพิ่มโอกาสรอดชีวิต ให้ทุกคนมีส่วนช่วยเหลือกัน แต่ที่สำคัญต้องไม่ตื่นตระหนก ตั้งสติเพื่อกับเหตุการณ์ เพิ่มโอกาสรอดชีวิตมากขึ้น.-สำนักข่าวไทย