“วิษณุ” ยันกระบวนการนำไปสู่การเลือกตั้งยังเป็นไปตามโรดแมป

ทำเนียบฯ 5 ต.ค.-“วิษณุ เครืองาม” คาดจะมีรัฐบาลใหม่ ปลายปี 2561 หรือต้นปี 2562 ยืนยันกระบวนการนำไปสู่การเลือกตั้งยังเป็นไปตามโรดแมป


นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงความชัดเจนการกำหนดวันเลือกตั้งที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ระบุว่าจะมีการเลือกตั้งในปลายปี 2561 และมีรัฐบาลใหม่ช่วงต้นปี 2562 ว่า กรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญต้องดำเนินการยกร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายใน 240 วัน คือในช่วงเดือนธันวาคม 2560 และส่งไปยังสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในเดือนมกราคม 2561 โดยมีเวลาในการพิจารณา 60 วัน แต่หากมีการแก้ไขอีก ก็ต้องเพิ่มเวลาออกไปอีก 30 วัน เมื่อแล้วเสร็จ ก็จะนำขึ้นทูลเกล้าฯ ต่อไป โดยมีระยะเวลา 90 วัน เมื่อประกาศใช้กฎหมายลูกที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง ก็จัดการเลือกตั้งภายใน 150 วัน คาดว่าจะได้รัฐบาลใหม่ในช่วงปลายปี 2561 หรือ ต้นปี 2562

“เพราะเมื่อจัดการเลือกตั้งเสร็จแล้วประกาศผลเลือกตั้งภายใน 60 วัน ก็ดูสิว่าประกาศได้หรือไม่ ถ้าอยู่บนสมมุติฐานว่าประกาศได้ก็ต้องประกาศ ถ้าประกาศไม่ได้ ใบแดงเยอะ เปิดสภาฯ ไม่ได้ ผมไม่รู้ เพราะอดีตเคยเกิดขึ้นมาแล้ว เปิดสภาฯ ไม่ได้ ก็ต้องยืดเวลาออกไป ถ้าเปิดสภาฯ เลือกนายกฯ ได้ สามวันจบ ม้วนเดียวเสร็จ มันก็เร็ว แต่ถ้าเลือกนายกฯ ยังไม่ได้ ต้องยืดยาว ก็ 20 วัน 30 วัน 40 วัน 50 วัน ผมก็ไม่รู้ว่าไงแล้ว เพราะสมุมติก็สมมุติเยอะแล้ว แต่เวลาพูดโรดแมป กรุณาพูดโรดแมปที่เป็นเหตุการณ์ว่าอะไรจะเกิด แต่ถ้าจะเอาวัน เดือน ปี เวลา วัน เวลา มันตอบไม่ได้ เพราะตัวแปรมันเยอะ” นายวิษณุ กล่าว


ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีหากมีการยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความกฎหมายลูก มีกรอบเวลากำหนดหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า การยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความเป็นตัวแปรที่ไม่ได้อยู่ในโรดแมป เพราะหากองค์กรที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น ๆ เห็นว่ากฎหมายลูกที่เกี่ยวข้องจะขัดกับรัฐธรรมนูญ ก็จะขอให้หยุดไว้ก่อนนำความกราบบังคมทูลฯ โดยยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ ก็จะไปช้าอยู่ในศาลรัฐธรรมนูญ

“เช่น กฎหมายกรรมการสิทธิมนุษยชน ที่ผ่านสภาฯ แล้ว ต้องการยื่นศาลรัฐธรรมนูญ แต่ยื่นไม่ได้ จึงส่งเรื่องมาให้นายกฯ เป็นผู้ยื่น ถ้านายกฯ ส่ง ก็ต้องเลี้ยวไปหาศาลรัฐธรรมนูญ นานเท่าไหร่ ผมไม่รู้ เพราะไม่มีกรอบเวลากำหนด แต่ถ้าไม่ส่งก็นำความกราบบังคมทูลฯ” นายวิษณุ กล่าว

ผู้สื่อข่าวถามว่า กรณีหากมีการตั้งกรรมาธิการร่วมพิจารณากฎหมายลูกระหว่างกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) กับสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จะทำให้โรดแมปต้องขยับออกไปด้วยหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า การจะตั้งกรรมาธิการร่วมหรือไม่นั้น ตนไม่ขอให้ความเห็น เพราะยังไม่เกิด


“ถ้าจะสมมุติอะไรขึ้นมา มันสมมุติได้หลายอย่าง ทั้งความเห็นต่างแล้วตีตก ก็ต้องดูว่าตีตกตรงไหน ก็ต้องหยิบตรงนั้นมาแก้ ถ้าตีตกหลายมาตรา ก็ต้องเสียเวลาร่างใหม่ แต่หวังว่ามันคงไม่เป็นถึงขนาดนั้น อย่าไปสมมุติ แต่ถ้ามีการตั้งกรรมาธิการร่วม ก็จะมีกรอบเวลา 1 เดือน” นายวิษณุ กล่าว.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

“เหนือ-อีสาน-กลาง” อากาศเย็น ภาคใต้ฝนตกหนัก

กรมอุตุฯ รายงานภาคเหนือ อีสาน และภาคกลาง อากาศเย็นในตอนเช้า มีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ส่วนภาคใต้ฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง