นครราชสีมา 21 ส.ค.- นายกรัฐมนตรีประชุมกรอ.ภูมิภาค เห็นชอบกับแผนพัฒนาแหล่งน้ำ-คมนาคมขนส่งหลายโครงการ
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานประชุมร่วมระหว่างผู้ว่าราชการจังหวัดและตัวแทนภาคเอกชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ( กรอ.ภูมิภาค) โดยมีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯ รมว.ด้านเศรฐกิจ ทั้งกระทรวงพาณิชย์ อุตสาหกรรม เพื่อหารือกับภาคเอกชนหวัง สร้างความเข้มแข็งของฐานเศรษฐกิจภายในควบคู่กับการแก้ไขปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การพัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่งที่เชื่อมโยง กทม. และพื้นที่ EEC เพื่อพัฒนาเมืองและพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ๆ ของภาค การพัฒนาความร่วมมือและใช้ประโยชน์จากข้อตกลงกับประเทศเพื่อนบ้านในการสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจตามแนวชายแดน (มุกดาหาร หนองคาย นครพนม) และแนวระเบียงเศรษฐกิจ EWEC (ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร) เหนือ-ใต้ (ระยอง นครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย) เพื่อสร้างเมืองโคราชให้เป็นมหานครแห่งภาคอีสาน
นายชัชวาล วงศ์จร ประธานกรรมการหอการค้าจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า ที่ประชุม กรอ.ภูมิภาค เห็นชอบในหลักการแผนผันน้ำจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์มายังเขื่อนลำตะคลอง เนื่องจากช่วงฤดูน้ำหลากหน้าฝน ปริมาณน้ำจำวนมากท้ายเขื่อนป่าสักจะถูกทะบายทิ้งลงทะเล ขณะที่เขื่อนลำตะคลองรองรับปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยน้อยมาก แต่รองรับการบริโภคในจังหวัดนครราชสีมาหลายอำเภอรวมทั้งเมืองโคราช จึงเห็นชอบให้ศึกษาผลกระทบต่อส่ิงแวดล้อม (EIA) วงเงิน 30 ล้านบาท เพื่อยกระดับการสูบน้ำขึ้นสิ่งก่อสร้างความสูงเกือบร้อยเมตร และปล่อยระบบน้ำไหลตามแนวระบบส่งน้ำ มายังเขื่อนลำตะคลอง เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำนับล้านลูกบาศก์เมตร ด้วยวงเงินลงทุน 4,400 ล้านบาท ที่ประชุมยังสั่งการให้
ศึกษาแหล่งน้ำแก้มลิงกักเก็บในภาคอีสานหลายแห่ง ป้องกันปัญหาน้ำหลากไหลทิ้งเมื่อปริมาณน้ำจำวนมาก แต่เมื่อเกิดปัญหาภัยแล้ง ปริมาณฝนน้อยต้องการน้ำจำวนมากกลับไม่น้ำสำรองใช้ทั้งภาคเกษตรและบริโภค
และเห็นชอบการแผนก่อสร้างวงแหวนรอบนอกเมืองโคราช ระยะทาง 110 กิโลเมตร หลังจากได้ก่อสร้างตอนที่ 1 ไปแล้ว จึงมอบหมายให้เร่งรัดโครงการตอนที่ 2,3 ซึ่งเดิมกำหนดศึกษาผลกระทบ EIA ในปี 63 และ 64 ให้นำทั้งสองโครงการมารวมศึกษาให้แล้วเสร็จในปี 60 เพื่อก่อสร้างให้แล้วเสร็จในปี 63 จะทำให้วงแหวนรอบนอกครบรอบทั้งหมด เพื่ออำนวยความสะดวกการเดินทางของชาวโคราชและจังหวัดใกล้เคียง กระทรวงคมนาคมจึงนำไปพิจารณาแผนก่อสร้าง นอกจากนี้ยังเห็นชอบแผนยกระดับรถไฟทางคู่ โครงการรถไฟทางคู่ชุมทางจิระ- ขอนแก่นชุมทางจิระอุบลราชธานีและชุมทางมาบกะเบา-จิระ ซึ่งวิ่งผ่านตัวเมืองโคราช จากแผนเดิมสร้างบนพื้นที่ผ่านตัวเมือง แต่กลุ่มชาวบ้านคัดค้าน เนื่องจากการสร้างแนวรั้วตลอดเส้นทาง จึงกระทบต่อการเดินทางของชาวบ้านในเขตเมืองโคราช ทำให้ถูกแบ่งแยกเมืองออกเป็นสองฝั่ง ที่ประชุม กรอ.ภูมิภาค จึงให้เห็นชอบให้ยกระดับรถไฟทางคู่วิ่งผ่านเมืองโคราช แม้ต้นทุนก่อสร้างเพิ่มขึ้นกว่า 2,000 ล้านบาท
นายวิเชียร จันทรโนทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวชี้แจงที่ประชุมว่า ที่ผ่านมารัฐบาลได้จัดสรรงบกลุ่มจังหวัดเพิ่มเติมปีงบประมาณ 60 รวมเป็นเงิน 1,862 ล้านบาทและมีโครงการเพิ่มเติมได้แก่โครงการตามมาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับตำบลหรือตำบลละ 5 ล้านบาทจำนวน 4,480 โครงการงบประมาณ 1,317 ล้านบาทโครงการยกระดับศักยภาพหมู่บ้านเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐหรือหมู่บ้านละ 200000 บาทจำนวน 4,196 โครงการงบประมาณรวม 745 ล้านบาทโครงการหมู่บ้านละ 250,000 บาท จำนวน 4,026 โครงการงบประมาณ 934 ล้านบาทโครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อภายใต้ร่มพระบารมีเพื่อการพัฒนาเกษตรอย่างยั่งยืนในพื้นที่ 361 ชุมชน จำนวน 1,070 โครงการงบประมาณ 832 ล้านบาทโครงการลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อยเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐการเพิ่มรายได้ด้วยอาชีพที่มีมูลค่าเหมาะสมกับพื้นที่โครงการอินเตอร์เน็ตประชารัฐ
สำหรับโครงสร้างพื้นฐานเพื่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจในอนาคต ได้มีโครงการในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาวงเงินประมาณ 5 แสนล้านบาท ได้แก่โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษหมายเลข 6 (มอเตอร์เวย์สายบางปะอิน- นครราชสีมา) โครงการรถไฟทางคู่ชุมทางจิระ- ขอนแก่นชุมทางจิระอุบลราชธานีและชุมทางมาบกะเบา-จิระ โครงการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพฯ-หนองคายระยะที่ 1 เริ่มช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมาระยะทาง 253 กิโลเมตร เพื่อใช้เดินทางจากกรุงเทพมาถึงนครราชสีมาจาก 4 ถึง 6 ชั่วโมงเหลือ 1.30 ชั่วโมง
นอกจากนี้ยังมี ยังมีโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ผ่านโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตรวบรวมและแปรรูปข้าวหอมมะลิทุ่งสัมฤทธิ์ของสหกรณ์การเกษตรพิมายโครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งสัมฤทธิ์ในเขตพื้นที่นำร่องระยะสั้น การลดพื้นที่ปลูกข้าวในทะเลไม่เหมาะสมเพื่อเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นที่มีศักยภาพทดแทน โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลัง โครงการเพิ่มประสิทธิภาพพัฒนาการผลิตอ้อยตลอดจนโครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพโอทอป โครงการปรับปรุง emergency find way เขื่อนลำพระเพลิงสามารถเพิ่มความจุกักเก็บน้ำเขื่อนลำพระเพลิงได้อีก 50 ล้านลบ.ม. เพิ่มขึ้นเพิ่มพื้นที่ชลประทาน 18,000 ไร่อีกทั้งยังช่วยป้องกันน้ำท่วมในเขตอำเภอปักธงชัยอำเภอโชคชัยและเขตเศรษฐกิจเมืองนครราชสีมารวมถึงเป็นแหล่งน้ำไผ่ประปาให้อำเภอปักธงชัยอำเภอโชคชัยและอำเภอเมืองนครราชสีมาในอนาคต
นับได้ว่าในช่วง 3 ปี รัฐบาล เน้นการสร้างพื้นฐานความแข็งแกร่งของประเทศเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน จังหวัดนครราชสีมามีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นจากปี 2557 ผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัด 253,974 ล้านบาท จากนั้นในปี 2558 จีดีพีเพิ่มขึ้นมาเป็น 264,964 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละจากปีก่อน 4.3 ต์รายได้ผลิตภัณฑ์จังหวัดต่อหัวอยู่ที่ 1,600 บาท หรือเพิ่มขึ้น 4551 บาทเติบโตจากปีก่อนหน้า 4.5 เปอร์เซ็นต์และมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องในปี 2559 ถึง 2556 ก่อให้เกิดการสร้างงานสร้างอาชีพสร้างรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่และเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น.-สำนักข่าวไทย