กรุงเทพฯ 4 ส.ค.-รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อติดตามสถานการณ์น้ำและกำหนดมาตรการรับมือฝนระลอกใหม่
ส่วนภาพรวมน้ำท่วมยังมีพื้นที่ประสบภัยรวม 15 จังหวัด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้(4 ส.ค.) พล.อ.ฉัตรชัย
สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯเรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อติดตามสถานการณ์น้ำ
และมาตรการรับมือฝนระลอกใหม่ ที่ศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ กรมชลประทาน ซึ่งปัจจุบันมีจังหวัดที่ยังคงประสบอุทกภัยทั้งหมด
15 จังหวัด คือ พะเยา สกลนคร อุดรธานี ชัยภูมิ กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ขอนแก่น
มหาสารคาม อุบลราชธานี ยโสธร มุกดาหาร อำนาจเจริญ นครพนม นครราชสีมา หนองคาย
และพระนครศรีอยุธยาโดยเฉพาะจังหวัดสกลนคร พื้นที่น้ำท่วมลุ่มต่ำการเกษตร
รวมประมาณ 86,330 ไร่ ระดับน้ำท่วมสูง
0.50 – 1.50 เมตร จังหวัดอุดรธานี พื้นที่น้ำท่วมลุ่มต่ำการเกษตร รวมประมาณ 56,145 ไร่ จังหวัดชัยภูมิ
พื้นที่น้ำท่วมลุ่มต่ำทางการเกษตร ประมาณ 11,000 ไร่ จังหวัดกาฬสินธุ์
พื้นที่น้ำท่วมลุ่มต่ำทางการเกษตร ประมาณ 11,920 ไร่ น้ำท่วมนอกเขตชลประทานประมาณ
14,752 ไร่ นครราชสีมา น้ำท่วมพื้นที่การเกษตรประมาณ 168,800 ไร่
ส่วนสภาพน้ำใน 4 เขื่อนหลักในลุ่มน้ำเจ้าพระยาสรุป สภาพน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง
เมื่อเวลา 06.00 น.
มีปริมาณน้ำไหลผ่านสถานีวัดน้ำ อ.เมือง จ.นครสวรรค์ (C.2) อัตรา 1,691 ลูกบาศก์เมตร/วินาที
ต่ำกว่าตลิ่ง 3.65 เมตร
มีแนวโน้มลดลง และไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา ในอัตรา 1,264 ลูกบาศก์เมตร/วินาที
ระดับน้ำหน้าเขื่อนเจ้าพระยา +15.50 เมตรที่ระดับน้ำทะเลปานกลาง
รับน้ำเข้าฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออกในปริมาณ 337 ลูกบาศก์เมตร/วินาที
กรมชลประทานจะควบคุมการระบายน้ำไม่ให้เกิน 1,500 ลูกบาศก์เมตร/วินาที
จะบริหารน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยาเข้าคลองชลประทานให้มากที่สุดตามศักยภาพของพื้นที่
และระบายน้ำท้ายเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ 559 ลูกบาศก์เมตร/วินาที
ทั้งนี้จะบริหารจัดการน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ให้อยู่ในเกณฑ์ควบคุม มาผ่านเขื่อนพระรามหก
450 ลูกบาศก์เมตร/วินาที
ไหลลงแม่น้ำเจ้าพระยา และใช้ประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์ จ.สมุทรปราการ
ช่วยระบายน้ำออกสู่ทะเลให้เร็วยิ่งขึ้น
ปัจจุบันสามารถระบายช่วงน้ำทะเลลงได้ประมาณวันละ 30 ล้านลูกบาศก์เมตร
ขณะที่การบริหารอ่างเก็บน้ำ ปัจจุบันมีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีระดับน้ำสูงกว่าเกณฑ์ควบคุมน้ำสูงสุด
12 แห่ง คือ อ่างเก็บน้ำกิ่วคอหมา, แควน้อยบำรุงแดน, น้ำอูน, ห้วยหลวง, น้ำอูน, น้ำพุง, จุฬาภรณ์, อุบลรัตน์, ลำปาว, สิรินธร, ป่าสักชลสิทธิ์
, ทับเสลา
โดยอ่างเก็บน้ำขนาดกลางที่มีปริมาณน้ำเก็บกักอยู่ระหว่างร้อยละ 80 – 100 จำนวน 123 แห่ง
และอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้ำเก็บกักมากกว่า 100% จำนวน 139 แห่ง-สำนักข่าวไทย