“ลำไย” “ตะมุตะมิ”ติดโผศัพท์ฮิตวัยรุ่นยุคใหม่

สำนักข่าวไทย 26 ก.ค.-วธ.เผยโพล ประชาชนร้อยละ 65 ทราบว่า 29 ก.ค.เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ  “ลำไย-ตะมุตะมิ-นก-โดนเท-จุงเบย-สายเปย์” ติดโผคำศัพท์ฮิตวัยรุ่นยุคใหม่


นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม  เปิดเผยว่า กระทรวงวัฒนธรรมร่วมกับสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็น เยาวชนและประชาชน ในหัวข้อ  “วันภาษาไทยแห่งชาติ” จากกลุ่มตัวอย่าง 3,306 คน ทั่วประเทศ โดยผลสำรวจพบว่า เด็ก เยาวชน และประชาชน ร้อยละ 65.43 ทราบว่าวันภาษาไทยแห่งชาติตรงกับวันที่ 29 กรกฎาคมของทุกปี  ร้อยละ 57.34 ทราบวัตถุประสงค์การ จัดงาน  “วันภาษาไทยแห่งชาติ” เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช  ซึ่งพระองค์ทรงร่วมอภิปรายปัญหาการใช้ภาษาไทยในการประชุมวิชาการของการชุมนุมภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2505

นอกจากนี้ยังสอบถามกลุ่มตัวอย่างว่า ผู้ที่มีผลงานโดดเด่นด้านภาษาไทยที่นึกถึงมากที่สุด ร้อยละ 83.45 ตอบว่า สุนทรภู่  ร้อยละ 41.16 พระบาท สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  ร้อยละ 39.38 ครูลิลลี่ (นายกิจมาโนชญ์ โรจนทรัพย์) ร้อยละ 38.43 เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ และร้อยละ 37.60 ครูทอม คำไทย “สุดยอดแฟนพันธุ์แท้สุนทรภู่” 


จากการสำรวจความคิดเห็นครั้งนี้ได้สอบถาม เด็ก เยาวชน และประชาชนเกี่ยวกับคำศัพท์ที่วัยรุ่นกำลังนิยมใช้ในปัจจุบัน พบว่า ร้อยละ 39.44 ตอบว่า “ลำไย” หมายถึง รำคาญ รองลงมา ร้อยละ 36.86 “ตะมุตะมิ” น่ารักน่าเอ็นดู ร้อยละ 36.23 ระบุว่า “นก” หมายถึง อ่อยเขาแต่เขาไม่เอา ร้อยละ 34.67 คำว่า “จุงเบย” น่ารักแสดงความแอ๊บแบ๊ว  ร้อยละ 34 บอกว่า “เท/โดนเท” หมายถึง โดนทิ้ง ร้อยละ 33.61 “อิอิ” คือ เสียงหัวเราะ ร้อยละ 30.12 “เปย์/ สายเปย์” หมายถึง ชอบจ่ายให้ ร้อยละ 27.28 “เตง/ตะเอง /ตัลเอง” คือ ตัวเอง และร้อยละ 26.06 บอกว่า “มุ้งมิ้ง” น่ารัก 

อย่างไรก็ตาม ได้สอบถามเกี่ยวกับแนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ในแผนแม่บทส่งเสริมวัฒนธรรมการอ่านฯ พบว่า ร้อยละ 55.16 เชื่อว่าเป้าหมายของแผนแม่บทส่งเสริมวัฒนธรรมการอ่านสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ของไทยจะช่วยทำให้คนไทยใช้เวลาในการอ่านเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 90 นาที ต่อวัน เป็นจริงได้ เนื่องจากเป็นการกระตุ้น รณรงค์ส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของการอ่านมากขึ้น  

ทั้งนี้ ได้สำรวจความคิดเห็นของเด็ก เยาวชนและ ประชาชนเรื่องเวลาในการอ่านหนังสือผ่านสื่อต่างๆในแต่ละวัน พบว่า ร้อยละ 56.59 สื่อออนไลน์ โดยใช้เวลาเฉลี่ยประมาณ 3 ชั่วโมงต่อวัน รองลงมา ร้อยละ 37.42 หนังสือ/เอกสาร ใช้เวลาเฉลี่ยประมาณ 1.30 ชั่วโมงต่อวัน ร้อยละ 36.90 อ่านหนังสือพิมพ์ ใช้เวลาเฉลี่ยวันละ 1 ชั่วโมงต่อวัน ร้อยละ 20.47 วีดีโอ/ซีดี/ดีวีดี ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมงต่อวัน และร้อยละ 18.63 อ่านวารสารทั่วไปใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงต่อวัน


จากผลสำรวจนี้ กระทรวงวัฒนธรรมจะนำมาใช้ประกอบการทำงาน และร่วมมือกับทุกหน่วยงานในการส่งเสริมให้คนไทยอ่านหนังสือ ร่วมกับทุกกระทรวงและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อขับ เคลื่อนยุทธศาสตร์ส่งเสริมวัฒนธรรมการอ่านให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ระเบิดรถครู ตชด.

ทราบกลุ่มคนร้ายก่อเหตุระเบิดรถครู ตชด.สองพ่อลูก

ทราบคนร้ายก่อเหตุระเบิดรถครู ตชด.สองพ่อลูก จ.นราธิวาส แล้ว วันก่อเหตุมีแนวร่วมปฏิบัติการประมาณ 6 คน กลุ่มเป้าหมายคือเจ้าหน้าที่รัฐ

หมายจับผู้มีพระคุณ

ออกหมายจับผู้มีพระคุณจ้าง “เอ็ม กองเรือ” สังหารอดีต สส.กัมพูชา

ตำรวจเร่งล่า “สมหวัง” ผู้มีพระคุณของ “เอ็ม กองเรือ” หลังศาลออกหมายจับใช้จ้างวานสังหาร “ลิม กิมยา” อดีต สส.ฝ่ายค้านกัมพูชา

เศร้า ฝังศพ “พ่อ-ลูก” ครู ตชด. เหยื่อวางระเบิด

ประชาชน-ตำรวจตระเวนชายแดน นับพันคน ร่วมพิธีฝังศพ 2 พ่อลูก ครู ตชด. เหยื่อผู้ก่อความไม่สงบลอบวางระเบิดในพื้นที่ จ.นราธิวาส

ข่าวแนะนำ

เหงาและเศร้า ขาดครูใหญ่สุวิทย์ และครูโดม

บรรยากาศโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านตืองอ จ.นราธิวาส วันที่ไม่มีครูใหญ่สุวิทย์ และครูโดม ดูเงียบเหงา เต็มไปด้วยความโศกเศร้า

นายกฯ ลงพื้นที่ยะลา พบนักเรียน-ผู้นำศาสนา ปลื้มต้อนรับอบอุ่น

นายกฯ ขึ้น ฮ. ลงยะลา ทักทายเป็นภาษามลายู พบนักเรียน-ผู้นำศาสนา ท่ามกลางฝนตกโปรยปราย ปลื้มต้อนรับอบอุ่น บอกมีตรงไหนเดือดร้อน รัฐบาลพร้อมสนับสนุน ลั่นอยู่ศาสนาใด-เชื้อชาติใด คนไทยด้วยกัน ขอรักสามัคคีกัน

“ปอ ตนุภัทร” บอกอยากให้ทำเหมือนเหตุการณ์จริง “แตงโม” ตกเรือ

“ปอ ตนุภัทร” ขอบคุณจำลองเหตุการณ์ “แตงโม” ตกเรือ แต่ทำทั้งทีอยากให้ทำเหมือนเหตุการณ์จริง ด้าน “แซน” เชื่อมีเจตนาดิสเครดิตตน ซัดไม่ได้จบทนาย อาจไม่รู้ข้อกฎหมาย แนะให้เรียนเนติก่อน

นายกฯไปนราธิวาส

นายกฯ นำคณะถึงนราธิวาส สวมเสื้อสูท “ลายนรารวมใจ”

“นายกฯ อิ๊งค์” ถึงนราธิวาสสวมเสื้อสูท “ลายนรารวมใจ” สีชมพูบานเย็น หวานฉ่ำ ถ่ายทอดความเป็นหนึ่งเดียวของผู้คนชาวนราธิวาส ที่มีความรัก สามัคคี ประสานความสัมพันธ์บนวิถีชีวิต และวัฒนธรรมอันงดงามของจังหวัดนราธิวาส