โดรนติดกล้อง : การควบคุมและความเสี่ยง

กรุงเทพฯ 12 ก.ค.-มีการออกกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมอากาศยานไร้คนขับ หรือโดรน มาตั้งแต่ ปี 58 พบข้อมูลการแจ้งขึ้นทะเบียนกว่า 300 ลำทั่วประเทศ และเร็วๆ นี้ มีโดรนเข้าไปในเขตห้ามบิน และโพสต์คลิปแชร์ในโลกออนไลน์ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญระบุว่า ปัจจุบันโดรนเป็นอุปกรณ์ที่หาซื้อได้ง่าย ราคาถูก บางแห่งประกอบโดรนขึ้นเองโดยไม่มีระบบควบคุมความปลอดภัย


คลิปวิดีโอที่บันทึกจากกล้องติดอากาศยานไร้คนขับ หรือโดรน บินเหนือพื้นที่สนามบินดอนเมือง กรุงเทพฯ ถูกแชร์บนโลกออนไลน์ และถูกตั้งคำถามถึงการนำโดรนบินเข้าพื้นที่โดยไม่ได้รับอนุญาต หลังจากนั้นไม่นาน มีภาพเครื่องบิน สายการบินแห่งหนึ่งวิ่งขึ้นจากรันเวย์ในทิศทางใกล้เคียงกับจุดที่โดรนกำลังบันทึกภาพ ซึ่งอาจเกิดอันตราย หากเกิดอุบัติเหตุมีชิ้นส่วนของโดรนหลุดเข้าไปในเครื่องยนต์หรือกระแทกกับตัวเครื่องบิน


ผู้เชี่ยวด้านการบินโดรนบอกว่า ปัจจุบันโดรนมีราคาถูกลง หาซื้อได้ง่ายตั้งแต่ราคาหลักพันบาทถึงหลักแสนบาท มีหลายขนาด ในกลุ่มผู้ใช้งานมืออาชีพ เช่น ช่างภาพ หรือหน่วยงานทางทหาร จะปฏิบัติตามกฎระเบียบ ข้อบังคับ และมีการขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้อง ส่วนกลุ่มคนทั่วไปที่มีกำลังซื้อ มักละเลยข้อบังคับ และบินโดยไม่คำนึงถึงกฎระเบียบ แต่ที่น่ากังวล คือ คนบางกลุ่มประกอบโดรนขึ้นเอง โดยใช้แผงวงจรอย่างง่าย คู่กับรีโมทสัญญาณวิทยุ ซึ่งต่างจากโดรนที่มีระบบทันสมัย ระบุพิกัดด้วยดาวเทียม หากเข้าใกล้เขตห้ามบิน เช่น สนามบิน หรือพื้นที่ทางทหาร จะไม่สามารถบังคับโดรนให้บินผ่านเข้าไปได้


ประกาศกระทรวงคมนาคม พ.ศ.2558 ออกตามความใน พ.ร.บ.การเดินอากาศ กำหนดให้อากาศยานที่ควบคุมจากภายนอก ต้องขอขึ้นทะเบียน แบ่งเป็น 2 ประเภท เช่น ใช้ในการเล่นเป็นงานอดิเรก และใช้ในวัตถุประสงค์อื่น เช่น การรายงานเหตุการณ์ การจราจร หรือเพื่อการวิจัย  มีการกำหนดเขตห้ามบิน 9 กิโลเมตร จากสนามบิน ห้ามบินในเขตอันตราย สถานที่ราชการ ห้ามบังคับโดรนเข้าใกล้อากาศยานที่มีคนขับ หรือห้ามบินสูงเกิน 90 เมตร

โฆษกกองทัพอากาศระบุว่า การนำอากาศยานไร้คนขับ หรือโดรน บินในเขตห้ามบิน กระทบต่อความปลอดภัยของคนส่วนรวม โดยเฉพาะพื้นที่ทหารหรือเขตสนามบิน อาจมีความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองความลับในราชการ เพราะเป็นพื้นที่ด้านความมั่นคง เช่น จุดจอดอากาศยาน ที่ตั้งหน่วยงานสำคัญ

ข้อมูลจากสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยพบว่า ตั้งแต่ปี 58 มีผู้ขอขึ้นทะเบียนประเภทอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอกทั่วประเทศประมาณ 300-350 ลำ ส่วนใหญ่มีผู้ควบคุมการบังคับมากกว่า 1 คน  แต่การใช้โดรนในปัจจุบันมีความเสี่ยงหลายเรื่อง เช่น การที่โดรนมีกล้องบันทึกภาพ อาจละเมิดความเป็นส่วนตัว ขณะที่ใบพัดและตัวเครื่องมีแรงหวี่ยง อาจสร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินและเป็นอันตรายต่อบุคคล.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สุดยื้อ! ด.ช.5 ขวบ น้ำหนัก 50 กก. อาหารติดคอดับ

เจ้าหน้าที่กู้ภัยพยายามปั๊มหัวใจเด็กชายวัย 5 ขวบ น้ำหนัก 50 กิโลกรัม อาหารติดคอ แต่สุดยื้อ เสียชีวิต ท่ามกลางความโศกเศร้าของครอบครัว

เจอร่างใต้ตึกถล่ม

เจออีก 4 ร่างใต้ซากตึกถล่มโซน C จ่อนำเครนยักษ์เปิดพื้นที่

กู้ภัยเจอ 4 ร่างผู้สูญหายตึกถล่ม โซน C รอส่งนิติเวชโรงพยาบาลตำรวจ เตรียมนำเครนเข้ายกแผ่นปูนขนาดใหญ่ เปิดพื้นที่มากขึ้น

“ไฮโซกำมะลอ” กระโดดชั้น 3 สน.โคกคราม

“ไฮโซเก๊” โลก 2 ใบ เครียดปีนตึก หลังถูก “คะน้า” ดาราสาว ออกมาแฉกลางรายการดัง จนตำรวจต้องเข้าเกลี้ยกล่อมพาไปโรงพัก แต่ยังวิ่งหนีการควบคุม กระโดดลงมาจากชั้น 3 สน.โครกคราม บาดเจ็บ

ปิดฉาก “มอเตอร์โชว์” ครั้งที่ 46 ยอดจองพุ่ง 7.9 หมื่นคัน โต 44.8%

ยอดจองรถยนต์ในงาน “บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 46” รวมทุกเซกเมนต์โตพุ่ง 44.8% หรือคิดเป็น 79,941 คัน โดยเป็น EV 65% ส่งผลให้ภาพรวมอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยในปีนี้ยังคงอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ยอดผู้เข้าชมงานทั้งสิ้น 1.6 ล้านคน

ข่าวแนะนำ

จากสถานีโทรทัศน์แห่งแรกของไทยสู่ 73 ปี อสมท

จากปี 2495 ของช่อง 4 บางขุนพรหม จุดเริ่มต้นสถานีโทรทัศน์แห่งแรกของไทยสู่ 73 ปี อสมท ในปี 2568 มีการเปลี่ยนผ่านพัฒนาการในแวดวงสื่อสารมวลชนหลายยุคหลายสมัยมาอย่างไรบ้าง ติดตามจากรายงาน

จับแล้วโจรบุกเดี่ยวชิงทองกลางเมืองหาดใหญ่

จับแล้วโจรมาเลย์บุกเดี่ยวชิงทองกลางเมืองหาดใหญ่ จนมุมสถานีขนส่งสายใต้ใหม่ เผยมาหาลูกชายที่ จ.นนทบุรี แต่ลูกไม่ให้เข้าบ้าน

ศาล รธน.ไม่รับคำร้อง “ณฐพร” ขอสั่งฟัน กกต.ปล่อยฮั้วเลือก สว.

ศาลรัฐธรรมนูญเอกฉันท์ ไม่รับคำร้อง “ณฐพร” ขอสั่งฟัน กกต. ปล่อยฮั้วเลือก สว. เหตุไม่ใช่ผู้ถูกละเมิดสิทธิเสรีภาพ กกต.ทำตามกฎหมาย หากเสียหายใช้สิทธิทางศาลอื่นได้