บาทมีโอกาสแข็งค่าต่อหลังแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบ 23 เดือนมาแล้ว
กรุงเทพฯ 17 มิ.ย. –บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมิน
ค่าเงินบาทสัปดาห์หน้า อาจแข็งค่าต่อหลัสัปดห์ที่ผ่านมา แตะ33.82 บาทต่อดอลลาร์ฯ
ซึ่งเป็นระดับแข็งค่าสุดในรอบ 23
เดือน
บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด รายงานว่า เงินบาท
สัปดาห์ที่ผ่านมา ( 12-16 มิ.ย.)
เงินบาททำสถิติแข็งค่าสุดในรอบ 23 เดือน ก่อนลดช่วงบวกลงบางส่วนในช่วงปลายสัปดาห์ โดยแข็งค่าทะลุแนว 34.00 ไปที่ 33.82 บาทต่อดอลลาร์ฯ
ซึ่งเป็นระดับแข็งค่าสุดในรอบ 23
เดือนครั้งใหม่ ท่ามกลาง ทิศทางที่อ่อนแอของเงินดอลลาร์ฯ
ในช่วงก่อนการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด)
และความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองภายในของสหรัฐฯ
นอกจากนี้
เงินหยวนที่ขยับแข็งค่าก็เป็นปัจจัยบวกต่อสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค
รวมถึงเงินบาทด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ดี เงินบาทต้องลดช่วงบวกลง
และกลับมาทยอยอ่อนค่าในช่วงปลายสัปดาห์ สอดคล้องกับเงินดอลลาร์ฯ
ที่ฟื้นตัวกลับมาได้บางส่วน หลังตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ
ตอกย้ำโอกาสการขึ้นดอกเบี้ยในครึ่งหลังของปี สำหรับในวันศุกร์ (16 มิ.ย.)
เงินบาทอยู่ที่ 33.95 บาทต่อดอลลาร์ฯ
เทียบกับ 34.07 บาทต่อดอลลาร์ฯ
ในวันศุกร์ก่อนหน้า (9 มิ.ย.)
ด้าน ดัชนีหุ้นไทยสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับเพิ่มขึ้น
ตามแรงซื้อของกลุ่มสถาบัน โดยดัชนี SET ปิดที่ระดับ 1,576.58
เพิ่มขึ้น 0.63%
จากสัปดาห์ก่อน มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันลดลง 10.39% จากสัปดาห์ก่อน
มาที่ 38,840.94 ล้านบาท
ส่วนตลาดหลักทรัพย์ mai ปิดที่ 570.31 จุด เพิ่มขึ้น
1.07% จากสัปดาห์ก่อน
ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับเพิ่มขึ้นตลอดสัปดาห์
โดยได้รับแรงหนุนในช่วงแรกจากการคาดการณ์ว่า
เฟดน่าจะส่งสัญญาณไม่เร่งปรับขึ้นดอกเบี้ยหลังอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ
ออกมาต่ำกว่าที่คาด นอกจากนี้ SET
Index ยังมีปัจจัยหนุนเพิ่มเติมจากหุ้นบางกลุ่มที่ได้รับอานิสงส์จากมาตรการการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับธุรกิจพลังงาน
และความชัดเจนในการลงทุนของโครงการภาครัฐ อย่างไรก็ดี
ความกังวลเกี่ยวกับการผิดนัดชำระหนี้ B/E กดดันหุ้นบางกลุ่ม และจำกัดการปรับตัวขึ้นของตลาดในภาพรวมในระหว่างสัปดาห์
สำหรับถัดไป (19-23
มิ.ย.) ธนาคารกสิกรไทยประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทที่ 33.85-34.10 บาทต่อดอลลาร์ฯ
บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด มองว่า ดัชนีหุ้นไทยมีแนวรับที่ 1,565 และ 1,555 จุด ขณะที่
แนวต้านอยู่ที่ 1,590 และ 1,600 จุด ตามลำดับ
โดยปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม คงได้แก่ ทิศทางเงินทุนเคลื่อนย้ายในตลาดเกิดใหม่
และสำหรับข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ สำคัญ ได้แก่ ยอดขายบ้านมือสองและยอดขายบ้านใหม่
และข้อมูลสต็อกน้ำมันคงคลังของสหรัฐฯ ขณะที่ ข้อมูลเศรษฐกิจต่างประเทศที่สำคัญ
อาทิ รายงานการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น และดัชนี PMI (เบื้องต้น) เดือนมิ.ย. ของหลายๆ ประเทศ -สำนักข่าวไทย