กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา 12 มิ.ย.- 5 เดือนแรกของปี อุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย สร้างรายได้แล้วกว่า 1 ล้านล้านบาท ตลาดนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติขยายตัวต่อเนื่อง ห่วงค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นในหลายสกุลเงิน อาจกระทบท่องเที่ยวระยะต่อไป
นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา แถลงถึงสถาณการณ์ท่องเที่ยวเดือนพฤษภาคม 2560 ว่า มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 2,590,533 คน ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.60 ของช่วงเวลาเดียว กันกับปีที่ผ่านมา เป็นนักท่องเที่ยวจากภูมิภาคเอเซียตะวันออกมากที่สุด 1,889,287คน รองลงมาเป็นนักท่องเที่ยวภูมิภาคยุโรป เอเชียใต้ อเมริกา โอเซียเนียใต้ ตะวันออกกลาง และแอฟฟริกาตามลำดับ โดยเป็นนักท่อง เที่ยวจากจีนมากที่สุด ขณะที่ค่าใช้ของนักท่องเที่ยวที่ก่อให้เกิดรายได้รวม125,425,390 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.91 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
ส่วนสถานการณ์นักท่องเที่ยวต่างชาติ ตั้งแต่เดือนมกราคม-พฤษภาคม มีจำนวนทั้งสิ้น 14,612,150คน ขยายตัวร้อยละ3.20 เป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 นับจากเดือนมีนาคม และก่อให้เกิดรายได้รวม 747,071.65 ล้านบาท ชยายตัวร้อยละ 5.07 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ส่วนนักท่องเที่ยวชาวไทย ก็ขยายตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน นับจากเดือนมกราคม-เมษายน มีชาวไทยเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศรวม 45.14ล้านครั้ง คน และก่อให้เกิดรายได้รวม 305,387 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 5.47 และ 5.78 ตามลำดับ สรุปรายได้จากการท่องเที่ยวตั้งแต่ต้นปีจนถึงเดือนพฤษภาคม มีรายได้ รวม 1.05 ล้านล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 5.27จากช่วงเวลาเดียวกันของปีทีผ่านมา ในจำนวนนี้เป็นรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ 7.47 แสนล้านบาท และการท่องเที่ยวภายในประ เทศของชาวไทย 3.05 แสนล้านบาท
ส่วนกรณีการตัดความสัมพันธ์ทางการทูตของกลุ่มชาติอาหรับต่อกาตาร์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวฯ กล่าวว่า ไม่ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการท่องเที่ยวของไทย เพราะนักท่องเที่ยวกาตาร์มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 4.4 ของนักท่องเที่ยวตะวันออกกลางทั้งหมดของไทย และสายการบินกาตาร์แอร์เวย์ยังบินสู่ไทยตามปกติ แต่นักท่องเที่ยวตะวันออกกลางและยุโรปของสายการบินนี้ อาจใช้ระยะเวลาในการบินเพิ่มขึ้น แต่เป็นห่วงเรื่องค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องในหลายสกุลเงิน อาจส่งผลกระทบต่อระดับการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยว รวมถึงการตัดสินใจเดินทางมาเที่ยวประเทศไทย.-สำนักข่าวไทย