สหภาพฯ เตรียมยื่น 5 ข้อเรียกร้องรัฐบาล

กรุงเทพฯ 30 เม.ย. – พรุ่งนี้ ซึ่งเป็นวันแรงงานแห่งชาติ สภาองค์การลูกจ้าง 15 องค์กร และสหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจ เตรียมยื่นข้อเรียกร้องถึงรัฐบาล เน้นผลักดันใน 5 ข้อที่เกี่ยวข้องกับสิทธิประโยชน์ของแรงงาน 


นางสาวอัปสร กฤษณะสมิต ประธานสหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า วันพรุ่งนี้ สภาองค์การลูกจ้าง 15 องค์กร จะร่วมกับสหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจ และศูนย์ประสานงานแรงงานนอกระบบ ยื่น 5 ข้อเรียกร้องถึงรัฐบาล ข้อแรกขอให้รับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 และ 98  ปฏิรูปสำนักงานประกันสังคม ยกสถานะเป็นองค์กรอิสระ แก้กฎกระทรวง กรณีลูกจ้างเจ็บป่วย หรือประสบอุบัติเหตุ จากการทำงาน เมื่อลูกจ้างใช้สิทธิกองทุนเงินทดแทนครบตามสิทธิ์แล้ว ให้สามารถใช้สิทธิ์กองทุนประกัน สังคมต่อได้  ขอให้กระทรวงแรงงานเร่งปรับปรุงกฎหมาย และจัดตั้งกรมคุ้มครอง และส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ เพื่อดูแลแรงงานให้ได้สิทธิประโยชน์ สอดคล้องสถานการณ์ปัจจุบัน  ขอให้รัฐบาลคงความเป็นเจ้าของรัฐวิสาหกิจทุกแห่งไม่ลดสัดส่วนการถือครองจากภาครัฐลงน้อยกว่าร้อยละ 50 และข้อสุดท้าย ขอให้แก้ไข พ.ร.บ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคงในชีวิตของคนทำงาน และหากสถานประกอบการ มีกองทุนเงินสะสม ก็ขอให้แปลงสถานะเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

กรุงเทพโพลล์ เผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชน ในหัวข้อ “แรงงานไทยใจสู้หรือเปล่า” พบว่า ผู้ใช้แรงงานร้อยละ 65.2 ทราบว่า รัฐบาลมีมติปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเมื่อวันที่ 1 มกราคมที่ผ่านมาจาก 300 บาท เป็น 305-310 บาท ส่วนความเห็นต่อการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ร้อยละ 52.8 เห็นว่าควรปรับขึ้นมากกว่านี้


ขณะที่ร้อยละ 47.4 บอกว่า เนื่องจากค่าแรงขั้นต่ำที่ได้รับในแต่ละวันพอดีกับค่าใช้จ่าย ทำให้ไม่มีเงินเหลือเก็บออม ซึ่ง หากให้เปรียบสภาพทางการเงินกับสำนวนไทยร้อยละ 64.2 บอกว่า เปรียบได้กับ “พออยู่พอกิน” นอกจากนี้ ส่วนใหญ่ร้อยละ 51.4 เชื่อว่าการเข้ามาของแรงงานต่างด้าวจากประเทศเพื่อนบ้าน ไม่มีผลกระทบ ทำให้เกิดการแย่งงาน หรือกีดกันการทำงานของแรงงานไทย  และสุดท้ายเมื่อถามว่า หากมีโอกาสต้องการให้ภาครัฐสนับสนุนการพัฒนาฝีมือแรงงานด้านใด เพื่อตอบโจทก์ไทยแลนด์ 4.0  ร้อยละ 36.3 อยากได้รับการพัฒนาด้านการทำอาหาร และเครื่องดื่ม  รองลงมาเป็นด้านไอที คอมพิวเตอร์ รวมถึงด้านไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์

โดยรัฐบาลปัจจุบันเห็นชอบ ประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ มีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560  โดยมี  7 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร  นครปฐม  นนทบุรี  ปทุมธานี ภูเก็ต สมุทรปราการ และสมุทรสาคร ที่มีค่าแรงขั้นต่ำที่สุดคือ 310 บาทต่อวัน. -สำนักข่าวไทย  


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง