กรมสุขภาพจิต แนะ 6 เมนู พ่อแม่เลี้ยงลูกเพิ่มวัคซีนใจ

กรมสุขภาพจิต 27 เม.ย.-กรมสุขภาพจิต ชี้ทั่วโลกไร้วัคซีนใจฉีดป้องกันโรคระบาดทางอารมณ์พฤติกรรม ตัวการก่อปัญหาความรุนแรงสังคม แนะพ่อแม่เลี้ยงลูกด้วย 6 เมนู สร้างภูมิต้านทานโรค อาทิการให้ความรักเอาใจใส่-เรียนรู้การอยู่ร่วมกับคนอื่น-ช่วยเหลือตนเอง-ฝึกรอคอย-ปรับตัว-การให้ ’ เริ่มตั้งแต่แรกเกิด ต่อเนื่องทุกช่วงวัย ให้ผลดีที่สุดในช่วง 5 ขวบแรกเวลาทองของชีวิต


น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์  อธิบดีกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)ให้สัมภาษณ์ว่าสัปดาห์สุดท้ายของเดือน เม.ย.ทุกปี องค์การอนามัยโลก กำหนดเป็นสัปดาห์รณรงค์การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคโลก ให้วัคซีนป้องกันโรคแก่คนทุกวัย เช่นโรคโปลิโอ โรคคอตีบ เป็นต้น ให้ร่างกายมีภูมิต้านทานเชื้อโรคอันตรายป้องกันการเจ็บป่วยทางกาย  สถานพยาบาลเป็นฝ่ายให้ แต่ด้านสุขภาพจิตใจหรือโรคทางจิตเวชทั่วโลก ยังไม่มีการผลิตวัคซีนป้องกันเป็นผลสำเร็จ ปัญหาที่เกิดมาจากสุขภาพจิตใจ อารมณ์ มักอยู่ในรูปปัญหาสังคมความรุนแรงหรือที่เรียกว่าโรคระบาดทางอารมณ์และพฤติกรรม โดยสถิติสถานพินิจเด็กและเยาวชน ปี 2557มีเด็กเยาวชนไทยอายุต่ำกว่า 25 ปีกระทำผิด 36,537 คน มีทั้งคดียาเสพติด คดีเกี่ยวกับทรัพย์ทำร้ายร่างกาย รวมทั้งการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร เป็นเครื่องสะท้อนให้เห็นว่าเด็กไทยขาดภูมิคุ้มกันทางใจที่น่าเป็นห่วง ขณะนี้โลกอยู่ในยุคไซเบอร์ เทคโนโลยีสื่อสารมีความก้าวหน้า แต่ความสัมพันธ์ของบุคคลกลับห่างเหินและฉาบฉวย ต่างคนต่างอยู่ ปัญหาสังคมอาจทวีความรุนแรงขึ้น  


‘วัคซีนใจนี้ยังไม่มีขายที่ใดในโลกได้มาจากการเลี้ยงดูเป็นหลัก ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตฟันธงว่า พ่อแม่เป็นบุคคลสำคัญที่สุด ที่จะเป็นคนให้วัคซีนใจแก่ลูกเริ่มตั้งแต่แรกเกิดและต่อเนื่อง  กรมสุขภาพจิตมีนโยบายส่งเสริมให้ทุกครอบครัวหันมาใส่ใจเลี้ยงดูเด็กที่เกิดในรุ่นเจนแซด ซึ่งมีจำนวนการเกิดลดลงให้ถูกวิธีเพื่อสร้างวัคซีนใจ ให้เด็กไทยทุกคนมีภูมิคุ้มกันทางใจ มีจิตใจที่มั่นคงเข้มแข็ง มีศักยภาพในการปรับตัว มีทักษะจัดการปัญหาชีวิต แก้ปัญหาด้วยตัวเองเป็น สามารถฟันฝ่าอุปสรรคในชีวิตและอยู่ร่วม กับคนอื่นๆ ในสังคมได้อย่างดีมีความสุข ควบคู่ไปกับการมีสุขภาพแข็งแรง ไม่สร้างปัญหาให้สังคม”  อธิบดีกรมสุขภาพจิตกล่าว


สำหรับเมนูการเลี้ยงดูที่พ่อแม่ใช้เป็นวัคซีนสร้างภูมิต้านทานทางจิตใจให้ แก่เด็ก 6เมนู ได้แก่ 1.ให้ความรักและเอาใจใส่สร้างสายใยผูกพัน เด็กจะมีจิตใจมั่นคงมีอารมณ์สุขุม หนักแน่น 2.ให้ลูกมีโอกาสได้เล่น เด็กจะได้เรียน รู้การอยู่ร่วมคนอื่น ฝึกการยอมรับ เรียนรู้การเป็นผู้นำ เป็นผู้ตาม นำมาใช้ในชีวิตจริง 3.ให้ลูกมีโอกาสช่วยเหลือตนเองเด็กจะรู้จักคิด รู้จักทำ มีความรับผิดชอบ รู้จักพึ่งพาตัวเอง 

4.ฝึกนิสัยให้เด็กรู้จักการรอคอย การอดทน อดกลั้น เด็กจะควบคุมอารมณ์ได้ดี ยับยั้งชั่งใจสิ่งที่มายั่วยุ  เคารพกฎเกณฑ์สังคม 5. เปิดโอกาสให้ลูกรู้จักปรับตัวเผชิญและแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง เด็กจะรู้จักพลิกแพลงแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และ 6.ฝึกลูกให้รู้จักการให้ การช่วยเหลือและเข้าใจคนอื่น ลูกจะเป็นที่ชื่นชอบของคนอื่น สามารถประสานความร่วมมือกับคนอื่นได้อย่างราบรื่น พ่อแม่ต้องเริ่มให้ตั้งแต่แรกเกิดและต่อเนื่องทุกช่วงวัย ให้ผลดีที่สุดในช่วง 5 ขวบแรก ถือเป็นช่วงเวลาทองของชีวิต

ด้าน พญ.วิมลรัตน์ วันเพ็ญ จิตแพทย์เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่น สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่น กล่าวว่า พ่อแม่ที่ไม่ใส่ใจให้ความรักแก่ลูกเด็กจะขาดความอบอุ่น ขาดความมั่นคงทางใจแนวโน้มมีอารมณ์อ่อนไหว พ่อแม่ที่ไม่เปิดโอกาสให้ลูกช่วยเหลือตัวเองจะส่งผลให้เด็กทำอะไรไม่เป็น  ขาดความรับผิดชอบ แก้ปัญหาด้วยตัวเองไม่ได้  หากพ่อแม่ไม่ฝึกให้ลูกรู้จักการรอคอย เด็กจะเอาแต่ใจตัวเอง มีอารมณ์ฉุนเฉียวง่าย เครียดง่าย         ระงับอารมณ์ไม่ได้ มีแนวโน้มก่อความรุนแรง  หากพ่อแม่ไม่เปิดโอกาสให้ลูกได้เล่นกับเด็กอื่น เมื่อโตขึ้นเด็กจะเข้าสังคมยาก ไม่รู้จักกติกาสังคม ไม่รู้จักการแพ้ ชนะ และอภัย เด็กที่พ่อแม่ไม่เปิดโอกาสให้รู้จักการปรับตัว จะกลายเป็นคนขาดความพยายาม ไม่อดทน ท้อถอยเมื่อเผชิญปัญหา  และหากเด็กไม่ได้รับการฝึกให้รู้จักการให้ การแบ่งปัน  เด็กจะเป็นคนเห็นแก่ตัว ใจคอคับแคบ เข้ากับคนอื่นยาก

หลักการเลี้ยงลูกให้ดีต้องเน้น 2 เรื่องคือความสัมพันธ์ครอบครัว และการสร้างกฎระเบียบในบ้านต้องชัดเจน ลดการบ่น กรณีเห็นลูกทำไม่ถูกต้อง ขอให้เลี่ยงการใช้คำพูดเชิงตำหนิเด็ก เช่นการพูดว่าทำไมลูกหรือเธอถึงเป็นแบบนี้  แต่ควรใช้คำพูดที่แสดงถึงความห่วงใยจากพ่อแม่แทน  เด็กจะเกิดความรู้สึกว่าพ่อแม่รักใส่ใจ และหันมาพิจารณาทางเลือกที่ดีกว่าที่พ่อแม่แนะนำ 

ทั้งนี้ อารมณ์และพฤติกรรมเด็กเกี่ยวข้องกับหลายปัจจัย ทั้งจากการเลี้ยงดู และปัจจัยตัวเด็กเองซึ่งจะมีนิสัยติดตัวมาตั้งแต่เกิด 4 ลักษณะ  ได้แก่ 1. เด็กเลี้ยงง่าย มีร้อยละ 40 เด็กกลุ่มนี้จะมองโลกในแง่ดี อารมณ์ดี 2. เด็กขี้กังวล ปรับตัวช้า พบร้อยละ 15 เด็กกกลุ่มนี้ปรับตัวได้ช้ามาก  3. เด็กเลี้ยงยากพบร้อยละ 15 มักจะหงุดหงิดง่าย อารมณ์รุนแรง และ 4. ลักษณะผสมผสานที่กล่าวมาพบได้ร้อยละ 30  แต่ไม่ว่าเด็กจะมีลักษณะนิสัยติดตัวแต่เกิดมาอย่างไรก็ตามหากพ่อแม่ผู้ปกครองเข้าใจ ให้เวลาดูแลอย่างเข้าอกเข้าใจ  เด็กจะถูกหล่อหลอมให้มีจิตใจที่เข้มแข็ง และปรับตัวได้อย่างเหมาะสมในช่วงชีวิตต่อมา เป็นดั่งวัคซีนใจได้    .-สำนักข่าวไทย 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

มุกใหม่มิจฉาชีพ

มุกใหม่มิจฉาชีพ! ป่วนโทรแจ้ง ตร. เกิดเหตุร้ายที่บ้านเหยื่อ

อินฟลูฯ สาว สายทำอาหาร ถูกมิจฉาชีพอ้างเป็นตำรวจโทรหา แต่เธอไม่เชื่อ โดนท้าอีก 10 นาทีเจอกัน ปรากฏว่า มีตำรวจจาก 2 โรงพักบุกมาที่บ้านจริง

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา บอกสนามใหญ่ ไม่เข้าไปก้าวก่ายสนามท้องถิ่น ซ้ายก็เพื่อน ขวาก็พวก

ครม.เคาะแจกเงินหมื่นเฟส 2 ผู้สูงอายุ 60 ปี

“จุลพันธ์” เผย ครม.เห็นชอบโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านกลุ่มผู้สูงอายุ วงเงิน 4 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะดำเนินการทันก่อน 29 ม.ค.68 รวม 3 มาตรการ สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบ 1.4-1.5 แสนล้านบาท

ข่าวแนะนำ

“อนุทิน” ขอทุกฝ่ายรอศาลปกครองตัดสิน “ที่ดินเขากระโดง”

“อนุทิน” ขอทุกฝ่ายหยุดตอบโต้ปม “เขากระโดง” รอศาลปกครองตัดสินชี้ขาด ยันแม้ไม่ใช่ “มท.หนู” กรมที่ดินก็ตัดสินแบบนี้

เตือนภาคใต้ฝนเพิ่มขึ้น ส่วนไทยตอนบน อุณหภูมิลดลง

กรมอุตุฯ เตือนภาคใต้ฝนเพิ่มขึ้น ตกหนักบางแห่ง ระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก ส่วนไทยตอนบน อุณหภูมิลดลงกับมีลมแรง อีสานอุณหภูมิลด 2-4 องศาฯ ส่วนภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพฯ และปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน อุณหภูมิลดลง 1-3 องศาฯ

ข่าวแห่งปี 2567 : รวมฉ้อโกง “ดารา-คนดัง” ไม่รอด

ตลอดปี 2567 ยังมีผู้คนตกเป็นเหยื่อของกลโกง มิจฉาชีพ ที่มาในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการลงทุนรูปแบบใหม่ๆ บางคนถึงขั้นสิ้นเนื้อประดาตัว และที่น่าตกใจเริ่มมีคนดังเข้ามาเกี่ยวข้องกับคดีมากขึ้น