ผลักดัน “เมกะโปรเจกต์คมนาคม” กระตุ้นเศรษฐกิจ

โครงการเมกะโปรเจกต์ทางคมนาคม จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถของประเทศไทยในระยะยาว ทั้งเรื่องของการขนส่ง และการคมนาคม ซึ่งจะทำให้การขนส่งมีราคาถูกลง และเพิ่มแข่งขันของประเทศไทย

คมนาคม สรุปแผนลงทุนการขนส่งทางน้ำ วงเงินกว่า 4 หมื่นล้านบาท

กระทรวงคมนาคมสรุปแผนลงทุนการขนส่งทางน้ำ วงเงินกว่า 4 หมื่นล้านบาท ตั้งเป้าหมายลดต้นทุนโลจิสติกส์ต่ำกว่า 12% ต่อ จีดีพี กรุงเทพฯ 27 ก.ย. – นายพิชิต อัคราทิตย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวถึงการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การขนส่งทางน้ำของประเทศ เพื่อเพิ่มโอกาสทางการแข่งขันและลดต้นทุนโลจิสติกส์ของไทย เน้นขยายขีดความสามารถและพัฒนาคุณภาพ การขนส่งเชื่อมโยงในอนุภูมิภาค โดยตั้งเป้าเพิ่มปริมาณ การขนส่งสินค้าทางน้ำต่อสัดส่วนการขนส่งสินค้าทั้งหมดภายในประเทศ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 12 เป็นร้อยละ 17 พร้อมลดต้นทุนขนส่งสินค้าต่อจีดีพีประเทศให้เหลือไม่เกินร้อยละ 12ภายในระยะเวลา 20 ปี สำหรับแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าว ต้องใช้วงเงินลงทุนทั้งสิ้นราว 46,286 ล้านบาท พบว่ามีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ (EIRR) อยู่ที่ร้อยละ 17เน้นไปที่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางชายฝั่งตลอดจนแผนบริหารจัดการและมาตรการจูงใจเอกชนเช่นการยกเว้นภาษี ประกอบด้วย 1.แผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 40,260 ล้านบาท ประกอบด้วย โครงการก่อสร้างเขื่อนยกระดับแม่น้ำเจ้าพระยาและน่านเพื่อการเดินเรือ วงเงิน 27,080 ล้านบาท โครงการเพิ่มศักยภาพการขนส่งทางน้ำเชื่อมจากแม่น้ำป่าสักผ่านแม่น้ำเจ้าพระยาออกสู่ทะเล วงเงิน 11,180 ล้านบาท และโครงการพัฒนาท่าเรือสงขลาอีก 2,000 ล้านบาท 2.แผนก่อสร้างท่าเรือชายฝั่งใหม่ จำนวน […]

นายกฯ ย้ำลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเห็นผลกระจายรายได้ชัดใน 5ปี

นายกรัฐมนตรี ยืนยันเดินถูกทางบริหารประเทศขจัดธุรกิจสีเทา เดินหน้าโครงสร้างพื้นฐาน ระบุแม้เบื้องต้นจะยังกระจายรายได้ไม่ทั่วถึง แต่ 5 ปีข้างหน้าเม็ดเงินลงทุนจะส่งถึงทั่วประเทศสร้างงาน 1.3 แสนอัตรา ลดต้นทุนโลจิสติกส์ กว่า2% ต่อ GDPลดใช้ เชื้อเพลิงได้มากกว่า 1 แสนล้านบาทต่อปี

ทช.เร่งขยายถนนตามแผนแม่บทพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

กรุงเทพฯ  17 พ.ค. – กรมทางหลวงชนบททุ่มงบ 445 ล้านบาท ก่อสร้างเส้นทางถนนตามแผนแม่บทการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์โลจิสติกส์   นายพิศักดิ์ จิตวิริยะวศิน อธิบดีกรมทางหลวงชนบท (ทช.) เปิดเผยว่า ตามที่ ทช.ศึกษาและจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์โลจิสติกส์ ซึ่งถนนทางหลวงชนบทสาย ปท.3004 แยกทางหลวงหมายเลข 305-บ้านลำลูกกา อำเภอธัญบุรี, ลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ระยะทาง 10.408 กิโลเมตร จะช่วยแก้ปัญหาจราจร รองรับการขยายตัวของชุมชนในอนาคตอย่างเป็นระบบ ในการเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าและเพื่อให้โครงข่ายทางหลวงชนบทมีความสมบูรณ์ จึงปรับปรุงถนนจากเดิมขนาด 2 ช่องจราจร เป็น 4 ช่องจราจร เพื่อเชื่อมทางหลวงหมายเลข 305 กับทางหลวงหมายเลข 3312 ทำให้สามารถเชื่อมโยงระบบโลจิสติกส์การขนส่งสินค้ามีประสิทธิภาพ มีคุณภาพและทันเวลา สามารถรองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจในอนาคต ซึ่งจะก่อสร้างเป็นถนนผิวจราจรลาดยางแอสฟัลต์ติกคอนกรีต ขนาด 4 ช่องจราจร พร้อมสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กข้ามคลองรังสิต กิโลเมตรที่ 0+047 ขนาด 5 ช่องจราจร รวมทั้งมีระบบระบายน้ำ […]

รัฐบาลเร่งพัฒนาระบบโลจิสติกส์

ทำเนียบรัฐบาล  4 พ.ค. – รัฐบาลเร่งพัฒนาระบบโลจิสติกส์ ลดต้นทุนขนส่งสินค้า มอบหมายกรมศุลฯ เป็นแม่งานเชื่อมโยงข้อมูลช่องทางเดียวตรวจปล่อยสินค้า  นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการและขนส่งสินค้า (กบส.) เห็นชอบหลักการร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2560-2564) เพื่อยกระดับระบบโลจิสติกส์ของประเทศสนับสนุนการเป็นศูนย์กลางทางการค้า การบริการและการลงทุนในภูมิภาค และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน  โดยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการในการเก็บเกี่ยวมูลค่าเพิ่มจากโซ่อุปทานและการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมการบริหารจัดการโลจิสติกส์ การยกระดับการอำนวยความสะดวกทางการค้าให้ได้มาตรฐานสากล และการพัฒนาปัจจัยสนับสนุน อาทิ การพัฒนาบุคลากร การสร้างเครือข่ายความร่วมมือภาคเอกชน การติดตามประเมินผลการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ และมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) นำความเห็นที่ประชุมไปปรับปรุงร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ฯ ฉบับที่ 3 เพิ่ม ได้แก่ การสร้างความเชื่อมโยงทางการค้าเส้นทางสำคัญในภูมิภาคโดยเฉพาะกลุ่มประเทศ CLMV และความเชื่อมโยงกับจีน รวมทั้งเน้นการใช้ประโยชน์ของระบบ E-Commerce ให้มากขึ้น  นอกจากนี้ เห็นชอบแนวทางการจัดตั้งหน่วยงานบริหารจัดการและพัฒนาระบบ National Single Window (NSW) โดยมีกลไกการบริหารงานภายใต้คณะกรรมการ กบส. ในรูปแบบคณะอนุกรรมการพัฒนานโยบายและกำกับดูแลระบบ NSW และมอบหมายให้กรมศุลกากรเป็นเจ้าภาพรับไปดำเนินการปรับโครงสร้างองค์กรรองรับตามภารกิจที่เพิ่มขึ้นของการพัฒนาระบบงานแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างภาครัฐและเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ และเพื่อให้การพัฒนาระบบ NSW มีความต่อเนื่อง […]

1 2 3 4 5
...